6.ประวัติศาสตร์ชลบุรี (ต่อ)


เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชลบุรี

    

เหตุการณ์สำคัญ ต่อจากตอนที่แล้วค่ะ

          1.
ในหนังสือ ชลบุรี ภาคต้นของกรมศิลปากร พิมพ์ พ.ศ.2483 หน้า 7-10 ได้บรรยายถึงชลบุรีสมัยกู้ชาติไว้ ดังนี้
              
เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมใน พ.ศ.2309 กรมหมื่นเทพพิพิธพยายามเกลี้ยกล่อมชาวหัวเมืองตะวันออก     ตั้งแต่  เมืองจันทบุรีตลอดถึงปราจีนบุรีเข้ากองทัพ ด้วยหวังว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ชาวชลบุรีก็เต็มใจ     สนับ     สนุน พาสมัคร พรรคพวกเข้ากองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอันมาก จนแทบจะทิ้งให้ชลบุรีเป็นเมืองร้าง ขณะนั้น     พระยา     แม่กลอง (เสม) เป็นข้าหลวงออกไปเร่งส่วยหัวเมืองชายทะเล ฝั่งตะวันออก พักค้างอยู่เมืองชลบุรี  ไม่ยินดีเข้าร่วมมือ     ใน     กรม หมื่นเทพพิพิธ พยายามรักษาเงินส่วย ที่เก็บรวบรวม ได้มานั้นแอบแฝงหลบภัยอยู่ในชลบุรี  ครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ     ยกกองทัพไปตั้งมั่น ที่เมืองปราจีนบุรี บอกเข้าไปยังกรุงให้กราบบังคมทูล ขออาสาเป็นผู้ ป้องกันพระนคร ฝ่ายพระเจ้า     แผ่นดิน ทรงพระราชดำริเห็นว่า กรมหมื่นเทพพิพิธ ทำการซ่องซุมกำลังโดยบังอาจ  แล้วยังทนง เอื้อมเข้า ไปขอป้องกัน กรุง     ด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง ชรอยจะมีความไม่สุจริตเคลือบแฝงอยู่ด้วย จึงโปรดให้กองทัพออกไปปราบกรมหมื่น เทพพิพิธ กลับ     ต่อสู้กองทัพกรุง รบบุกบั่นผลัดกันแพ้ชนะ จนกำลัง ย่อยยับลงทั้งสองฝ่าย  ครั้นพม่า ล้อมกรุงกระชั้นชิดมั่นคงแล้ว ได้ทราบ     ว่า กรมหมื่นเทพพิพิธยังตั้งทัพประจัญอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี  พม่าจึงส่งกองทัพออกไปตี เพราะทัพกรมหมื่นเทพพิพิธ บอบช้ำ     อยู่แล้ว ถูกกองทัพพม่าซ้ำเติมจึงพาลแตกเอาง่ายๆ ผู้คนล้มตายมากต่อมาก ที่ยังเหลือก็กระจัดพรัดพรายไม่เป็นส่ำ เหตุ     การณ์ ครั้งนั้น ได้ทำให้เมืองฉะเชิงเทราและเมืองชลบุรีต้องร้างอยู่ชั่วคราว     ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งดำรง     พระยศ เป็น พระยากำแพงเพ็ชร ทรงพาพรรคพวกออกไปหากำลังทางหัวเมือง ภาค ตะวันออก เดินทางผ่านเมืองชลบุรี ซึ่ง     ขณะนั้นว่างร้างเสียแล้ว เสด็จเลยไปประทับแรมบางละมุง  และเสด็จต่อไปยังเมืองระยอง     ในระหว่างประทับอยู่ที่ เมือง     ระยอง กรมการเมืองระยองมีขุนราม หมื่นซ่อง เป็นหัวหน้า  คิดประทุษร้ายยกพวกลอบมาปล้นค่ายใน     เวลากลางคืน     สมเด็จพระเจ้าตากสินต่อสู้ป้องกัน ปราบพวกคิดร้ายแตกกระจายไป แต่พวกนั้นยังไม่เลิกพยายามที่จะคิดกำจัด     จึงแยก     ออกเป็น 2 หน่วย ขุนราม หมื่นซ่อง คุมหน่วยหนึ่ง ไปตั้งระหว่างทางจากระยอง ไปเมืองจันทบุรี นายทองอยู่ นกเล็ก     คุม     หน่วยหนึ่ง  เล็ดลอดมาตั้งซ่องสุมอยู่บางปลาสร้อย  เมืองชลบุรี     ทั้งสองหน่วยนี้คงจะมุ่งหมาย ช่วยกัน ตีกระหนาบ กองทัพ     สมเด็จพระเจ้า ตากสิน แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินรีบเสด็จไปทำลายกำลังขุนรามหมื่นซ่องเสียก่อน แล้วเสด็จวกกลับมา เมือง     ชลบุรี เพื่อจะปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ให้สิ้นฤทธิ์ (บริเวณที่ตั้งค่ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินครั้งนั้น บัดนี้เรียกเป็น ชื่อ     หมู่บ้าน และชื่อสะพาน คือ บ้านในค่ายและ สะพานหัวค่าย) ฝ่ายนายทองอยู่ นกเล็ก ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี จึงโปรดให้ ช่วย     รักษาเมืองชลบุรี     เพื่อราษฎรจะได้ ทำมาหากินเป็นกำลังให้แก่บ้านเมืองและคอยช่วยปราบพวกสลัดซึ่งเวลานั้น ชุกชุม     ที่สุด  ข้อสำคัญอีกประการ     หนึ่งก็คือ ถ้าใครสมัครเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินให้นายทองอยู่ นกเล็ก ช่วยสนับสนุน      อย่ากีดกัน เมื่อทรงจัดที่ชลบุรีเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพไปเมืองระยอง แล้วต่อไปยังเมืองจันทบุรี  ตั้ง     รวบรวมกำลังอย่างรีบร้อน ฝ่ายนาย     ทองอยู่ นกเล็ก ชั้นต้นก็ปฏิบัติตามพระบัญชา แต่ต่อมากลับเหลวไหลด้วยเป็นใจ      พวกสลัดและคอยขัดขวางมิให้ใครๆ ไปสมัครเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินโดยสะดวก ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสิน          ทรงตระเตรียมกำลังได้เพียงพอสำหรับ ยกกลับไปปราบ พม่าที่ยึดกรุงเก่าแล้วเคลื่อนกองทัพ ออกจากเมืองจันทบุรี   ตรวจ     กวาดล้างสลัดทะเลฝั่งตะวันออกตลอดมา ถึงชลบุรี ได้ความว่า  นายทองอยู่ นกเล็ก และพวก กลับประพฤติการร้าย หากำลัง     โดยทุจริต มิได้คิดปลูกเลี้ยงชาวเมือง ให้เป็นปึกแผ่นตามสมควรแก่หน้าที่ตามที่ทรงมอบหมายไว้  จึงโปรดให้ปลด นาย     ทองอยู่ นกเล็ก และพวกออกหมด แต่จะทรงพระกรุณาให้ผู้ใดรักษาเมืองแทนต่อจากนายทองอยู่  นกเล็กยังไม่ได้ ความ     มาปรากฎเมื่อตอนสิ้นรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินว่า        พระยาชลบุรี (บุตรเจ้าพระยาจักรี  (หมุด)  ต้นสกุลสมุทรานนท์     สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี คนแรกสมัยกรุงธนบุรี) เป็นผู้รักษาเมือง ข้อน่ายินดีสำหรับชาวชลบุรี ในครั้งนั้น ก็คือ ได้มี     ส่วนเข้ากองทัพทำการรบ กู้ชาติไทย เป็นประวัติอันเพียบพร้อมด้วยเกียรติยศอันสูงสุด ที่บุตรหลานชาวชลบุรี จะพึงระลึก     ถึงด้วยความปลาบปลื้ม และช่วยกันรักษาไว้ให้เป็นคุณแก่ชาติบ้านเมืองทุกเมื่อ

          2.
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2435 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาล ประสูติพระโอรส ณ
    
พระตำหนักบนเกาะสีชัง พระราชทานนามว่า "เจ้าฟ้าจุฑาธุชราชดิลก" และขนานนามที่ เกาะสีชังว่า  "พระราชวัง จุฑาธุช     ราชฐาน"  ขนานนามพระอารามซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างขึ้นใหม่ว่า "วัดจุฑาธุชธรรมสภา" เมื่อวันที่ 18 มกราคม  พ.ศ.     2447     ได้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามสมควรแก่พระเกียรติยศเจ้าฟ้า พระนามพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามว่า     "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรอินทราชัย)

เป็นที่น่าภาคภูมิใจแทนชาวชลบุรี ที่มีส่วนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเราค่ะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ชลบุรี
หมายเลขบันทึก: 216145เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • จะไปตรวจข้อสอบต่อ
  • เห็นบันทึกพี่มา
  • เลยอ่านเสียหน่อย
  • ดีใจจังที่พบคนชอบของโบ
  • อิอิๆๆๆ
  • ผมก็ชอบอ่านครับ
  • เกือบไปเรียนเอกโบ  เหมือนกัน
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆ

คนชลบุรีแวะมาเยี่ยมแล้วครับ

เอ๊ะ พูดว่าคนชลบุรีไม่ได้นี่นา

เพราะผมเกิดที่ปราจีนบุรี

แล้วโตที่สระแก้ว

ไปเรียนที่กรุงเทพ

กลับมาเรียนที่ปราจีน

ไปเรียนต่อที่ฉะเชิงเทรา กับ กรุงเทพ

และล่าสุดอยู่ที่ชลบุรี

แต่ถ้านับตามกฎหมายแล้ว ผมเป็นคนชลบุรีแล้วครับ อยู่มา 8 ปีแล้ว

สวัสดีครับ

ยินดีที่รู้จักน้อง P เมืองชลน่าอยู่เนอะ

ปราจีนก็ร่มรื่น เมืองไทยน่าอยู่ที่สุดในโลกอยู่แล้ว

จริงไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท