แนะนำตัว


Instructional Design

สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่านไม่ว่าจะเป็น คุณครู นักเรียน หรือคนทั่วไปก็ดี ผมชื่อกอล์ฟ ครับ ไม่ได้เป็นครู แต่เป็นครูของคุณครู ฟังแล้วงงไหมเอ่ย  และผมจะอธิบายให้ฟังว่าทำไมถึงเรียกตัวเองอย่างนั้น

ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวซักนิดเกี่ยวกับ พื้นฐานการศึกษาของผม ผมจบป.โท ด้าน Instructional Design and Devleopment จบเน้นด้าน E-Developer และตอนนี้กำลังศึกษา ป.เอก ด้านนี้เช่นเดียวกัน 

Dick & Carey Instructional Design Model

รูปภาพ: Dick & Carey Instructional Design Model

สาขานี้ยังไม่เป็นที่กว้างขวางนัก แต่ก็มีการขยายตัวเติมตัวเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาขานี้ถ้าเป็นภาษาไทยก็คงเรียกว่า ออกแบบสื่อการสอน คงเริ่มเข้าใจกันแล้วสินะครับว่า ครูของคุณครู เป็นอย่างไร ความรุ้และประสบการณ์ด้าน Instructional Design นี้ ผมสามารถวิเคราะห์เนื้อหาไม่ว่าจะเป็นสาขาอะไรก็ตาม แล้ว ออกแบบเนื้อหาวิชานั้นให้เข้าใจง่าย และรับรองการเรียนรุ้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากออกแบบวิธีการสอน ผังการสอนแล้ว ผมยังสามารถสร้างสื่อการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ต มือถือ PDA iPod และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการนำเสนอเนื้อหา และกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

มุมมองของผมไม่ใช่มาจากด้าน ครูผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือ นักเรียนผู้ซึมซับความรู้จากครู หากเป็นเป็นมุมที่กว้างครอบคลุมทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่า ระบบการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามหลักการณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

จุดประสงค์ของผมในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเว็บนี้ เพื่ออยากเสนอแนวทางการสอนแบบใหม่ให้คุณครู รวมทั้งเสนอแนวทางการเรียนรุ้แบบใหม่ให้กับนักเรียน โดยใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาประยุกต์ช่วยให้ ทั้งคุณครุ และนักเรียน มีมุมมองการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่

และต้องการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับ Instructional deisigner ท่านอื่นๆ รวมถึง ครู อาจารย์ และนักเรียน เนื่องจากผมไม่ได้อยุ่เมืองไทย นานถึง 8 ปีแล้ว และอยากรุ้ว่า แนวทางการศึกษาในประเทศไทย เป็นอย่างไรบ้าง คำบางคำในด้าน Instructional Design มีคำแปลในภาษาไทย ไว้อย่างไร ผมยังต้องศึกษาอีกเยอะ

อีกอย่างเป็นการเขียน blog ที่เกียวกับ Instructional Design นี้เป็นการทบทวนพื้นฐานความรุ้ที่ผมเรียนมาและ share ให้คนอื่นที่ต้องการศึกษาได้อ่านและแสดงความคิดเห็น

คำสำคัญ (Tags): #instructional design#technology
หมายเลขบันทึก: 215673เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2008 00:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ คุณกอฟล์ ดิฉัน จบการศึกษาระดับปริญญา ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาการพระจอมเกล้าธนบุรีค่ะ ตั้งแต่จบมาจนถึงปัจจุบันดิฉันเองได้ทำนในตำแหน่ง Instructional Designer ให้กับหน่วยงานราชการ (สวทช) และบริษัทเอกชนมาประมาณ 5 ปี เคยไปอบรมที่แคนาดามาประมาณ 1 เดือน แต่ต้องบอกว่า ฉันยังค่อนข้างมวยวัดค่ะ เพราะการเรียนการสอนในประเทศไทยนั้นไม่ได้เน้นไปที่การทำ Instructional Design โดยตรง ต้องเรียนว่าดิฉันใช้ประสบการณ์และความเข้าใจของตัวเองในการออกแบบบทเรียนเป็นส่วนใหญ่ วันนี้ได้มาค้นเจอ blog ของคุณดีใจมากค่ะ ไม่ทราบว่าคุณจะมีเวลาให้ดิฉันได้แลกเปลี่ยนและแชร์ความรู้และประสบการณ์จากคุณบ้างจะได้หรือไม่ค่ะ

ดิฉันชื่อ อัญชลิกา อับดุลลา ชื่อเล่น เจี๊ยบค่ะ

อยากให้คุณช่วยนำความรู้เผยแพร่ด้วยค่ะว่าของเมืองนอกนั้นเขาทำงานกันยังไง เพราะอาชีพค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย และไม่เป็นที่รู้จัก คนที่ทำกันอยู่ก็ไม่ได้เข้าใจมันอย่างจริงจัง และถูกต้องนัก หากเป็นได้ดิฉันจะขอบคุณ และยินดีจะแลกเปลียนความคิดกับคุณค่ะ

[email protected]

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ครับ

ผมทำ blog ตัวนี้ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับ instructional designer คนไทยครับ หากต้องการทราบอะไร ถามได้เลยนะครับ ประสบการณ์ด้าน ID ผมก็ทำมาตั้งแต่สมัยเรียนป.โท ก็ได้ช่วยอาจารย์ออกแบบการสอนนักเรียนป.โท และป.ตรี แต่พอเริ่มเข้าเรียนป.เอก ก็ได้ไปทำงาน Fulltime ให้กับ US Army Corps of Engineers นะครับ ตอนนีก็ทำอยู่เป็น Government Contractor ทำง้านด้าน training โดยตรง เนื้อหาที่ทำก็เป็นพวก Emergency Management ทำ CBT (Computer-Based Training), WBT (Web-Based Training), Simulations ให้กับหน่วยงาน

การเป็น IDer ก็ต้องรู้จัก flexible อย่างที่คุณทำถูกต้องแล้วนะครับ เราต้องค่อยๆซึบซับถ่ายทอดหลักการ เพราะถือว่าสาขานี้ยังคงใหม่สำหรับคนไทย คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ

ที่ อเมริกา ก็มี research มากมายนะครับอธิบายหลักการต่างๆไว้ สำหรับการที่เราจะเลือกทำิวิธีได้ิวิืธีนึง เราก็ต้องมีเหตุผล มีหลักฐานมายืนยันประสิทธิภาพ

ถ้าคุณเจี๊ยบ ไม่เข้าใจหลักการ หรือทฤษฏีอะไร ก็มา discuss กันได้นะครับ

หัวข้อต่อไปที่ผมคิดไว้ว่าจะเขียนคือ พื้นฐาน Human Learning ว่า IDer ควรจะเอาหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ ไปประยุกต์ในงาน training ได้อย่างไร

อีเมล์สอบถามหลังไมค์ได้ที่ [email protected]

website: http://www.golffy.com (อันนี้เป็น blog - ส่วนตัว)

น่าสนใจที่เดียวค่ะ Human Learning จะติดตามอ่านนะคะ

ตอนนี้ดิฉันได้ทำ LO (Learning Object) ให้กับหน่วยงานเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งต้องการทำบทเรียนในลักษณะของ Simulation ในสายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไทยโดยยึดตามหลักสูตรของไทย แต่เอางานของเมืองนอกมาเป็นแบบอย่าง ในมุมมองของบริษัทนั้นต้องการให้ copy ทุกอย่าง แต่ในมุมมมองของดิฉันมองว่าบางเนื้อหานั้นเราไม่สามารถจะ copy เขาได้ทั้งหมด อันเนื่องจากสาเหตุคือ

1. เด็กไทยไม่ได้มีรูปแบบการเรียนรูปที่จะต่ออดความรู้ เหมือนเด็กฝรั่ง เพราะเขามักถนัดแค่ดูและจำ ทำตามบ้างถ้าจำเป็น (เพราะ LO เป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่แยกย่อย ที่ต้องมีการบูรณการกับเรื่องอื่นเพิ่มเติม)

2. ครู ผู้ปกครองหรือผู้จะเป็นผู้แนะนำกระบวนการเรียนรู้นั้น ก็ไม่ได้มีความเข้าใจ หรือมีความสามารถอย่างเด่นชัดในการจะบูรณการสื่อนั้น ๆ เพื่อต่อยอดทางความรู้ให้กว้างออกไป

3. ผู้สนุบสนุนด้านข้อมูลไม่มี เพราะดิฉันเข้าใจว่าการทำบทเรียน Simulation ในลักษณะของ e-experiment นั้นผู้ออกแบบต้องสามารถวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่าข้อมูลใดบ้างที่จำเป็นต้องนำมาใช้เป็นพื้นฐานอยู่เบื้องหลังการทำงาน เช่น เราจะทำเรื่องการเจริญเติบโตของพืช ที่ต้องรู้ปัจจัยการเจริญเติบโตไม่แก่ ปริมาณแสงแดด ปุ่ย น้ำ อากาศ ว่าแต่ละช่วงวัยของพืชต้องใช้ในปริมาณเท่าไร อย่างไร พืชแต่ละพันธ์เจริญเติบโตต่างกันอย่างไร การแสดงผลเมื่อผู้เรียนเลือกตัวแปรต่างชนิดกัน จะเป็นอย่างไรเมื่อพืชโตขึ้น ข้อมูลเหล่านั้น ID คิดได้ว่าต้องมี แต่ SME หาให้ไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก

4. ความสามารถของทีมผลิตของเราเอง

5. งบประมาณและระยะเวลาที่ให้มา

ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดิฉันต้องคำนึงถึงและต้องปรับให้เหมาะสม แต่ทีมงานก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งดิฉันอีกก็กำลังสับสนว่าดิฉันสื่อสารได้ไม่ถูกต้องหรืออย่างไร จากปัญหาข้างต้น คงต้องรบกวนให้คุณกอฟล์ช่วยอธิบายขั้นตอนการทำงาน ของ ID ในการทำ e-learning ให้ดิฉันทราบหน่อยค่ะว่า จริง ๆ แล้ว หลักการที่ควรจะเป็นและมีความยืดหยุ่นนั้นเราควรทำอย่างดี เพื่อให้ ID มีความชัดเจนและเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการผลิตบทเรียน

ขอบคุณค่ะ

เครียดไปป่าวเนี่ย อิอิ

เจี๊ยบ

LO ก็เป็นเทคนิคอย่างนึงที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งใช้อยู่ เป็นการนำเทคนิคComputer Science มาประยุกต์ใช้ในด้าน Education ตามที่คุณเจี๊ยบเขียนไว้ทุกต้องแล้ว LO จะเติบโตและมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มคน หรือ community ที่คอยพัฒนา Object นั้นๆ ให้คิดเสมือนว่าเป็น ห้องสมุด ถ้าหากห้องสมุดไม่มีหนังสือให้คนเข้าไปหยิบอ่าน ก็ไม่สามารถเป็นห้องสมุดที่ดีได้ ห้องสมุด Library ที่ดีก็ต้องมีหนังสือๆใหม่ๆเข้ามาให้ยืมใช้ ระบบของห้องสมุดถึงจะราบรื่น มีคนมาใช้บริการเรื่อยๆ

จากข้อมูลที่คุณเจี๊ยบให้มาเกี่ยวกับบริษัท เกี่ยวกับ LO ที่ทำอยู่นั้น กอล์ฟว่า Copy ได้นะ แต่ก่อน Copy ควร layout โครงสร้าง รายละเอียดทั้งหมด ออกมา แล้วดูเป็นจุดๆ ว่ามีจุดไหนที่ต้องเปลี่ยน หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นให้เหมาะสมหรือป่าว เห็นด้วยกับคุณเจี๊ยบนะครับว่า ถ้าเราจะ copy เขามาเนี่ย เราควรทำให้ดีกว่าต้นฉบับ หรือปรับให้เข้ากับ target audience ของเรา

ผมจะขอ discuss โดยรวมเกี่ยวกับ ระบบแผนงานของ ID แบบกว้างๆนะครับ ดูเหมือน ปัญหาของคุณเจี๊ยบ จะเป็นปัญหาที่ IDer จะต้องเจออยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังนั้น ผมจะแนะให้กว้างๆ เพื่อคุณเจี๊ยบจะได้เอาไปประยุกต์ใช้ใน project อื่นๆได้ด้วย

Instruction Design ไม่ได้เป็นแค่วิชานึง หากแต่เป็น System หรือระบบ ซึ่งก็หมายความว่า ID จะต้อง มี Input ส่งผ่าน เข้า Components ต่างๆและ มีการ process ต่างๆนา เพื่อจะผลิด Output ให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบของ ID มองแบบกว้างๆ ประกอบไปด้วย Analysis, Design, Development และ Evaluation หรือที่ฝรั่งเรียกสั้นๆว่า ADDIE (แอดดี้) ที่กล่าวอิงถึงระบบ เพราะผมจะถามคุณเจี๊ยบว่า คุณเจี๊ยบ มีการอ้างอิง หรือใช้ ID Model อันไหนหรือป่าวครับ ID Model ก็มีเยอะแยะมากมายให้เลือกใช้ อย่างที่ผมเรียนมาจะยึด Dick & Carey เป็นหลัก ซึ่งถือเป็น โมเดลที่ใหญ่แต่ละเอียดในทุกขึ้นตอน ส่วนประกอบของโมเดลที่กล่าวมานี้ ก็คือรูปที่อยู่ด้านบนนะครับ

ในส่วนของความเป็นจริงแล้ว กอล์ฟก้ไม่ได้ผ่านกระบวนการทุกระบบ บางส่วนก็ละเว้นได้ แล้วแต่ว่าเรามีข้อมุลอยู่ในมือมากน้อยเพียงได้ ดูจากปัญหาของคุณเจี๊ยบแล้ว ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาใหญ่เลยทีเดียว บ่อยครั้งที่ IDer ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นเพื่อจะ complete โปรเจคต์ จะต้อง deal กับคนหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น SME, developer, audience, และก็ stakeholder (เจ้าของโปรเจคต์) ผมมีวิธีแก้ให้คุณเจี๊ยบนะแต่ไม่รู้ จะไหวไหม

1. อย่างที่บอกนะครับ Flexible เข้าไว้ ดังนั้น คุณเจี๊ยบ ปรับเปลี่ยนบทบาทเล็กน้อย จะต้องก้าวขึ้นมารวบตำแหน่ง Project Manager ด้วยนะครับ เฟื่อจะได้คุมเรื่อง งบประมาณ และเวลา ผลิดทั้งหมด ก่อนสร้างงาน ควรจะ layout ออกมาก่อนว่า ใช้เวลานานแค่ไหน ใช้งบเท่าไหร่ และยื่นให้ Stakeholder พิจารณา ถ้าตกลงกันไมได้ โปรเจคก็จะต้องชะลอไป เพราะหากทำไปวางแผนไป โปรเจคต์ อาจล่มกลางคัน

2. ใช้ ID Model วางแผนแยกออกเป็นส่วนๆ อย่างน้อย คุณเจี๊ยบจะต้องมี 4 phases ด้วยกันตามที่บอกไปแล้ว ADDIE แบ่งทีมงานออกเป็น 4 ส่วนด้วย คุณเจี๊ยบสามารถใช้ คนแบบ cross-teaming ได้ เช่น บางคนเป็น SME และก็เป็น Evaluator ได้ด้วย หรือ บางคนเป็นทั้ง Design และ Developer แบ่งทีมให้ชัดเจนนะครับ เวลามีปัญหา คุณเจี๊ยบก็จะ address ได้ว่า เกิดจาก Phaseไหน อย่างที่บอกนะครับ Flexible ในเรื่องของการปรับเปลี่ยน ID Model แล้วประยุกต์เข้ากับงานเราเอง

3. คุณเจี๊ยบจะต้องเน้น Analysis ให้มากๆ เพราะ จากที่คุณได้กล่าวไว้แล้ว การเอางานของเมืองนอกมาเป็นแบบอย่าง ก็ช่วยในเรื่องของ design กับ develop ไปมากแล้ว แค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบนิดหน่อย แต่ Analysis นี่ล่ะจะเป็นตัววัดว่า Simulation ที่บริษัทคุณเจี๊ยบจะเอามาใช้นั้น ต้องปรับเปลี่ยนตรงไหนบ้าง Analysis แบ่งเป็นสองส่วนคือ Content Analysis กับ Learner Analysis ในส่วนของ Content Analysis คุณเจ๊ยบจะต้อง layout ออกมาเลยว่า เนื้อหาครอบคลุมจดไหนถึงจุดไหน หรือจะใช้เนื้อหาทั้งหมดจากต้นฉบับ คุณเจ๊ยบเป็น IDer มีหน้าที่ตัดสินใจส่วนนี้ คนอื่นควรรับฟัง ส่วน Learner Analysis คุณเจี๊ยบจะต้องรู้ว่า งานนี้ออกมาเพื่อเด็กอายุเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ เด็กสมัยนี้มีความสามารถระดับไหน คุณเจี๊ยบ ควรเขียนออกมาเป็นรายงาน หรือไม่ก็ ทำ survey กับผู้ปรกครอง ตรงจุดนี้จะเป็น data/evidence support ให้กับโปรเจคของคุณ

4. ส่วนปัญหาเรื่อง SME ไม่มีนั้น จริงๆแล้วคุณเจี๊ยบ มีแหล่งเยอะแยนะครับ Flexible อีกแล้ว --คุณสามารถติดต่อโรงเรียน หรือ อาจารย์จากโรงเรียนไหนก็ได้ สอบถามว่าใช้หนังสือเรียน เล่มไหน แบบไหน ขอติดต่อไปสัมภาษณ์ เขาก้ได้นะครับ คุณครูเป็นแหล่ง SME ที่ดีทีเดียวเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นด้าน content ก็ดี หรือ learner analysis ก็ดี ยิงทีเดียวได้นกสองตัวเลยครับ อีกแหล่งที่คุณหาข้อมูลได้คือ Google ไงครับ ฮ่าๆ

5. ในเรื่องความสามารถของทีมผลิตนี่ อาจจะแก้ยากหน่อย ทีมผลิดอาจจะต้องการเวลาในการ Train ตัวเอง คุณเจี๊ยบก็ต้องคำนวณละกันนะครับว่า เวลาที่พวกทีมงานฝึกฝนหรือศึกษาโปรแกรมนั้น จะง่ายกว่าไหมที่เราจะ outsource หรือ หาคนที่รับทำโปรแกรมเป็นครั้งคราว หรือชั่วคราว เทียบดูนะครับ ในด้าน เวลา และเงิน ถ้าจ้างคนอื่นเข้ามาช่วยให้ผลที่ดีกว่า ก็ขอบอกว่าควรจะทำ แล้วให้ developer ที่มีอยู่นั้นไปทำ โปรเจคอื่นแทน หรือไม่ก็ไล่ออกเนื่องจากไร้ความสามารถ ฮ่าๆ พูดเล่นนะ เห็นไหมครับว่า จะต้อง Flexible อีกแล้ว

ตอบยาวเลยนะครับ คำถามและปัญหาที่คุณเจี๊ยบเขียนมาทำให้กอล์ฟนึกถึง วิชานึงเลย ชื่อวิชา Alternative Models กิจกรรมและหนังสือที่ใช้ คือ ID Casebook ในหนังสือเล่มนั้นประกอบไปด้วย ปัญาหต่างๆที่เกี่ยวกับ ID แล้วเขาก็จะถามคนอ่านหรือนักเรียนว่า ถ้าเป็นคุณล่ะ คุณจะทำอย่างไร ใช้ Model ไหน แก้ไขอย่างไร ปัญหาที่เห็นบ่อยๆในหนังสือ ส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหาที่คุณเจี๊ยบเจอนั่นเอง อย่าท้อนะครับ คิดซะว่าเป็นการท้าทายความสามารถ เราจะต้อง Flexible ลื่นไหลตามเหตุการณ์

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบ โดยปกติเวลาทำงานจะยึด ADDIE ค่ะ แต่ปัญหาที่ใหญ่จริง ๆ เลย คือ PM นี้แหละค่ะ ต้องบอกเพื่อนเจี๊ยบอีกคนทำ PM แต่ปัญหาเขาทำงาน PM แบบไม่เข้าใจงาน PM นำไปเลยไปถึงไม่เข้าใจ ID และก้าวก่ายงานของ ID โดยหน้าที่ ในการติดต่อ SME เขาก็เอาไปคุยซะหมด โดยจะรับข้อมูลหลังจากที่เจี๊ยบทำ ID เสร็จและพรีเซ็นต์ต่อทีม ซึ่งตรงนี้เราก็บอกไปแล้วว่าเราจะคุยเอง แต่เขาก็เหมือนทำเฉย ๆ และยังคงทำเหมือนแบบเดิม คงต้องยอมรับว่าตรงนี้เจี๊ยบผิดอย่างมาก ที่ปล่อยให้เขามาทำให้งานเสียระบบ เพราะเขาไม่ได้เข้าใจ ID ที่เขียนจริง ๆ และเขาไปเอาเนื้อหามาให้ลักษณะที่กว้างมาก ทำให้เสียเวลามากขึ้นไปอีก และเวลาที่ส่งงาน outsource เขาก็มักจะไม่ให้เจี๊ยบมีส่วนรวมในการคุยกับ outsource และตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบาย Concept ของงานที่ต้องการให้ outsource เข้าใจได้ งานผิดเยอะ แก้ไขเยอะ แถม outsource เพิ่มเนือ้หามาให้อีก เลยไปกันใหญ่ คือเหมือนเขาเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า PM ต้องทำอะไรบ้าง เพราะเพื่อนเจี๊ยบคนนี้ เขายึดว่า PM คือหัวงานและคนคุมงานทั้งหมด ซึ่งมุมของเจ๊ยบมันไม่ใช่เลย ที่ สวทช. บริษัทเก่าที่เคยทำ เจ๊ยบทำทั้ง PM และ ISD ดังนั้นเจี๊ยบรู้ดีว่า มันต้องทำอย่างไร แต่เขาไมเชื่อเราเลย อันด้วย อีโก้ ของตัวเอง และความเป็นเพื่อนที่หลาย ๆ ครั้งเจี๊ยบไม่อยากจะหักหน้า

จริง ๆ ปัญหานี้มันก็ดูเป็นปัญหาส่วนตัวระหว่างคนสองคนนะคะ แต่มันส่งผลกระทบกับทีมค่อนข้างมากที่เดียว

ขอถามคุณกอลฟ์หน่อยค่ะ คือเจี๊ยบคิดว่าเจี๊ยบจะคุยกับเขา หมายถึงเพื่อนที่เป็น PM และเจ้าของบริษัท โดยจะเสนอ Work Flow ใหม่ คือ จะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จากเพื่อนที่เป็น PM อยู่ให้ไปทำงาน เป็น PDM (ซึ่งใหญ่ สุดในฝ่ายผลิต อิอิ และคิดว่าเพื่อนคงพอใจ) โดยให้คุมฝ่ายผลิตทั้งหมด รวมถึงการส่งงาน outsource การหาทีมงาน และเจี๊ยบขึ้นมาทำทั้ง ID และ PM เอง คือจะทำหน้าที่ในการออก ID และวางแผนการทำงาน ในส่วนของระยะเวลา งบประมาณ และประสานงานกับ SME รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในส่วนงาน ID ของทีม ผลิตเอง ตรงนี้คุณกอลฟ์เห็นว่าเป็นอย่างไรค่ะ คิดว่าเหมาะสมไหม เพราะจริง ๆ ตอนนี้เรามีทีมงาน อยู่ 4 คน คือ PM 1 ISD 1 Script 1 กราฟิกที่ไม่เป็นโปรแกรมมิ้ง 1 ต้อง outsource งาน โคดดิ้ง ทั้งหมด โดยพื้นแล้วคือ ต้องช่วยกันทำงาน แต่ปัญหาคือการทำงานที่ซ้ำซ้อนและไม่เข้าใจหน้าที่ของตัวเองและคนอื่นอย่างชัดเจน มันทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก และบริษัทเองก็ไม่ได้มีความรู้ที่จะมาเข้าใจในเรื่องนี้ จะเอาแต่ output โดย อีก 6 เดือน ต้องมีงาน SIM เสร็จ 80 ตัว แต่ตัวนี้ทำมา 6 เดือนแล้ว เพิ่งมีงานที่เสร็จสมบูรณ์ แค่ 5 ตัว กับ ID ที่เสร้ตแล้วอีก 20 ตัว ถ้าทำงานแบบนี้ เจี๊ยบก็คิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้อ่ะค่ะ ต้องบอกว่าตอนนี้เครียดมาก และกำลังท้อและอยากจะลาออกมาก ๆ เพราะคิดว่าคงเสียเพื่อนแน่ ๆ แต่มันก็เพราะเราเองที่ยอมให้เขาทำแบบผิด ๆ มาตั้งแต่ต้น เพราะคิดว่าเพื่อนกันคงคุยกันได้

ตรงก็เป็นบทเรียนที่อยากจะเตือน ID คนอื่น ๆ เลยว่าอย่าทำแบบที่เจี๊ยบทำ เพราะสร้างความเครียดอย่างมาก อย่าไปยอมให้เขาทำไม่ถูกต้อง เฮ้อ เครียดอีกแล้ว เลยมีแต่เรืองเครียดมาเล่าให้คุณกอลฟ์ฟังทุกที อิอิ ถ้ายังไงช่วยชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาให้หน่อยนะคะว่ามันจะเหมาะสมหรือป่าว เพราะอันเนี่ยนอนคิดมา 3 คืนแล้ว นอนไม่หลับเลยค่ะ กลุ้ม

ส่วนหนังสือที่คุณกอลฟ์แนะนำมาน่าสนใจทีเดียวค่ะ หาซื้อได้ที่ไหนอ้ะ บอกหน่อยค่ะ จะไปซื้อมาอ่าน โดยด่วนเลย

เจี๊ยบ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบ โดยปกติเวลาทำงานจะยึด ADDIE ค่ะ แต่ปัญหาที่ใหญ่จริง ๆ เลย คือ PM นี้แหละค่ะ ต้องบอกเพื่อนเจี๊ยบอีกคนทำ PM แต่ปัญหาเขาทำงาน PM แบบไม่เข้าใจงาน PM นำไปเลยไปถึงไม่เข้าใจ ID และก้าวก่ายงานของ ID โดยหน้าที่ ในการติดต่อ SME เขาก็เอาไปคุยซะหมด โดยจะรับข้อมูลหลังจากที่เจี๊ยบทำ ID เสร็จและพรีเซ็นต์ต่อทีม ซึ่งตรงนี้เราก็บอกไปแล้วว่าเราจะคุยเอง แต่เขาก็เหมือนทำเฉย ๆ และยังคงทำเหมือนแบบเดิม คงต้องยอมรับว่าตรงนี้เจี๊ยบผิดอย่างมาก ที่ปล่อยให้เขามาทำให้งานเสียระบบ เพราะเขาไม่ได้เข้าใจ ID ที่เขียนจริง ๆ และเขาไปเอาเนื้อหามาให้ลักษณะที่กว้างมาก ทำให้เสียเวลามากขึ้นไปอีก และเวลาที่ส่งงาน outsource เขาก็มักจะไม่ให้เจี๊ยบมีส่วนรวมในการคุยกับ outsource และตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบาย Concept ของงานที่ต้องการให้ outsource เข้าใจได้ งานผิดเยอะ แก้ไขเยอะ แถม outsource เพิ่มเนือ้หามาให้อีก เลยไปกันใหญ่ คือเหมือนเขาเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า PM ต้องทำอะไรบ้าง เพราะเพื่อนเจี๊ยบคนนี้ เขายึดว่า PM คือหัวงานและคนคุมงานทั้งหมด ซึ่งมุมของเจ๊ยบมันไม่ใช่เลย ที่ สวทช. บริษัทเก่าที่เคยทำ เจ๊ยบทำทั้ง PM และ ISD ดังนั้นเจี๊ยบรู้ดีว่า มันต้องทำอย่างไร แต่เขาไมเชื่อเราเลย อันด้วย อีโก้ ของตัวเอง และความเป็นเพื่อนที่หลาย ๆ ครั้งเจี๊ยบไม่อยากจะหักหน้า

จริง ๆ ปัญหานี้มันก็ดูเป็นปัญหาส่วนตัวระหว่างคนสองคนนะคะ แต่มันส่งผลกระทบกับทีมค่อนข้างมากที่เดียว

ขอถามคุณกอลฟ์หน่อยค่ะ คือเจี๊ยบคิดว่าเจี๊ยบจะคุยกับเขา หมายถึงเพื่อนที่เป็น PM และเจ้าของบริษัท โดยจะเสนอ Work Flow ใหม่ คือ จะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จากเพื่อนที่เป็น PM อยู่ให้ไปทำงาน เป็น PDM (ซึ่งใหญ่ สุดในฝ่ายผลิต อิอิ และคิดว่าเพื่อนคงพอใจ) โดยให้คุมฝ่ายผลิตทั้งหมด รวมถึงการส่งงาน outsource การหาทีมงาน และเจี๊ยบขึ้นมาทำทั้ง ID และ PM เอง คือจะทำหน้าที่ในการออก ID และวางแผนการทำงาน ในส่วนของระยะเวลา งบประมาณ และประสานงานกับ SME รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในส่วนงาน ID ของทีม ผลิตเอง ตรงนี้คุณกอลฟ์เห็นว่าเป็นอย่างไรค่ะ คิดว่าเหมาะสมไหม เพราะจริง ๆ ตอนนี้เรามีทีมงาน อยู่ 4 คน คือ PM 1 ISD 1 Script 1 กราฟิกที่ไม่เป็นโปรแกรมมิ้ง 1 ต้อง outsource งาน โคดดิ้ง ทั้งหมด โดยพื้นแล้วคือ ต้องช่วยกันทำงาน แต่ปัญหาคือการทำงานที่ซ้ำซ้อนและไม่เข้าใจหน้าที่ของตัวเองและคนอื่นอย่างชัดเจน มันทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก และบริษัทเองก็ไม่ได้มีความรู้ที่จะมาเข้าใจในเรื่องนี้ จะเอาแต่ output โดย อีก 6 เดือน ต้องมีงาน SIM เสร็จ 80 ตัว แต่ตัวนี้ทำมา 6 เดือนแล้ว เพิ่งมีงานที่เสร็จสมบูรณ์ แค่ 5 ตัว กับ ID ที่เสร้ตแล้วอีก 20 ตัว ถ้าทำงานแบบนี้ เจี๊ยบก็คิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้อ่ะค่ะ ต้องบอกว่าตอนนี้เครียดมาก และกำลังท้อและอยากจะลาออกมาก ๆ เพราะคิดว่าคงเสียเพื่อนแน่ ๆ แต่มันก็เพราะเราเองที่ยอมให้เขาทำแบบผิด ๆ มาตั้งแต่ต้น เพราะคิดว่าเพื่อนกันคงคุยกันได้

ตรงก็เป็นบทเรียนที่อยากจะเตือน ID คนอื่น ๆ เลยว่าอย่าทำแบบที่เจี๊ยบทำ เพราะสร้างความเครียดอย่างมาก อย่าไปยอมให้เขาทำไม่ถูกต้อง เฮ้อ เครียดอีกแล้ว เลยมีแต่เรืองเครียดมาเล่าให้คุณกอลฟ์ฟังทุกที อิอิ ถ้ายังไงช่วยชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาให้หน่อยนะคะว่ามันจะเหมาะสมหรือป่าว เพราะอันเนี่ยนอนคิดมา 3 คืนแล้ว นอนไม่หลับเลยค่ะ กลุ้ม

ส่วนหนังสือที่คุณกอลฟ์แนะนำมาน่าสนใจทีเดียวค่ะ หาซื้อได้ที่ไหนอ้ะ บอกหน่อยค่ะ จะไปซื้อมาอ่าน โดยด่วนเลย

เจี๊ยบ

เห็นใจคุณเจี๊ยบนะครับ แต่ทุกอย่างย่อมมีทางแก้ ที่บริษัที่กอล์ฟทำอยู่แต่ละหน่วยงานจะมี SOP หรือ Standard Operating Procedure นะครับเป็นเอกสาร list ออกมาเลยว่า แต่ละหน่วยงานมีความรับผิดชอบด้านไหนบ้าง พิมพ์ออกมาเป็นข้อๆ ตรงนี้จะช่วยแบ่งชัดเจนกันไปเลยว่า scope of work ของแต่ละคนมีขีดจำกัดแค่ไหน ใครทำอะไรบ้าง

ดูเหมือนเพื่อนของคุณเจี๊ยบยังขาดประสบการณ์ คุณเจี๊ยบอาจจะต้องนั่งอธิบายแบบ Overview มุมกว้างๆ เกี่ยวกับ ID หน้าที่ของ ID เขาจะได้เข้าใจคุณเจี๊ยบมากขึ้น พูดคุยกันในลักษณะให้เหตุผลอ้างอิง เขาก็น่าจะรับฟัง

ปัญหาที่เด่นชัด ดูเหมือนจะเป็น Communication ซะมากกว่าระหว่างคุณเจี๊ยบกับเพื่อน ในความคิดเห็น คุณเจี๊ยบมีประสบการณ์มากพอที่จะเป็น PM ของงาน ส่วนเพื่อนของคุณเจี๊ยบ ก็เป็น PM ได้เช่นกันแต่ต้องแบ่งหน้าที่เขาไปทำด้าน บริหารประสานงาน หรือ ตามงานจะดีกว่า ส่วนคุณเจี๊ยบดูแลเรื่อง Analysis เก็บข้อมูล ตรวจสอบเนื้อหางาน โปรเจคต์ไม่จำเป็นต้องมี PM คนเดียวก็ได้ ถ้ากลัวผิดใจกัน ก็เป็น PM ทั้งสองคน ส่วนเลื่อนเขาให้ไปทำงานด้าน PDM ก็เป็นทางแก้อีกทางครับ

ยังไงก็ตามจะต้องแบ่งงานกันให้ชัดเจนนะครับ communication สำคัญมากนะครับ

งานของเพื่อนคุณควรจะเป็นลักษณะ

- ตรวจงบประมาณ

- คอยเข้มงวดกับ deadline

- ประสานงาน หาคนมาทำ outsource ให้คุณเจี๊ยบ

- ติดต่อหา SME ให้คุณเจี๊ยบไปสัมภาษณ์

- QA/QC งานให้คุณเจี๊ยบ

- จัดทำ Formative Evaluation กับคุณเจี๊ยบ

ส่วนคุณเจี๊ยบ ก็คงต้องจัดการเรื่อง ID ทั้งหมด รวมถึงการประสานงานและเชื่อมโยงระหว่าง เฟสทั้ง 5 ของ ADDIE ให้ราบรื่น

คุณควรคุยกับเจ้าของบริษํท แ้จ้งถึงปัญหาให้เขาทราบและเสนอแนวทางแก้ไขให้กับเขา เพราะตอนนี้เหมือน หน้าที่ซับซ้อนกันอยู่ ทำให้เกิดการล่าช้าและเกิดการเข้าใจผิดกันได้

กรณีปัญหาของคุณเจี๊ยบ ถือเป็น classic case ไม่ต้องซีเรียสครับค่อยๆคุยกันแ้ก้ไขกัน เพื่อนกันจริงๆแล้วควรทำให้งานเดินได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่ยากขึ้นนะครับ ถ้าคุณเจี๊ยบมาเจอในสภาพแวดล้อมอีกแบบคือ ผู้ร่วมงานคอยจับผิด คอยโยนปัญหาให้ อันนั้นยิ่งน่ากลุ้มใจมากกว่านะครับ

หนังสือที่บอกไว้ คือ เล่มนี้นะครับ

http://www.amazon.com/ID-Casebook-Studies-Instructional-Design/dp/0130943215

หนังสือขายดีอีกเล่มของ ID คือ Trends and Issues in IDT นะครับ เล่มนี้จะูเขียนกล่่าวอ้างถึงประวัติและก็การประยุกต์ ID ในหน่วยงานต่างๆอาทิเช่น การแพทย์ ธุรกิจ การศึกษา และด้านอื่นๆ รวมถึงแนวทางอนาคตว่า ID อย่างพวกเรานี้จะมีแนวทางก้าวไปข้างหน้าอย่างไร

http://www.amazon.com/Trends-Issues-Instructional-Design-Technology/dp/0131708058/ref=pd_bxgy_b_img_b

เล่มนี้ อาจารย์ที่เป็น committee ของกอล์ฟ เป็นคนเขียนหลักและรวบรวมเล่มล่ะชื่อ John Dempsey ถ้า search ชื่อเขาก็จะพบว่ามี research ที่เขาทำไว้เยอะมากมาย ด้านเด่นของเขาคือ การนำ Technologyต่างๆ เข้ามาช่วยในการ train และการสอน

มีปัญหาอะไรหรือ ไม่เข้าใจตรงไหนสอบถามได้เสมอนะครับ ยินดีให้คำแนะนำครับ

สู้ๆครับ ฮ่าๆ

อ่อ ID Casebook มี editionใหม่ออกครับ

http://www.amazon.com/I-D-Casebook-Studies-Instructional-Design/dp/0131717057/ref=pd_cp_b_0?pf_rd_p=413864201&pf_rd_s=center-41&pf_rd_t=201&pf_rd_i=0130943215&pf_rd_m=ATVPDKIKX0DER&pf_rd_r=0YX9H37PX546WY3ND59F

ลองอ่าน Description ดูนะครับ หนังสือแค่เสนอปัญหาให้อ่านนะครับ

With its problem-oriented approach to instructional design, the third edition of The ID CaseBook provides 32 realistic case studies in a wide range of authentic contexts, from K-12 to post-secondary, corporate, and military. The cases and their accompanying discussion questions encourage students to analyze the available information, develop conclusions, and consider alternative possibilities in resolving ID problems.

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบ โดยปกติเวลาทำงานจะยึด ADDIE ค่ะ แต่ปัญหาที่ใหญ่จริง ๆ เลย คือ PM นี้แหละค่ะ ต้องบอกเพื่อนเจี๊ยบอีกคนทำ PM แต่ปัญหาเขาทำงาน PM แบบไม่เข้าใจงาน PM นำไปเลยไปถึงไม่เข้าใจ ID และก้าวก่ายงานของ ID โดยหน้าที่ ในการติดต่อ SME เขาก็เอาไปคุยซะหมด โดยจะรับข้อมูลหลังจากที่เจี๊ยบทำ ID เสร็จและพรีเซ็นต์ต่อทีม ซึ่งตรงนี้เราก็บอกไปแล้วว่าเราจะคุยเอง แต่เขาก็เหมือนทำเฉย ๆ และยังคงทำเหมือนแบบเดิม คงต้องยอมรับว่าตรงนี้เจี๊ยบผิดอย่างมาก ที่ปล่อยให้เขามาทำให้งานเสียระบบ เพราะเขาไม่ได้เข้าใจ ID ที่เขียนจริง ๆ และเขาไปเอาเนื้อหามาให้ลักษณะที่กว้างมาก ทำให้เสียเวลามากขึ้นไปอีก และเวลาที่ส่งงาน outsource เขาก็มักจะไม่ให้เจี๊ยบมีส่วนรวมในการคุยกับ outsource และตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบาย Concept ของงานที่ต้องการให้ outsource เข้าใจได้ งานผิดเยอะ แก้ไขเยอะ แถม outsource เพิ่มเนือ้หามาให้อีก เลยไปกันใหญ่ คือเหมือนเขาเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า PM ต้องทำอะไรบ้าง เพราะเพื่อนเจี๊ยบคนนี้ เขายึดว่า PM คือหัวงานและคนคุมงานทั้งหมด ซึ่งมุมของเจ๊ยบมันไม่ใช่เลย ที่ สวทช. บริษัทเก่าที่เคยทำ เจ๊ยบทำทั้ง PM และ ISD ดังนั้นเจี๊ยบรู้ดีว่า มันต้องทำอย่างไร แต่เขาไมเชื่อเราเลย อันด้วย อีโก้ ของตัวเอง และความเป็นเพื่อนที่หลาย ๆ ครั้งเจี๊ยบไม่อยากจะหักหน้า

จริง ๆ ปัญหานี้มันก็ดูเป็นปัญหาส่วนตัวระหว่างคนสองคนนะคะ แต่มันส่งผลกระทบกับทีมค่อนข้างมากที่เดียว

ขอถามคุณกอลฟ์หน่อยค่ะ คือเจี๊ยบคิดว่าเจี๊ยบจะคุยกับเขา หมายถึงเพื่อนที่เป็น PM และเจ้าของบริษัท โดยจะเสนอ Work Flow ใหม่ คือ จะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จากเพื่อนที่เป็น PM อยู่ให้ไปทำงาน เป็น PDM (ซึ่งใหญ่ สุดในฝ่ายผลิต อิอิ และคิดว่าเพื่อนคงพอใจ) โดยให้คุมฝ่ายผลิตทั้งหมด รวมถึงการส่งงาน outsource การหาทีมงาน และเจี๊ยบขึ้นมาทำทั้ง ID และ PM เอง คือจะทำหน้าที่ในการออก ID และวางแผนการทำงาน ในส่วนของระยะเวลา งบประมาณ และประสานงานกับ SME รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในส่วนงาน ID ของทีม ผลิตเอง ตรงนี้คุณกอลฟ์เห็นว่าเป็นอย่างไรค่ะ คิดว่าเหมาะสมไหม เพราะจริง ๆ ตอนนี้เรามีทีมงาน อยู่ 4 คน คือ PM 1 ISD 1 Script 1 กราฟิกที่ไม่เป็นโปรแกรมมิ้ง 1 ต้อง outsource งาน โคดดิ้ง ทั้งหมด โดยพื้นแล้วคือ ต้องช่วยกันทำงาน แต่ปัญหาคือการทำงานที่ซ้ำซ้อนและไม่เข้าใจหน้าที่ของตัวเองและคนอื่นอย่างชัดเจน มันทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก และบริษัทเองก็ไม่ได้มีความรู้ที่จะมาเข้าใจในเรื่องนี้ จะเอาแต่ output โดย อีก 6 เดือน ต้องมีงาน SIM เสร็จ 80 ตัว แต่ตัวนี้ทำมา 6 เดือนแล้ว เพิ่งมีงานที่เสร็จสมบูรณ์ แค่ 5 ตัว กับ ID ที่เสร้ตแล้วอีก 20 ตัว ถ้าทำงานแบบนี้ เจี๊ยบก็คิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้อ่ะค่ะ ต้องบอกว่าตอนนี้เครียดมาก และกำลังท้อและอยากจะลาออกมาก ๆ เพราะคิดว่าคงเสียเพื่อนแน่ ๆ แต่มันก็เพราะเราเองที่ยอมให้เขาทำแบบผิด ๆ มาตั้งแต่ต้น เพราะคิดว่าเพื่อนกันคงคุยกันได้

ตรงก็เป็นบทเรียนที่อยากจะเตือน ID คนอื่น ๆ เลยว่าอย่าทำแบบที่เจี๊ยบทำ เพราะสร้างความเครียดอย่างมาก อย่าไปยอมให้เขาทำไม่ถูกต้อง เฮ้อ เครียดอีกแล้ว เลยมีแต่เรืองเครียดมาเล่าให้คุณกอลฟ์ฟังทุกที อิอิ ถ้ายังไงช่วยชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาให้หน่อยนะคะว่ามันจะเหมาะสมหรือป่าว เพราะอันเนี่ยนอนคิดมา 3 คืนแล้ว นอนไม่หลับเลยค่ะ กลุ้ม

ส่วนหนังสือที่คุณกอลฟ์แนะนำมาน่าสนใจทีเดียวค่ะ หาซื้อได้ที่ไหนอ้ะ บอกหน่อยค่ะ จะไปซื้อมาอ่าน โดยด่วนเลย

เจี๊ยบ

ขอบคุณมากค่ะ จะเอาไปเป็นแนวทางในการแก้ไขนะคะ อ๋อ ลืมถามว่าตอนนี้คุณอยู่ที่ประเทศไหนเหรอค่ะ

เจี๊ยบ

ขอบคุณมากค่ะ จะเอาไปเป็นแนวทางในการแก้ไขนะคะ อ๋อ ลืมถามว่าตอนนี้คุณอยู่ที่ประเทศไหนเหรอค่ะ

เจี๊ยบ

อยู่ อเมริกา ครับ รัฐ AL

สวัสดีค่ะ

ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ

ตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาอยู่ในระดับป.ตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ปี4มหาวิทยาลัยมหาสารคามค่ะ

วันนี้มีโอกาสได้เข้ามาอ่าน blog ของคุณกอล์ฟ

จึงทำให้มีความคิดเกี่ยวกับ instuctional design เพิ่มมากขึ้นและก็เป็นแนวทางที่ดีในการตัดสินใจเรียนต่อในระดับป.โทของดิฉัน ซึ่งในสายงาน instuctional design เป็นงานที่ดิฉันส่วนใจ และในระหว่างการเรียนในระดับป.ตรี ดิฉันก็ได้ศึกษาและทำงานเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนมาบ้างพอสมควร แต่อยากจะพัฒนาตนเองให้มีความรู้เกี่ยวกับด้านนี้ให้มากพอที่จะสามรถนำไปพัฒนาหรือจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ...อยากจะขอคำแนะนำจากคุณกอล์ฟในการศึกษาต่อในระดับป.โท

ว่าควรจะเลือกศึกษาด้านใด มหาวิทยาลัยใด ประมาณนี้นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

และขอเข้ามาศึกษาความรู้จาก blog ของคุณกอล์ฟด้วยนะคะ

แวะมาอ่าน  และทักทายค่ะ

มีความสุขในการทำงาน นะคะ

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับนะครับ ช่วงนี้กอล์ฟยุ่งๆเลยไม่ค่อยได้อัพเดท blog ในส่วนของ ID เท่าไหร่เลยนะครับ ตอนนี้พักงานมาอยู่ที่กรุงเทพ ยังกลับเมกา ไม่ได้เลยครับ เห้อ....

ส่วนเรื่องเรียนต่อโท นั้น ผมก็สนับสนุนเลยนะครับ ที่อเมริกาส่วนใหญ่สาขานี้ จะมีแต่ ป.โทและเอกนะครับ ไม่ค่อยมีป.ตรี เหมือนเมืองไทยนะครับ ถ้าเรียนต่อโทที่เมืองไทย ผมก็ไม่ได้แน่ใจว่า หลักสูตร วิชาที่สอนมีอะไรบ้าง คุณ asus373 พอจะทราบไหมครับว่าวิชาเรียนมีอะไรบ้าง

ทีมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนนั้น เขาจะแบ่งวิชาออกเป็นส่วนๆดังนี้นะครับ

1) Educational Psychology

2) Instructional Design Theories and Principles

3) Educational Research

4) Educational Technology and Software

หลักๆก็จะประมาณนี้นะครับ สาขานี้ ที่ขาดไม่ได้คือ มีความรู้ความเข้าใจ และรู้จักการประยุกต์ เทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการสร้างสื่อการสอน โปรแกรม ที่ควรศึกษาไว้ ก็พวก Photoshop, Dreamweaver, Flash , Authorware, Inspiration, Visio, HTML อะไรพวกนี้อ่ะครับ อันนี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างสื่อการสอนเองได้ง่ายขึ้น โปรแกรมพวกนี้ ช่วยให้คุณรู้จัก ปรับแต่งภาพ สร้างพวก Concept Map สร้าง สื่อการสอน ออนไลน์ และอีกหลายอย่างเลยทีเดียว

แต่จุดสำคัญที่ต้องจำไว้คือ ให้ทฤษฏีของ ID เป็นตัวนำทางในการใช้ เทคโนโลยี ผมเห็นคนส่วนใหญ่ ที่อ้างถึงเทคโนโลยีสื่อการสอน เขาจะให้ความสนใจกับ เครื่องมือ หรือ เทคโนโลยี มากกว่าหลักวิธีการสร้างสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ คือ เน้นสวย เน้นตื่นตา ตื่นใจ แต่พอเอามาใช้งาน คนเรียนกลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากความบันเทิง

นี่ก็เป็นความคิดเห็นเล็กๆน้อย จากประสบการณ์นะครับ เวลาเลือกที่เรียน ก็ดูที่หลักสูตรวิชาดูนะครับ ว่าคุณจะได้ประโยชน์จากวิชาเหล่านั้นครบทุกด้าน ตามที่ผม list ไว้ให้ข้างบนหรือป่าว

มีอะไรก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ

กอล์ฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท