การพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่


ทุนมนุษย์

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมมีสาระที่ได้จากการไปเข้าร่วมการเสวนาที่ท่าน ดร.จีระฯ จัดครับ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับหัวข้อ Super Human Capital for Globalization ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้นั้นได้เชิญ guru หรือผู้รู้มากมายในสายวิชาชีพ HR เข้าร่วมด้วยก็คือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย และอีกมากมาย ซึ่งมีสาระมากมายครับ โดยสรุปคือว่า Trend หรือแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องมีการเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณและคุณภาพในที่นี้นั้นก็เป็นคุณภาพในมุมมองของการมีจริยธรรม คุณธรรมที่สูงด้วย

ยกตัวอย่างคุณหญิงทิพาวดีได้กล่าวไว้ว่ามนุษย์นั้นมีทุนมาแต่เดิมอยู่แล้วตั้งแต่เกิดคือมีแรงกายและแรงสมองที่ไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตใดๆ พอเราเริ่มเติบโตขึ้นก็มีการลงทุนเพิ่มไม่ว่าจะเป็นในด้านของการศึกษาหรือการฝึกอบรมพัฒนา และวัตถุประสงค์การลงทุนนี้ก็มีหลากหลายครับ คือทำเพื่อ ตนเอง องค์กร หรือชุมชน ทั้งหลายทั้งปวงนี้ต้องคำนึกถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย ซึ่งการทำเพื่อชุมชนหรือสังคมนั้นในตอนนี้เป็นกระแสที่องค์กรมากมายให้ความสำคัญ ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ คุณหญิงยังได้บอกอีกครับว่าในองค์ควรปลูกฝังให้ผู้นำเป็นผู้มีคุณธรรมด้วย

สำหรับคุณดนัย นั้นได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจครับว่า ทุนมนุษย์นั้นโดยส่วนมากมักมองกันที่มูลค่าที่เราจะได้รับคืนจากการการพัฒนาคน ซึ่งแนวคิดนี้ควรจะเปลี่ยนเป็นจากเดิมมองที่มูลค่าเป็น คุณค่าแทน องค์กรที่คิดว่าให้ลูกค้าเป็นพระเจ้าหรือมองที่ความสุขของลูกค้านั้นควรหันมามองที่ความสุขของพนักงานก่อนครับเนื่องจากถ้าพนักงานไม่มีความสุขแล้วจะดูแลลูกค้าได้อย่างไร คุณดนัยยังมีมุมมองที่น่าสนใจอีกครับคือว่าในสมัยนี้เราฝากทุกอย่างไว้กับคอมพิวเตอร์หรืออาจกล่าวได้ว่าคอมฯคือแหล่งความรู้ของเรา การใช้สมองซีกซ้ายของเราน้อยลง ดังนั้นเราควรพัฒนาการใช้สมองซีกขวาให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการฝึกการใช้จินตนาการครับ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญครับเนื่องจากรูปแบบการพัฒนาองค์นั้นจะมีการเปลี่ยนจาก Knowledge society เป็น Creative society นอกจากนี้คุณดนัยยังได้ย้ำเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่ดีซึ่งก็คล้ายกับที่คุณหญิงทิพาวดีได้กล่าวไว้ครับคือการมีจริยธรรมและคุณธรรม แต่มิใช่แค่ระดับผู้นำในองค์เท่านั้นครับแต่จะต้องปลูกจิตสำนึกนี้ให้แก่พนักงานทั่วไปในองค์ให้รับรู้และถึงขนาดปลูกฝังให้เป็น DNA ของพนักงานทีเดียว

ครับและนี่ก็เป็นบางส่วนที่ได้จากการเสวนาในครั้งนี้นะครับและถ้าท่านใดที่ผ่านเข้ามาอ่านและมีข้อคิดเห็นอย่างไร ผมก็ยินดีนะครับถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ขอบคุณครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 217477เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2008 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ..แวะเข้ามาทายทัก

.จริงอยู่ที่ว่ามนุษย์เราเกิดมามีทุนเดิมอยู่แล้วคือแรงกายและแรงสมอง

..แต่บางทีชีวิตคนเราก็ดำเนินแบบไม่อิสระ คือดำเนินชีวิตอยู่บนความคาดหวังและแรงกดดันจากผู้อื่น..(โดยเฉพาะคนในครอบครัว เช่น พ่อ, แม่ ฯลฯ) ทำไงดีคะ..มันทำเราอึดอัดและเครียด..

ขอบคุณครับคุณทิกเกอร์

ต้องยอมรับว่าสังคมเรามีกรอบมาก และผมคงก็เป้นคนในหลายๆๆๆ คนที่มีประสบการณ์อย่างที่คุณว่า ซึ่งการติดอยูกับกรอบที่ครอบครัวเราสร้างนี้ก็ไม่เป็นเฉพาะสังคมไทย ส้งคมฝรั่งก็เป็นหมือนกันครับ ความอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มันคงมีเหมือนๆกันในหลายๆ ประเทศ

ดังนั้นเราต้องปลูกฝักให้เด็กๆรุ่นต่อไปครับให้รู้จักหาตัวตนของเขาครับ อะไรที่ทำแล้วชอบไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นเป็นใช้ได้ ผมเชื่อครับว่าถ้าเราคิดจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทำให้ดีเลิศไปเลยนั้นดีกว่าการเป็นเป็ดหรือทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบเป็นแน่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท