best pratice : พัฒนาระบบการป้องกันการเกิดภาวะ Birth asphyxia


                               

     วันนี้มีตัวอย่างหน่วยงานห้องคลอด เกี่ยวกับ CQI ดี ๆ มาฝาก   เขาได้รางวัล ระดับโซนในจังหวัด ลองมา ลปรร.นะค่ะ เผื่อจะได้แนวความคิดใหม่ ๆ บ้างค่ะ

        

CQI ห้องคลอดโรงพยาบาลท่าคันโท

 

ชื่อโครงการพัฒนา        พัฒนาระบบการป้องกันการเกิดภาวะ  Birth       asphyxia  

  

ชื่อหน่วยงาน                  ห้องคลอด   โรงพยาบาลท่าคันโท 

 

สภาพปัญหา/ประเด็น   ภาวะ birth asphyxia เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในทารก และมีผลกระทบต่อจิตใจ บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ในครอบครัวสูงมาก ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองใน                  การรักษาพยาบาลและเป็นภาระของครอบครัว และสังคม จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลท่าคันโท ที่ผ่านมายังพบภาวะ birth asphyxia  อยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มากจากสถิติ  อัตราการเกิดภาวะ birth asphyxia   ปีงบประมาณ 2548 = 25.64  (APGAR < 7), 52.16 (รวม APGER = 7)

 

 

วัตถุประสงค์ 

 

1.       เพื่อลดอัตราการตายของทารก

2.       เพื่อลดอัตราการเกิด birth asphyxia  

3.       เพื่อป้องกันการเกิดความพิการทางสมองของทารก                       

 

ตัวชี้วัด/เป้าหมาย

     1. อัตราการเกิด birth asphyxia    < 30 : 1,000 การเกิดมีชีพ

  

 สาเหตุของปัญหา

 

1.       เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับ

-          การประเมิน high risk ของหญิงตั้งครรภ์ไม่ครอบคลุม

-          การใช้ Pathograph ไม่ถูกต้อง

-          การรายงานแพทย์ล่าช้า เนื่องจากประเมินปัญหาไม่ครอบคลุมและใช้ pathograph ไม่ถูกต้อง

-          การประเมิน APGAR Score ผิดพลาด

 

2.       อุปกรณ์

-          เจ้าหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อมใช้

3.       มารดาคลอด

-          ความตระหนักรู้ในภาวะแทรกซ้อนที่มารดาตั้งครรภ์ควรทราบและสามารถปฏิบัติได้น้อย

4.       ทารก

-          ขนาด,น้ำหนัก,ท่า

 

                                  

 

 

แนวทางการดำเนินการปรับปรุง

 

 

1.       ประชุมวิชาการการดูแลมารดามารดาคลอดระยะต่างๆ

2.       การประเมิน high risk ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดทุกราย จัดทำแบบประเมิน high risk สำหรับผู้ป่วยทุกราย หากพบ high risk score 10 รายงานแพทย์ทุกราย

3.       ทบทวนการใช้ pathograph กำหนดให้ใช้  pathograph ในการดูแลมารดาทุกราย

4.       เมื่อมารดามีภาวะผิดปกติและ pathograph ของมารดารอคลอดผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันที

5.       จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง NCPR ปีละ 1 ครั้ง

6.       ทบทวนการประเมิน APGAR Score ทารกแรกเกิด

7.       Conference case ที่มีภาวะ birth asphyxia เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

8.       กำหนดให้พยาบาลที่ผ่านการประเมิน Competency ในการปฏิบัติงานห้องคลอด            เป็นผู้ที่ทำคลอด

9.       เจ้าหน้าที่ใหม่ผ่านการอบรมเรื่องทักษะการทำคลอดและผ่านการประเมิน Competency พร้อมพยาบาลพี่เลี้ยงนิเทศงานขณะทำคลอด

 

 

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

 

 

1.       เจ้าหน้าที่

-          ยังพบการประเมิน APGAR Score ผิดพลาด

-          การใช้ pathograph ไม่ถูกต้องทำให้รายงานแพทย์ล่าช้า

-          เมื่อมีปัญหา BA เจ้าหน้าที่ NCPR ได้ไม่สมบูรณ์

2.       ผู้ป่วย

-          มีความต้องการพัก โรงพยาบาลน้อยวันจึงรอให้เจ็บครรภ์ถี่ จึงมาโรงพยาบาล ในระยะใกล้คลอด ทำให้การดูแลและแก้ไขปัญหาช้า

 

แผนพัฒนา

 

 

1.       จัดประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลทารกที่มีภาวะ birth asphyxia

2.       จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ NCPR

3.       การประเมิน APGAR Score ทารก

4.       ประชุมวิชาการเรื่อง การใช้ pathograph

5.       การดูแลมารดาคลอดตามมาตรฐานการดูแลในแต่ระยะของการคลอด

6.       เตรียมมารดาเพื่อคลอดตั้งแต่ ANC คลินิก

 

                                      

 

แนวทางการปฏิบัติ

 

 

1.       มารดาที่มาคลอดบุตรทุกรายได้รับการดูแลตามมาตรฐาน การดูแลมารดารอคลอดในแต่ละระยะ

2.       มารดาที่มาคลอดทุกรายต้องประเมิน high risk score 10 ต้องรายงานแพทย์ทุกราย

3.       ใช้ Parthograph ในการดูแลมารดารอคลอดทุกราย ถ้ามีภาวะผิดปกติให้รายงานแพทย์เวรทราบทันทีและดำเนินการแก้ไข

4.       เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถทำ CPR และ NCPR ได้

5.       ประเมิน APGAR Score ตามแบบประเมิน

6.       มีการตรวจนับอุปกรณ์และเวชภัณฑ์รถ Emergency ในห้องคลอดทุกเวร เพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้

7.       จัดทำคู่มือแนวทางการดูแลทารกที่มีภาวะ birth asphyxia   

8.       มีแนวทางคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ กรณีพบว่าทารกในครรภ์มีท่าผิดปกติและมีการส่งต่อข้อมูลจาก ANC ถึงห้องคลอด

9.       ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมวิชาการร่วมกับงานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัด

10.   เจ้าหน้าที่ห้องคลอดตรวจสอบ ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในห้องคลอดทุกเวร

11.   จัดเตรียมรถ Emergency ไว้ในห้องคลอด 1 ชุด

12.   ประสานงาน ANC ในการให้ความรู้เตรียมตัวเพื่อมาคลอดได้ถูกต้องทันเวลา

13.   จัดทำข้อบ่งชี้เรื่อง การคลอดก่อนกำหนดรายงานแพทย์ทราบทันที

14.   ถ้า estimate fetal size < 2,500 gm.  และ > 3,500 gm. ได้ให้รายงานแพทย์ทราบทันที

15.   ถ้า FHS ของทารกในครรภ์ผิดปกติ ต้องรายงานแพทย์เวรทราบเพื่อให้การแก้ไขและดูแลอย่างใกล้ชิด

 

ผลการดำเนินงานปี พ.ศ 2549

 

อัตราการเกิดภาวะ birth asphyxia   ปีงบประมาณ 2549 = 11.81 (APGAR < 7), 31.12  (รวม APGER = 7)

 

ปี 2549

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

 

 

1.        เจ้าหน้าที่

-          ยังพบการประเมิน APGAR Score ผิดพลาด

-          การใช้ pathograph ไม่ถูกต้องทำให้รายงานแพทย์ล่าช้า

-          เมื่อมีปัญหา BA เจ้าหน้าที่ NCPR ได้ไม่สมบูรณ์

2.       ผู้ป่วย

-          มีความต้องการพัก โรงพยาบาลน้อยวันจึงรอให้เจ็บครรภ์ถี่ จึงมาโรงพยาบาล ในระยะใกล้คลอด ทำให้การดูแลและแก้ไขปัญหาช้า

 

แผนพัฒนา

 

1.       จัดประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลทารกที่มีภาวะ birth asphyxia

2.       จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ NCPR

3.       การประเมิน APGAR Score ทารก

4.   ประชุมวิชาการเรื่อง การใช้ pathograph

5.   การดูแลมารดาคลอดตามมาตรฐานการดูแลในแต่ระยะของการคลอด

6.   เตรียมมารดาเพื่อคลอดตั้งแต่ ANC คลินิก

 

แนวทางการปฏิบัติ

 

 

1.   มารดาที่มาคลอดบุตรทุกรายได้รับการดูแลตามมาตรฐาน การดูแลมารดารอคลอดในแต่ละระยะ

2.   มารดาที่มาคลอดทุกรายต้องประเมิน high risk score 10 ต้องรายงานแพทย์ทุกราย

3.   ใช้ Parthograph ในการดูแลมารดารอคลอดทุกราย ถ้ามีภาวะผิดปกติให้รายงานแพทย์เวรทราบทันทีและดำเนินการแก้ไข

4.   เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถทำ CPR และ NCPR ได้

5.   ประเมิน APGAR Score ตามแบบประเมิน

6.   มีการตรวจนับอุปกรณ์และเวชภัณฑ์รถ Emergency ในห้องคลอดทุกเวร เพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้

7.   จัดทำคู่มือแนวทางการดูแลทารกที่มีภาวะ birth asphyxia   

8.   มีแนวทางคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ กรณีพบว่าทารกในครรภ์มีท่าผิดปกติและมีการส่งต่อข้อมูลจาก ANC ถึงห้องคลอด

9.   ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมวิชาการร่วมกับงานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัด

10.   เจ้าหน้าที่ห้องคลอดตรวจสอบ ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในห้องคลอดทุกเวร

11.   จัดเตรียมรถ Emergency ไว้ในห้องคลอด 1 ชุด

12.   ประสานงาน ANC ในการให้ความรู้เตรียมตัวเพื่อมาคลอดได้ถูกต้องทันเวลา

13.   จัดทำข้อบ่งชี้เรื่อง การคลอดก่อนกำหนดรายงานแพทย์ทราบทันที

14.   ถ้า estimate fetal size < 2,500 gm.  และ > 3,500 gm. ได้ให้รายงานแพทย์ทราบทันที

15.   ถ้า FHS ของทารกในครรภ์ผิดปกติ ต้องรายงานแพทย์เวรทราบเพื่อให้การแก้ไขและดูแลอย่างใกล้ชิด

 

                            

 

ผลการดำเนินงานอีกรอบปี พ.ศ 2550

 

อัตราการเกิดภาวะ birth asphyxia   ปีงบประมาณ 2550 =  7.72 (APGAR < 7), 13.23  (รวม APGER = 7)

 

วัตถุประสงค์ 

 

1.       เพื่อป้องกันภาวะ birth asphyxia และป้องกันการเกิด still birth

2.       เพื่อลดอัตราการเกิด birth asphyxia  

3.       เพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

 

ตัวชี้วัด/เป้าหมาย

 

     1. อัตราการเกิด birth asphyxia    < 30 : 1,000 การเกิดมีชีพ  (APGAR นาทีที่ 1 < 7)

     2. อัตราการเกิด birth asphyxia     ลดลง  0.5 %  

     3. อัตราความรุนแรงของการเกิดของการเกิดภาวะ birth asphyxia ลดลง = 0 % หลังจากได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ  

 

แนวทางปฏิบัติ / กระบวนการจัดการ

 

1.       ขบวนการเริ่มตั้งแต่ผู้รับบริการเข้ามาฝากครรภ์

            เน้นการสอนสุขศึกษาในกลุ่มพ่อแม่และผู้ที่มีอิทธิพลกับการคลอดครั้งนี้ในโรงเรียนพ่อแม่

            หญิงตั้งครรภ์รายใหม่จะได้รับการตรวจ lab ทุกราย

            หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการคัดกรองตามเกณฑ์ high risk หากพบได้รับการส่งต่อเพื่อเข้าพบแพทย์ พิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมในรายนั้นๆ

            ในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 20 – 22 สัปดาห์ ที่มีปัญหาอายุครรภ์กับขนาดเด็กไม่สัมพันธ์กันจะได้รับการส่งต่อเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาอายุครรภ์ที่ถูกต้อง 

            ในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ที่มีปัญหาสงสัยว่าส่วนนำไม่ใช่ Vertex ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์เพื่อพิจารณาอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาส่วนนำต่อไป

            หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก รับการ double check ที่ห้องตรวจครรภ์และห้องซักประวัติ

2.       รอคลอด

            หญิงรอคลอดได้รับการประเมินคัดกรอง/ซักประวัติตามเกณฑ์ high risk หากพบเกณฑ์ 10 คะแนนต้องรายงานแพทย์ทราบทันทีเพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงที

            หญิงคลอดที่มีภาวะเสี่ยง ต้องมีการเตรียมทีมเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม

            หญิงคลอดหลังครบ 2 ชั่วโมง ตรวจภายในเพื่อดูอาการผิดปกติหลังคลอด

3.       กรณีส่งต่อ

            ให้โทรศัพท์ประสานโรพยาบาลที่จะส่งต่อ ทุกครั้ง

            กรณี emergency โทรศัพท์ประสานแพทย์ที่จะส่งต่อทุกครั้ง เพื่อพิจารณาการรักษาอย่างทันท่วงที

            การติดตาม case ให้ติดต่อเวลา 11.00 น. เฉพาะวันราชการ (รพ.กาฬสินธุ์)

 

1.       หลังคลอด

            ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอดภายใ

หมายเลขบันทึก: 218460เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แวะมาอ่านและมาทักทายค่ะ

ที่มาตุภูมิ  ฝนกำลังตก

มีแต่สิ่งดีๆนะคะ

เพียงพิศ สิงห์ชารี

ขอชื่นชมค่ะ สุดยอดมากเลย

จากงานห้องคลอด รพ ป่าติ้ว ยโสธร

สวัสดีค่ะ คุณ @..สายธาร..@
- ขอบคุณมากเลยค่ะ

----------------------

สวัสดีค่ะ คุณ เพียงพิศ สิงห์ชารี
- น่าชื่นชมกับทีมงานเหมือนกันค่ะ

- แวะมา ลปรร.ด้วยกันอีกนะค่ะ ห้องคลอดคอเดียวกัน ..อยู่แล้ว

---------------------

สวัสดีค่ะ คุณ Anek Thanonghan

- ขอบพระคุณค่ะ

...

เป็นพยาบาลอยู่ห้องคลอดเหมือนกันค่ะ กำลังทำเรือง BA เหมือนกัน ขอ แบ่งปันเรื่องแบบประเมิน High risk score หน่อยได้ใหมค่ะ น่าสนใจมากเลย จะได้ทดลองเอามาใช้ในหน่วยงานบ้างค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณสมไสว

- ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ ได้ผลเป็นอย่างไรบอกด้วยนะค่ะ เพื่อการพัฒนาต่อไปค่ะ

เป็นพยาบาลอยู่ห้องคลอดเหมือนกันค่ะ กำลังทำเรือง BA เหมือนกัน ขอ แบ่งปันเรื่องแบบประเมิน High risk score หน่อยได้ใหมค่ะ น่าสนใจมากเลย จะได้ทดลองเอามาใช้ในหน่วยงานบ้างค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเอื้อมพร

- ยินดีแลกเปลี่ยนค่ะ ดีเสียอีกแม่ปลอดภัย ลูกเกิดรอด

- เป็นกำลังใจให้ทุกหน่วยงานค่ะ

ออมจิตร์ แดงเจริญ

อยู่ห้องคลอดเหมือนกัน ขอ แบ่งปันเรื่องแบบประเมิน High risk score หน่อยได้ใหมค่ะ

สวัสดีค่ะคุณออมจิตร์

- สักครู่นะค่ะ

- เดี๋ยวเอามาแปะมาให้ค่ะ

vอยู๋ห้องคลอดคะ อยากขอตัวอย่างแบบประเมิน High risk score ขอบคุณมากคะ

สวัสดีค่ะ คุณ ณัฐ / คุณ ออมจิตร์ / คุณ เอื้อมพร

- ได้แนบแบบประเมิน high risk score ไว้ให้แล้วนะค่ะ

ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/thakuntho/310191

อยากได้แบบประเมิน High risk score ค่ะ รบกวนได้ไหมคะ อยู่ห้องคลอดเหมือนกันค่ะ กำลังพัฒนาเรื่อง BA เหมือนกันค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

 แนบรายละเอียดไว้ ที่นี่ นะค่ะ ได้ผลอย่างไรโปรดบอกด้วยค่ะ

ขอแบ่งปันความรู้บ้างน่ะค่ะ กำลังทำเรื่องนี้พอดี

ขอขอบคุนค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้พัฒนางานน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ร่วมกันต่อยอดพัฒนา เป็นอย่างไรช่วยบอกต่อด้วยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท