popyupa 1


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หมายถึง โปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาต่างๆ ได้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย ลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ 1. เสนอเนื้อหาได้รวดเร็ว ฉับไว 2. สามารถเสนอรูปภาพที่เคลื่อนไหวได้ ช่วยในการเรียนแนวคิดที่ซับซ้อน 3. มีเสียงประกอบได้ ทำให้น่าสนใจและเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนภาษา 4. เก็บข้อมูลเนื้อหาได้มากกว่าหนังสือหลายเท่า 5. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอย่างแท้จริง 6. สามารถบันทึกผลการเรียน ประเมินผลการเรียนและประเมินผลผู้เรียนได้ 7. สามารถเรียนในสถานที่ต่างๆ ที่มีคอมพิวเตอร์ได้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 8. เหมาะกับการเรียนการสอนผ่านการสื่อสาร 9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ไม่ใช่บทเรียนโปรแกรมที่นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอเนื้อหาออกจอภาพทีละหน้าจนครบบทเรียน รูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ 1. แบบบทเรียนโปรแกรม (Programmed-Instruction Based CAI) นำเอาหลักการและวิธีการของบทเรียนโปรแกรม มาพัฒนาเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 1.1 โปรแกรมแบบการฝึกและปฏิบัติ (Drill and Practice Program)คือมีการฝึกทักษะซ้ำๆ กันไป จนฝึกผ่านเกณฑ์ จึงเปลี่ยนไปฝึกทักษะขั้นสูงขึ้นต่อไป 1.2 โปรแกรมแบบการสอนบทเรียนใหม่ (Tutorial Program) เป็นเพียงโปรแกรมนำเข้าสู่ทักษะใหญ่ในรายวิชา มักใช้ทบทวนหรือสรุปบทเรียนเพียงบางเรื่องในบางรายวิชา 2. แบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial-Intelligent-Based CAI) สามารถแก้ปัญหาและแสดงกระบวนการในบางเรื่องได้ โดยเลียนแบบการคิดของมนุษย์ เช่น การบวก ลบ เป็นต้น 3. แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation-Oriented CAI) จำลองสถานการณ์ สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะอย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริง 4. แบบใช้เป็นเครื่องมือ (Tool Applications) เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการพิมพ์ การคำนวณ การค้นหาข้อมูล เป็นต้น ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบการสอนเนื้อหาใหม่ (Tutorials) ใช้เพื่อการนำเสนอเนื้อหาใหม่ มีกระบวนการคล้ายคลึงกับการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 2. บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบการฝึกและปฏิบัติ (Drill and Practice) ใช้เพื่อการฝึกทักษะและให้ผลป้อนกลับ (Feedback) ในสาระวิชาที่ผู้เรียนได้เรียนมาก่อนแล้วจากแหล่งอื่น หรือจากสื่อชนิดอื่น 3. บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบจำลองสถานการณ์ (Simulation หรือ Modeling) ใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่การเผชิญกับสถานการณ์จริง มีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างสูง แต่การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากรจริงอาจมีราคาสูง หรือมีอัตราความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบสถานการณ์จำลองแทน 4. บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบเกมการศึกษา (Education Games) ใช้เพื่อการนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลใหม่ด้วยรูปแบบเกม มักใช้เพื่อเน้นการนำแนวคิด (Concept) ที่ผู้เรียนได้เรียนมาแล้วจากสื่อหรือแหล่งการเรียนอื่น มาใช้ในการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ 5. บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้ทดสอบ (Test) ใช้ทดสอบความรู้ของผู้เรียน 6. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย (Web-based Instruction) เป็นการใช้โปรแกรมสื่อหลายมิติที่อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยที่ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า E-Learning
หมายเลขบันทึก: 214658เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก่งมากจ้ะ พี่ขอเป็นกำลังใจให้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท