Talent management 26 โครงการพี่เลียงและคำชมของนพ.ศุภมิตร


น้องเลี้ยงจาก                                              สำนักโรคอุบัติใหม่

2-10-51

เมื่อวานดิฉันเชิญส่วนที่เกี่ยวข้องมาสรุปผลการคัดเลือกโครงการtalent ของปี52โดยได้ข้อสรุปที่ตรงกันคือตัดโครงการดูงานหรือประชุมต่างประเทศออกทั้งหมด   หาผลผลิตที่ชัดเจนของแต่ละโครงการโดยดิฉันสรุปให้หมอแก้วพิจารณาร่วมกับผู้บริหาร

คุณหมอศุภมิตรมาเข้าประชุมช้าเพราะท่านอธิบดีเรียกผู้ทรงทุกคนเข้าประชุม

คุณหมอได้นำผลสรุปของโครงการพี่เลี้ยงที่นำเสนอกรมมาให้ทราบ

ดิฉันขอนำเสนอเพื่อเป็นบทเรียนเบื้องต้นและสามารถเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ

โครงการทดลอง:ระบบพี่เลี้ยง

โตแล้วเรียนลัด  ฝึกหัดพร้อมทำงาน

 

กรณีศึกษา:ภาวะโลกร้อน

 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรม:

§สนทนากลุ่มย่อย (5 ครั้ง)
§ทบทวนเอกสาร ศึกษาเพิ่มเติมตามผลการสนทนา
§สรุปความรู้ในรูป powerpoint เพื่อเสวนาครั้งต่อไป
§เสวนาวิชาการภายในสำนัก เพื่อแลกเปลี่ยนขยายความรู้ (1 ครั้ง)
  ผลผลิต
§นักวิชาการที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง Global warming และผลกระทบต่อโรคติดต่อ ดีขึ้นมาก พร้อมเป็นผู้ประสานงานวิทยากร และศึกษาพัฒนางานที่เกี่ยวข้องต่อไป (2 + 5)
§ชุดสื่อการสอน powerpoint ชุดกลาง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆ (สอน ประชุม) ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไป และเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กอง สำนัก สคร. สสจ. ฯลฯ
 
การพัฒนาวัคซีนไข้หวัดสำนักงานคณะกรรม
พี่เลี้ยง:
นพ. จรุง  เมืองชนะ
นพ. ศุภมิตร  ชุณห์สุทธิวัฒน์
น้อง เล้นท์:
พญ. อัธยา
พญ. รัศมี  ตันติฯ
กิจกรรม:
§สนทนากลุ่มย่อย (5 ครั้ง)
§ทบทวนเอกสาร ศึกษาเพิ่มเติมตามผลการสนทนา  รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
§เข้าร่วมประชุมประสานงาน หลายโอกาส
§สรุปความรู้ในรูป ppt เพื่อเสวนาครั้งต่อไป
§
ผลผลิต
§
 (2 + 6)
§ชุดสื่อการสอน powerpoint และเอกสาร ที่สามารถใช้เป็นฐานข้อมูล  และนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆ (สอน ประชุม) รวมทั้งเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กอง สำนัก สคร. สสจ. ฯลฯ)
นักวิชาการที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบการพัฒนาวัคซีน และระบบงานที่เกี่ยวข้อง มากขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถทำหน้าที่ผู้ประสานงาน  และวิทยากร ซึ่งมีศักยภาพที่จะศึกษาพัฒนางานต่อไป
เสวนาวิชาการภายในสำนัก เพื่อแลกเปลี่ยนขยายความรู้ (1 ครั้ง)
 
บทเรียนของพี่เลี้ยง
ระบบนี้น่าจะเวอร์ค  และพัฒนาต่อได้
น้องเล้นท์ (ยัง) พอใจ  และเต็มใจที่จะทำต่อ
พี่เลี้ยงได้พัฒนาตัวเอง ไม่น้อยกว่าน้อง เล้นท์
ไม่เป็นภาระมากนัก  สำหรับทั้งพี่เลี้ยง และน้องเล้นท์
สามารถสร้างบรรยากาศวิชาการภายในหน่วยงานได้อย่างมาก
ได้พบว่าแหล่งความรู้ที่ดี (ผู้เชี่ยวชาญ ภายในและภายนอก) มีอยู่หลากหลาย และเต็มใจร่วมมือ 
การบริหารจัดการ  อำนวยความสะดวก  มีความจำเป็นมาก และสำนักงาน TM เริ่มได้ดี  ขอขอบพระคุณ
ข้อจำกัด / อุปสรรค
qปัญหาท้าทายอยู่แค่ปลายจมูก  พี่เลี้ยงต้องจัดเวลาให้ได้ตามแผน
qยังขาดแผนที่ชัดเจน ว่าจะพัฒนาน้องเล้นท์

 

พี่เลี้ยงนพ.ศุภมิตร              พี่เลี้ยง นสพ. ดาริกา                    

  

พี่เลี้ยง นพ. จรุงพี่เลี้ยง นพ.คำนวณ  อึ้งชูศักดิ์   ผู้อำนวยการสำนักระบาด

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 213525เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาอ่านและลงชื่อไว้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท