เมาไปท้องไป ลูกเสี่ยงปากแหว่ง-เพดานโหว่


 

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (ท้อง) ส่วนหนึ่งไม่ได้เลิกเหล้า วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ถ้าท้องไปเมาไป... ลูกจะเสี่ยง (มีโอกาสเป็น) โรคปากแหว่ง-เพดานโหว่มากขึ้นมาฝากครับ

เด็กที่เกิดมา 1,000 คนจะมีโอกาสเป็นโรคปากแหว่งประมาณ 1 คน หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 1,000

...

เมื่อแบ่งตามเชื้อชาติพบว่า เด็กอินเดียนแดงและเอเชียมีโอกาสเป็นโรคปากแหว่งมากหน่อย เด็กฝรั่งและญี่ปุ่นมีโอกาสประมาณกลางๆ เด็กอาฟริกันมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย (ดังตาราง)

นี่อาจจะเป็นโชคดีน้อยข้อที่เด็กๆ อาฟริกันมีทีเดียว

...

เด็กเชื้อสาย โอกาสมีปากแหว่ง +/- เพดานโหว่ (ต่อ 1,000 คน)
อินเดียนแดง 3.74
ญี่ปุ่น 0.82-3.36
จีน 1.45-4.04
คอร์เคเชียน(ฝรั่ง) 1.43-1.86
อเมริกากลาง-ใต้(ละตินอเมริกัน) 1.04
อาฟริกัน 0.18-1.67

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ลิซา เอ. เดอรู และคณะ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เดอร์แฮม นอร์ต แคโรไลนา สหรัฐฯ ทำการศึกษาเด็กทารกนอร์เวย์ที่มีโรคปากแหว่ง 377 คน

ผลการศึกษาพบว่า แม่ที่ท้องไปด้วยเมาไปด้วยในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์มีโอกาสได้ลูกปากแหว่ง-เพดานโหว่ดังต่อไปนี้

...

...

[ ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > picture from Wikipedia ]

...

จำนวนครั้งที่ดื่มคราวละ 5 ดริ๊งค์ขึ้นไป โอกาสมีลูกปากแหว่ง +/- เพดานโหว่เพิ่มขึ้น (เท่า)
1-2 ครั้ง มากกว่า 2 เท่า
3 ครั้งขึ้นไป 3 เท่า

...

หน่วย 1 ดริ๊งค์ (drink) เท่ากับเท่าไร

  • = เบียร์ชนิดจืดจาง 1 กระป๋องเล็ก
  • = ไวน์แบบแพงๆ 1 แก้วเล็ก (125 มิลลิลิตร)

...

[ ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > picture from Wikipedia ]

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาลด-ละ-เลิกเหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กัน เพื่อสุขภาพจะได้ดีไปนานๆ ครับ

ถึงตรงนี้... ขอแสดงความยินดีกับพวกเราที่ไม่มีโรคปากแหว่ง-เพดานโหว่ หรือถ้ามีแล้วผ่าตัดซ่อมสำเร็จก็ดีใจด้วยเช่นกัน

...

 

 

 

ที่มา                                                             

...

  • Thank Reuters > Drinking in early pregnancy tied to cleft lip >  [ Click ] > September 24, 2008. // SOURCE: American Journal of Epidemiology, September 15, 2008.
  • Thank Wikipedia > Cleft lip > [ Click ] > September 30, 2008.
  • Thank Britannica online > Cleft lip > [ Click ] > September 30, 2008.

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 1 ตุลาคม 2551.

 

... 

หมายเลขบันทึก: 215657เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท