Book Review "On Dialogue"


Dialogue สุนทรียสนทนา

บนวิถีการเสวนา (การเสวนา, การเปิดใจ)

โดย David Bohm

ผู้เขียนเริ่มด้วยการอธิบายว่า การเสวนา หมายถึงอะไร ตามด้วยการทดลองทำกันเป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าธรรมชาติของการแลกเปลี่ยนเป็นอย่างไร

ความหมายของการเสวนาของเดวิด ต่างจากการสนทนาที่มีอยู่ทั่วไป คือคำว่าเสวนานั้นจะมีความหมายลึกกว่า เป็นการรู้ความหมายที่อยู่ลึกเข้าไปกว่าคำพูด มนุษย์มีความสามารถในการเข้าใจสิ่งนี้ในจิตใจอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่นภาพและจินตนาการที่หลั่งไหลเป็นสายธาร ผ่านไปมาอยู่รอบตัวเราก็เป็นสิ่งที่มีความหมายและเป็นไปได้ที่จะทำให้ในกลุ่มทั้งหมดเข้าใจความหมายนั้นด้วย และยังเป็นสิ่งที่หลอมรวมทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ๆด้วย เมื่อมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นนั่นก็คือการแลกเปลี่ยนความเข้าใจเป็นกาวหรือปูนจับยืดผู้คนและสังคมให้อยู่ร่วมกัน

การโต้กันด้วยเหตุผล การถกปัญหาและการวิภาควิจารณ์ ต่างก็มุ่งทำให้เกิดการโต้ตอบกันทางความคิดเพื่อหาผู้ชนะ

การเสวนาไม่ใช่การทำเพื่อชนะ ทุกคนชนะเมื่อมีคนหนึ่งชนะ เป็นสถานะการณ์แบบไม่มีผู้แพ้

การโต้กันด้วยเหตุผลบ่อยครั้งจบลงที่การยื่นหมูยื่นแมวหรือการเจรจารอมชอม แต่เมื่อเข้ามาสู่เรื่องที่ต่างฝ่ายต่างไม่ปรารถนาจะพูดการเสวนาเป็นสิ่งที่มีบทบาท เพราะว่าผู้คนมีความเห็นและข้อสรุปแตกต่างกัน เช่น เรื่องส่วนตัว เรื่องศาสนา ทำให้คนแสดงออกแบบป้องกันตัวเองเมื่อถูกท้าทาย

ความเห็นเป็นบทสรุปจากประสบการณ์ส่วนบุคคลที่คิดว่าคงจะเป็นเช่นนั้นจริง บ้างก็เป็นสิ่งที่เกิดจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ไม่ว่าถูกหรือผิด

ถ้าเรายืนกรานเอาแต่ตามความเห็นตัวเอง เราก็ไม่สามารถมีการแลกเปลี่ยนความเห็นได้เหมือนการดื้อดึงในความเห็นอย่างขาดสติซึ่งมักเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ

ปัญหาปรากฏขึ้นเมื่อต้องมีการรวมตัวเพื่อทำงานร่วมก้นให้สำเร็จ แต่พบว่ามีใครบางคนที่มีความเห็นแตกต่างอย่างหนักจนทำงานได้ยาก ซึ่งจะพบได้มากในหมู่ผู้บริหารระดับสูง กลุ่มคนต่างศาสนา และแม้แต่นักวิทยาศาสตร์

สิ่งที่มักพบในการพยายามทำการสนทนา/เสวนา คือ

  1. ถ้าคนทั้งกลุ่มมีความโดดเด่นทางการยอมตามๆกันหมด ประโยชน์ไม่เกิด ไม่เกิดสิ่งใหม่ๆ
  2. ถ้าในกลุ่มมีคนมีความมั่นในจสูงมากในหัวข้อนั้น เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นคนเดียว

  3. กลุ่มคนมีหลากหลายขนาด ยากที่จะให้น้ำหนักทุกความเห็นได้โดยไม่ลำเอียง

  4. กลุ่มคนที่มีจำนวนสมาชิกน้อยเกินไป เพราะคนห้าถึงหกคนมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้าหากัน

  5. กลุ่มที่มีสมาชิกน้อย ถ้ามีประเด็นโต้แย้งกันซึ่งๆหน้าจะหยุดได้ยาก

  6. จะเห็นได้ว่าความคิดของคนในสังคมแตกต่างกันทั้งทิศทาง มีความขัดแย้งและหักล้างกันและกัน แต่เมื่อสามารถประสานกันได้ก็จะเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก นั่นก็คือผ่านการเสวนากัน

  7. เหตุที่ผู้คนเข้ามารวมกลุ่มกันก็คือ เพื่อความบันเทิง หรือ เพื่อทำงานบางอย่างให้สำเร็จ การเสวนาจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อคนที่ต่างกันทั้งความคิดและสิ่งต่างๆ

  8. ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าการเสวนาไม่ต้องมีประเด็นที่จะพูด ไม่ควรพยายามที่คิดว่าจะทำอะไรที่เกิดประโยชน์ และไม่ใช่การหาผู้นำ แต่ผู้คนมักคิดว่าผู้นำเป็นสิ่งจำเป็น ปราศจากผู้นำแล้วเราจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ ต้องมีใครทำหน้าที่บอกเราว่าต้องทำอะไร

  9. การเสวนามักจะเป็นไปในแบบของการปกป้องความคิดเห็นหรือข้อสรุปของตัวเอง ทำให้มักเกิดการไม่ฟัง หรือไม่เปิดใจรับฟังอย่างดี เรียกได้ว่า “We don't really hear it.” ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน

 

ข้อเสนอแนะการดำเนินการเสวนาเริ่มโดย

  1. การจัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงกลม ทำให้การสื่อสารทำได้โดยตรง

  2. หลักการสำคัญคือต้องทำงานโดยปราศจากผู้นำและประเด็น--ไม่มีวัตถุประสงค์ว่าเพื่ออะไร

  3. เมื่อมีเวลามากพอทุกคนก็จะเริ่มพูดกันเองอย่างอิสระ เริ่มจากสิ่งที่มีจุดร่วม

  4. การเปิดให้มีอิสระโดยไม่กำหนดให้ทำอะไรหรือต้องสรุปเรื่องอะไรเป็นเหมือนการเดินเล่นการมีพื้นที่ว่างๆ ตรงข้ามกับการเต็มอยู่ การไม่พยายามที่จะผลักดันอะไร และนี่คือจุดสำคัญอันหนึ่งของการเสวนา

  5. ผู้อำนวยการ FA อาจช่วยให้กลุ่มดำเนินไปได้โดยการจับตาดูและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่การทำงานของเขาจริงๆคือต้องพยายามไม่เอาตัวเข้าไปทำงาน

  6. อาจต้องให้เวลาพบปะบ่อยๆ อาจจะเป็นอาทิตย์ๆ หรือกว่านั้น จนที่สุดกระบวนการสามารถดำเนินไปได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้อำนวยการ

  7. เหล่านี้เป็นแนวทางคร่าวๆ แต่ไม่ใช่สิ่งที่รับประกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ แต่นั่นก็คือการผจญภัยในสิ่งใหม่ๆ คุณเป็นคนตัดสินว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด จะพูดเกี่ยวกับมันอย่างไร อะไรคือทฤษฎีของคุณ ก็ทำและทดลองต่อไป

เพิ่มเติมกว่านั้น

  1. การเสวนาไม่ใช่การเจรจาต่อรอง การเจรจาเป็นเพียงการเริ่มต้นก่อนการเสวนาเพราะเมื่อคนยังไม่รู้จักคุ้นเคยกัน การเจรจ่าต่อรองอาจเป็นสิ่งที่เขาต้องทำ

  2. ปกติการสังสรรกันผู้คนจะนำบทสรุปของตนเองมาลบล้างข้อสรุปของฝ่ายตรงข้าม กลายเป็นเรื่องว่าเชื่อไม่เชื่อ ดีหรือไม่ดี ถ้าผู้เข้าร่วมเริ่มกระทำสิ่งนี้ คุณควรเลือกว่าจะเอาเขาออกไปก่อนหรือกดดันให้การถกเถียงยุติลง

  3. สุดท้ายสิ่งที่เดวิดตัดสินว่าเป็นการเสวนาคือการที่ทุกคนเริ่มพบว่าแต่ละคนคิดอะไรอยู่ในใจ โดย ปราศจากการหาข้อสรุปหรือการตัดสินผิดถูกใดๆ

  4. การมีจุดร่วมแม้แต่มีความโกรธความเกลียดในสิ่งเดียวกันก็เป็นแรงยืดเหนี่ยวที่ดีได้ การเสวนาแลกเปลี่ยนจึงไม่ใช่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดีๆเสมอไปก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่คุยกันเปิดอกได้ สบายใจที่ได้พูดออกมา  คนกลุ่มใหญ่ที่อาจไม่มีจุดร่วมอันเดียวกันตามปกติ

วัตถุประสงค์ของการเสวนาไม่ใช่เพื่อการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพื่อชนะการโต้เถียง หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนความเห็น เหมือนการใช้ "ถนนหนทาง" ร่วมกันแต่สุดท้ายก็จะเห็นว่า "ทางที่ใช้" ไม่ได้มีความสำคัญอไร (โดยนัยเหมือนว่าต่างคนต่างเข้าใจความรู้ความคิดของคนอื่นๆ  เหมือนคนที่ไ้ด้เดินบนเส้นทางเดียวกันก็จะพูดกันเหมือนกันบ้างต่างกันบ้างในส่วนรายละเอียด  แต่ในเรื่องหลักๆจะบอกออกมาได้เหมือนกัน เช่น เส้นทางนี้รถติดมาก  ถนนไม่ดีเป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่มีต้นไม้เลยร้อนมากเวลาเดินทางนี้)

Case ที่น่าสนใจของ Eistien & Bohr / Bush & Gorbachev / Nazi

จากหน้า 13 ส่วนต่อไปก็เป็นการยกตัวอย่างของสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วเป็นส่วนมาก

ส่งท้ายโดยสรุป

ปัจจุบันการเสวนาได้รับการตอบรับกันอย่างกว้างขวางในสังคม จนเดี๋ยวนี้ วิธีที่จะทำการเสวนาก็คือการพูดถึงการแลกเปลี่ยนความเห็นนั่นเองว่าเราทำมันเพื่ออะไร อะไรคือความหมาย เป็นต้น เดวิดคิดว่ามันไม่ฉลาดนักที่จะเริ่มโดยไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้ จากนั้นทุกอย่างจะดำเนินไปเอง

เดวิดเห็นว่าการเสวนาเป็นทางออกของปัญหาและทางออกของสังคม อย่างน้อยก็หน่วงการล่มสลายของวิถีทางการเมือง ถึงแม้ว่าจะไม่มีรูปแบบที่เป็นคำตอบสำหรับปัญหาระดับโลกแต่การเสวนาก็เป็นวิธีที่ทำให้ปัญหาเบาลง จากการได้เปิดใจรับความคิดเห็นของคนอื่นมีมากขึ้นจากการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและบทสรุปที่มีต่างกัน

ถ้าเราสามารถสื่อสารกันได้จริงๆ การยอมรับ การมีส่วนร่วม มิตรภาพ ความรัก การเจริญเติบโตขึ้น ความก้าวหน้า ก็จะเป็นสิ่งที่คาดว่าจะพบได้

เป็นความหวังและความเป็นไปได้ที่การเสวนาจะเป็นการทำให้เกิดจุดร่วมอันมีพลังยิ่งใหญ่นำเราไปเหนือกว่าการเป็นกลุ่มที่เพียงแก้ปัญหาสังคมได้ เป็นไปได้ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในแต่ละบุคคลเปลี่ยนความสัมพันธ์ในระดับลึก เหมือนถ้ามีอนุภาค communiom อยู่ มันจะเป็นทั้งส่วนเติมเต็มของทั้งหมดเป็นสิ่งย่อยในสิ่งใหญ่ มันจะไม่ใช่เป็นแต่เพียงบางกลุ่มแต่คือทั้งหมด

 

 

คำสำคัญ (Tags): #dialogue
หมายเลขบันทึก: 214965เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะกำลังหาข้อมูลค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท