เมื่อครั้งคุณยายป่วย


                             

    ทุกครั้งที่คุณยายป่วย ซึ่งเป็นการป่วยแบบเฉียบพลัน จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมคุณยายและบรรดาญาติให้ทราบถึงการเจ็บป่วย อาการผิดปกติเพื่อให้เข้าใจและสามารถแก้ไขได้เบื้องต้น นี่นับว่าโชคดีเพราะมีลูกสาวเป็นบุคลากรทางสาธารณสุข ....แต่ทางกลับกันหากเป็นคนนอกวงการจะทำอย่างไร

        การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้ง กาย จิต วิญญาณ และสังคม จึงเป็นสิ่งจำเป็น  แต่ก็ต้องมีสิ่งประกอบอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น การจัดการความรู้ทั้งผู้ป่วย ญาติ การให้ข้อมูลข่าวสาร ทีมงานสหวิชาชีพ การเยี่ยมบ้าน งาน EMS .....ดู ๆ ไป หนึ่งคนต้องยุ่งกันไปทั้งหมด

       ทุกครั้งเมื่อคุณยายเกิดอาการป่วยสามารถดูแลตนเองได้เบื้องต้น  .....แต่ทำไมต้องอดทนแบบสุด ๆ ทำให้ดูหนักเมื่อมาถึงโรงพยาบาล   สอบถามได้ความว่า.....คิดว่าจะหายบ้าง หรือกลัวลูกจะลำบาก     สุดท้ายเราก็ต้องดุยายตามระเบียบ ...บาปอีกแล้วคะ    

      คุณยายประทับใจการบริการ EMS  เพราะดูรวดเร็ว บุคลากรที่มารับพร้อมด้านความรู้ มีความเข้าใจเรื่องการดูแลรักษาเบื้องต้น มาปุ๊บเจาะน้ำตาลในเลือด ให้น้ำเกลือทันที  ....แถมคนขับรถรู้เรื่องโรคพูดจากันเข้าใจ ......แหม ! คุณยายก็คนขับรถก็พยาบาลนี่ค่ะ ...แล้วยายก็ถึงบางอ้อ

                         

     มาถึง รพ.มหาราชทีไร พาใจหดหู่ เพราะความแออัดเบียดกันยิ่งกว่าปลาอัดในกระป๋องเสียอีก  เตียงล้นแล้วล้นอีก เตียงเบียดกันแล้วกันอีก    แถมคุณยายเป็นคนไข้หนัก ประเภทที่ 1 ที่ต้องอยู่ใกล้เคาเตอร์พยาบาล สภาพคืออยู่บนรถเข็นคนไข้ ...สาเหตุจากเตียงเต็ม จึงต้องอยู่บนรถเข็น ตลอด 2 วัน อึดอัดมากทั้งกายและใจ เพราะรอบ ๆ ข้างมีแต่คนไข้ไม่รู้สึกตัว นอนให้เครื่องช่วยหายใจตลอด ......คุณยายเห็นตลอดทั้งคืน แรก ๆ ก็รำคาญ ต่อมาก็เริ่มชิน

                        

     "น่าสงสารหมอกับพยาบาล ไม่ได้นอนทั้งคืน บ้างวิ่งไปเตียงนั่น เตียงนี่ ปั๊มหัวใจ งัดปากคนไข้บ้าง บางคนนั่งหลับดูน่าสงสาร" คุณยายนึกสงสาร  "ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมบรรดาคุณพยาบาลพูดไม่เพราะเอาเสียเลย คงไม่ได้นอน งานหนัก แต่ทำไมคุณหมอไม่ดุเลย แตกต่างกันเนาะ" คุณยายเริ่มตำหนิ

     เมื่อข้าพเจ้าไปรับต้องรอนานมาก เดินหลาย ๆ ตึก ไปติดต่องานต่าง ๆ ทั้งรับงาน ขึ้นสิทธิบัตรจ่ายตรง นานมากทีเดียว คงจากปริมาณผู้รับบริการและผู้ให้บริการไม่สัมพันธ์กัน  นี่ขนาดมี รพ.มหาราช 2 แล้ว ยังไม่อาจแบ่งเบาภาระไปได้  ...สะท้อนให้เห็นว่าสุขภาพประชาชนดูย่ำแย่  เพราะต้องดูแลผู้ป่วยหนักมากขึ้น ปัญหาโรคเรื้อรังมากขึ้นทุกที      การขยายการบริการเฉพาะทางลงสู่ชุมชนดูจะไม่ได้ผล เพราะแพทย์ เครื่องมือมากระจุกที่นี่  ....

        ทำอย่างไรกันดีหนอ .

                                           

     

  

หมายเลขบันทึก: 217310เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2008 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมไป รพ.ครั้งใดก็พบแบบที่ท่านว่าทุกที

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

- สุขภาพดีถ้วนหน้า 2543 เอ....ผ่านมาตั้งนาน ยังไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่นะค่ะ...

นั่นนะซิครับ ญาติผมบางทีตอนไปรักษายังกะจิตกะใจดี

แต่พอนอนได้สองสามวันเข้าให้ก็เริ่มปลงชีวิตกันละครับ

เดี๋ยวเตียงโน้นตาย เดี๋ยวเตีียงตรงนี้กำลังจะตาย

เดี๋ยว ๆ ก็มีญาติใครก็ไม่รู้ร้องไห้กันระงม กันตรงเตียงโน้นอีก

เฮ้อ! ชีวิต สุขภาพดีถ้วนหน้ากันเชียว

ธรรมสวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ ท้ายอาสน์สงฆ์

- ไม่เห็นนานแล้วนะค่ะ คงสบายดีนะค่ะ

- ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน จริง ๆ นะเนี่ยะ

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้อย

  • ขอบคุณค่ะ ที่ไปเยี่ยมเยียนกันนะคะ
  • อ่านแล้วนึกถึงคุณยายขึ้นมาทันทีเลยค่ะ
  • เคยเขียนบันทึก เรื่อง คู่ซี๊ยายหลาน เบิกบานในบ้านเกิด ไว้ด้วยค่ะ
  • หากมีเวลา เชิญไปเที่ยวบ้านครูปูด้วยกันนะคะ
  • หิ้วจานนี้มาฝากด้วยหล่ะค่ะ (^___^)

เป็นบางตอนของชีวิตที่ไม่แตกต่าง เพราะมีคุณแม่ที่มีอายุ 86 ปี มีการเข้า ออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีค่ะ ครูปู~natadee t'ซู๊ด

- หากวันไหนว่าง ๆ สงสัยต้องแวะไปชิมอาหารแสนอร่อยแน่นอนเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณนภา ปาสิกเทพย์

- ร่างกายย่อมมีวันเสื่อมสลาย ทุกคนไม่มีใครหลบได้เลยค่ะ

- รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท