ตัวแปรเพศ


ตัวแปร

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

              เพศ  นับว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ปัญจมาพร พิพัฒน์วงศ์ (2540, หน้า 147)  ได้ศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมในสังกัดกรมสามัญศึกษา  พบว่า  ข้าราชการครูชายกับข้าราชการครูหญิงในโรงเรียนมัธยมกรมสามัญศึกษา มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยข้าราชการครูชายมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงกว่าข้าราชการครูหญิง

                ไพศาล  คณะทอง (2539, บทคัดย่อ)  ได้ทำการศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ พบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญที่เพศต่างกัน  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                สมใจ  จุฑาวุฒิกุล (2530, หน้า 167)  ได้ศึกษาเรื่องความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์  กองการศึกษาพิเศษ  กรมสามัญศึกษา  พบว่า  ครูเพศหญิงโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์มีความพึงพอใจในพฤติกรรมการบริหารบุคลากรของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แตกต่างกับครูเพศชาย

                สรุปได้ว่า  เพศหญิงเพศชายอาจมีความคิดเห็นเหมือนกันได้บางเรื่อง และในบางเรื่องเพศชายบางคนอาจคิดเหมือนเพศหญิงบางคน  เมื่อเทียบฐานะโดยรวมแล้ว ทั้งสองเพศมีฐานะวัฒนธรรมและสังคมต่างกัน เป็นผลให้ความคิดเห็นของแต่ละเพศต่างกันไปด้วย  ผู้วิจัยจึงกำหนดเพศของข้าราชการครูเป็นตัวแปรอิสระในการศึกษาครั้งนี้

 

 

บรรณานุกรม

ปัญจมาพร  พิพัฒน์วงศ์. (2540). ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียน       

                  มัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน.

                  วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

                   บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล  คณะทอง. (2539). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ

                   สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปริญญานิพนธ์

                   การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย

                   ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

สมใจ  จุฑาวุฒิกุล (2530).  ความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานบุคลากร

                  ของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์  กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา.

                   วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,  

                   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.

 

คำสำคัญ (Tags): #ตัวแปร
หมายเลขบันทึก: 215005เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

                                     

                     มาเยี่ยมให้กำลังใจค่ะพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท