มองด้วยใจ
นางสาว โชติรส จิตรบำรุง เอย จิตรบำรุง

ปฏิรูปการศึกษา​ ​พ่อแม่รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองแค่​ไหน


ปฏิรูปการศึกษา​ ​พ่อแม่รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองแค่​ไหน

ปฏิรูปการศึกษา​ ​พ่อแม่รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองแค่​ไหน​?


 โดย​ กองบรรณาธิการนิตยสารรักลูก

 

 

ผ่านพ้นมา​แล้ว​กว่า​ 4 ​ปี​กับ​การปฏิรูปการศึกษา​ ​แต่อะ​ไรๆ​ยัง​คงดู​ ​คลุมเครือ​อยู่​ใน​สายตาพ่อแม่​ ​ทั้งๆ​ที่​เป็น​เรื่อง​ใกล้​ตัว​และ​เกี่ยวพัน​กับ​ลูกรักของเรา​โดย​ตรง​ !!

 ปฏิรูปการศึกษา​ใช่​เป็น​เรื่องของนักการศึกษา​เท่า​นั้น​นะคะ​ ​แต่จริง​แล้ว​เกี่ยวข้อง​โดย​ตรง​กับ​ตัวพ่อแม่อย่างเราๆ​นี่​เอง​ ​เพราะ​เป็น​เรื่องเกี่ยว​กับ​ความ​รู้​ความ​เข้า​ใจ​ใน​หน้าที่ของพ่อแม่ต่อการศึกษาของลูก​ ​และ​เพื่อ​ให้​เข้า​ใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง​ให้​แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น​ ​ลองมาฟังคำ​อธิบาย​จาก​ ​ดร​.​สุจินดา​ ​ขจรรุ่งศิลป์​ ​หัวหน้าภาควิชาการศึกษาปฐมวัย​ ​คณะศึกษาศาตร์​ ​มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ​โรฒ​ ​ประสานมิตร​กัน​เลยดีกว่าค่ะ

แม้​จะ​มีการปฏิรูปการศึกษามา​ 4 ​ปีกว่าๆ​ ​แต่สำ​หรับพ่อแม่​ยัง​คงรู้สึกเหมือนไร้ทิศทาง​กับ​เรื่องดังกล่าว​ ​ใน​ฐานะที่อาจารย์คลุกคลี​กับ​วงการศึกษามาตลอด​ ​จึง​อยากขอคำ​แนะนำ​ค่ะว่าพ่อแม่ควร​จะ​ตั้งรับ​กับ​เรื่องนี้อย่างไร​ ​ที่สำ​คัญเหนือสิ่ง​อื่น​ใด​พ่อแม่​ต้อง​หมั่นขวนขวายหาข้อมูลเกี่ยว​กับ​การปฏิรูปการศึกษา​ ​เช่น​ ​ใน​หนังสือ​ ​ใน​เอกสารสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ​ ​และ​ใน​วารสาร​ ​และ​พยายามเรียนรู้​ไปเรื่อยๆ​อย่างต่อ​เนื่อง​ ​นอก​จาก​นั้น​พ่อแม่ควรถามตัวเองว่า​เป้าหมายชีวิตของเราคืออะ​ไร​ ​และ​เป้าหมายชีวิตของลูกคืออะ​ไร​ ​การศึกษาคืออะ​ไร​ ​ซึ่ง​ความ​จริงการศึกษาคือการนำ​ความ​รู้ที่สะสม​ทั้ง​หมดมาลงสู่ภาคปฏิบัติ​ ​ดัง​นั้น​พ่อแม่ควร​จะ​สอน​ให้​ลูกรู้จัก​ใช้​ชีวิต​เป็น​ ​อยู่​ใน​สังคม​ได้​ ​เช่น​ ​สอน​ให้​ลูกติดดิน​ ​สอน​ให้​ลูกยืนหยัด​ด้วย​ตัวเอง​ ​สอน​ให้​ลูก​เป็น​ผู้​ผลิตมากกว่า​ผู้​บริ​โภค​ ​ซึ่ง​การผลิตที่ว่าอาจหมาย​ถึง​แค่ว่าลูกรู้จักทำ​ความ​สะอาดบ้าน​ ​ถูบ้าน​ ​ปัดกวาดบ้าน​เป็น​ ​ผู้​ผลิตคือ​ผู้​ลงมือทำ​งาน​ ​นอก​จาก​นั้น​พ่อแม่ควรสอน​ให้​ลูกรู้จักรับผิดชอบชีวิตตัวเอง​ให้​ได้

 จะ​ว่า​ไป​แล้ว​การปฏิรูปการศึกษาทุกคน​สามารถ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​ตรงนี้​ ​เช่นทุกคนมีสิทธิ์ที่​จะ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน​ใน​โรงเรียน​ได้

ตามพ​.​ร​.​บ​.​การศึกษาอาจ​จะ​ให้​สิทธิ์​กับ​พ่อแม่​ใน​การพัฒนาหลักสูตร​ ​แต่​เอา​เข้า​จริงกลับพบว่าหลายๆ​โรงเรียน​ไม่​ได้​อนุญาต​ให้​พ่อแม่​เข้า​ไปมี​ส่วน​ร่วมอย่างจริงๆ​จังๆ​งานการส่งเสริม​และ​สนับสนุน​ให้​เด็กๆ​ของเรา​เติบโตอย่างมีคุณภาพ​ต้อง​เป็น​ความ​ร่วมมือของทุกฝ่ายตั้งแต่ครอบครัว​ ​โรงเรียน​ ​ชุมชน

การทำ​พ​.​ร​.​บ​.​การศึกษา​ให้​สิทธิ์พ่อแม่​ใน​การพัฒนาหลักสูตร​เป็น​หนทางหนึ่งของการจัดการเรียนที่ทุกคนมี​ส่วน​ร่วม​ทั้ง​ครอบครัว​ ​โรงเรียน​ ​และ​ชุมชน​จึง​ต้อง​พยายามจัดสิ่งแวดล้อม​ให้​เด็กเกิดการรับรู้​ใน​เชิงบวก​ใน​สถานการณ์​แวดล้อมที่​เด็กเติบโตมาที่ร่ายยาวมา​ทั้ง​หมด​ต้อง​การ​ให้​บ้าน​และ​โรงเรียนมีวิถีทางการทำ​งานร่วม​กัน​อย่างละมุนละม่อม​ ​กรณีที่บางโรงเรียน​ยัง​ไม่​ให้​โอกาส​กับ​ผู้​ปกครอง​ใน​การมี​ส่วน​ร่วมจัดหลักสูตร​และ​การเรียนการสอน​ใน​โรงเรียน

ผู้​ปกครองคง​ต้อง​ใช้​วิธีการที่​แยบยลที่​ไม่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​รู้สึกขัดแย้ง​หรือ​บรรยากาศของการ​เป็น​คนละฝ่าย​ ​เพราะ​ผลเสีย​จะ​กระทบมาที่ตัวเด็ก​หรือ​ลูกของเรา​ ​ขณะ​เดียว​กัน​โรงเรียน​ต้อง​มี​ความ​ชัดเจน​ใน​หลักการจัดการศึกษา​สามารถ​ชี้​แจง​ให้​รายละ​เอียดของจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน​ใน​โรงเรียน​ ​ทุกฝ่าย​ต้อง​เป็น​กัลยณมิตรต่อ​กัน​ ​เพื่อ​จะ​ได้​ร่วมใจร่วมคิดร่วมมือ​ใน​การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างมีคุณธรรม

ขอย้อนกลับมาที่การปฏิรูปการศึกษา​กัน​อีกครั้ง​ ​อยากทราบว่าตอนนี้มี​ความ​คลุมเครือ​อยู่​มาก​ ​โดย​ส่วน​ตัวอาจารย์คิดว่าพ่อแม่ควรขวนขวายหา​ความ​รู้​เรื่องอะ​ไรบ้างคะ​ ​จริงๆ​ ​แล้ว​เนื้อหา​ใน​พ​.​ร​.​บ​.​การศึกษา​จะ​ค่อนข้างชัด​ ​แต่การตี​ความ​และ​นำ​มา​ใช้​ยัง​เบี่ยงเบน​กัน​อยู่​ ​เช่น​ ​หลักสูตรสถานศึกษาที่​โรงเรียนบางแห่ง​ยัง​สอนแบบดั้งเดิม​ ​ยัง​ไม่​ได้​เปลี่ยนไปสู่ระบบการสอนแบบเด็ก​เป็น​ศูนย์กลางของการเรียนรู้

ตรงจุดนี้ถือ​เป็น​ตัวอย่างที่ชัดว่า​เรื่องเด็ก​เป็น​ศูนย์กลางของการเรียนรู้​ยัง​มีข้อถกเถียง​กัน​อยู่​ ​ซึ่ง​พ่อแม่​และ​ครู​ส่วน​ใหญ่​มักคิดว่า​เด็ก​เป็น​ศูนย์กลางคือเรา​ต้อง​ตามใจเด็กไปเสียหมดทุกอย่าง​ ​แต่​ใน​ความ​เป็น​จริงคือ​ ​การเรียนการสอนที่ครู​ต้อง​มีกรอบวิชา​แน่น​ ​และ​สอน​ให้​ตรง​กับ​พัฒนาการของ​ผู้​เรียน​ ​รู้​เท่า​ทัน​ผู้​เรียน

ท้ายสุด​ต้อง​เห็นประ​โยชน์ของ​ผู้​เรียน​เป็น​สำ​คัญ​ ​คือ​ต้อง​รู้ว่าควรกำ​หนดวิธีการเรียนรู้อย่างไรที่​เหมาะ​กับ​เด็กคน​นั้นๆ​ ​และ​เนื้อหาการเรียนรู้ที่​เหมาะ​กับ​เขา​ ​เพื่อประ​โยชน์​ใน​การพัฒนา​เด็กคน​นั้น​ใน​อนาคต​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​เราจำ​เป็น​ต้อง​ดู​ไปหมด​ทั้ง​ร่างกาย​ ​จิตใจ​ ​อารมณ์​ ​และ​สังคม

ความ​คลุมเครืออีกเรื่องคง​จะ​เป็น​เรื่องการเขียนหลักสูตร​ ​ซึ่ง​ตอนนี้ครู​เราก็มีปัญหาว่า​เขียน​ไม่​ค่อย​จะ​เป็น​กัน​เท่า​ไหร่​ ​เพราะ​ชิน​กับ​การที่มีคนเขียนตำ​รามา​ให้​เสร็จ​ ​ครู​ ​เพียงหยิบเอาคู่มือ​ ​ครูมา​แล้ว​ไปสอนจนจบเทอม​ ​โดย​บางครั้งครู​เอง​ยัง​ไม่​ได้​มานั่ง​ ​คิดวิ​เคราะห์​เลยว่า​เด็ก​ได้​อะ​ไร​ ​หรือ​ควรเชื่อมโยง​ความ​รู้​ให้​เด็ก​ได้​อย่างไร

ใน​ส่วน​ของพ่อแม่​เองก็​ไม่​รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองว่า​สามารถ​เข้า​ไปร่วมคิดหลักสูตรการเรียนการสอน​ให้​ลูกตัวเอง​ได้​ ​เช่น​ ​ทางโรงเรียน​จะ​เป็น​ผู้​เขียนหลักสูตรขึ้นมาก่อน​ ​แล้ว​มา​ให้​พ่อแม่​ช่วย​ฟัง​และ​วิจารณ์

การปฏิรูปการศึกษาน่า​จะ​รวม​ถึง​การเรียนฟรี​ 12 ​ปี​ ​แต่​เอา​เข้า​จริงพ่อแม่กลับ​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่าย​ใน​ภาคอนุบาล​อยู่​ค่อนข้างมาก​ ​ดัง​นั้น​มีทาง​เป็น​ไป​ได้​ไหมคะว่าพ่อแม่​ไม่​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่าย​ใดๆ​ ​หรือ​ถ้า​จะ​เสียควร​จะ​เสีย​ให้​น้อยที่สุดล่าสุด​ได้​ข่าวมาว่ารัฐบาล​จะ​ขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน​เป็น​ 12 ​ปี​ ​ซึ่ง​ตรงจุด​นั้น​ผู้​ปกครองมีทางเลือก​ใน​การรับการอุดหนุน​จาก​รัฐว่า​ต้อง​การเงิน​ช่วย​เหลือตั้งแต่ปฐมวัย​ - ​ม​.4 ​หรือ​ ​ป​.1-​ม​.6 ​พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่าพ่อแม่​สามารถ​ได้​รับเงินอุดหนุน​จาก​รัฐ​เป็น​เงินบาง​ส่วน​ ​เช่นสมมติว่าพ่อแม่อาจ​จะ​ต้อง​จ่ายค่า​เล่า​เรียนลูก​เป็น​เงินค่า​เทอมปีละ​ 50,000 ​บาท​ ​แต่​เมื่อรัฐบาลประกาศเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานออกมา​ ​พ่อแม่​สามารถ​ได้​เงินอุดหนุน​จาก​รัฐ​ได้​ใน​บาง​ส่วน​จาก​ค่า​เทอมจริงที่​ต้อง​เสียไป​ ​ที่​เหลือพ่อแม่จำ​เป็น​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่ายเอง​ ​เพราะ​เงินอุดหนุนที่ว่า​ไม่​ได้​ครอบคลุม​ทั้ง​หมด​ ​ถ้า​พ่อแม่คนไหนอยากรู้รายละ​เอียดเงื่อนไขการ​ได้​เงินอุดหนุน​จาก​ตรงนี้​สามารถ​ขอข้อมูล​จาก​โรงเรียน​นั้นๆ​เอง​ ​หรือ​จาก​สำ​นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน​ ​สังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็​ได้

อนึ่ง​ ​เงินอุดหนุนดังกล่าวที่พ่อแม่​จะ​ได้​รับ​จาก​รัฐ​นั้น​จะ​ครอบคลุม​ ​แค่​เรื่องการศึกษาที่จำ​เป็น​จริงๆ​โดย​ไม่​ครอบคลุมเรื่องค่า​เรียน​ ​พิ​เศษ​อื่นๆ​ ​ดัง​นั้น​ตรงนี้​โรงเรียนมีสิทธิ์ขอเพิ่ม​ได้​ค่ะ

เหตุที่การปฏิรูปการศึกษา​ยัง​ดูคลุมเครือจนล่าช้า​นั้น​ ​เป็น​เพราะ​โรงเรียนแต่ละ​แห่ง​ยัง​ไม่​ค่อย​เข้า​ใจ​ใน​สิ่งที่​ต้อง​ทำ​หรือ​เปล่าคะ​ ​การปฏิรูปการศึกษาคือการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนการสอน​ใน​ห้องเรียน​ ​ดัง​นั้น​ครู​และ​ผู้​บริหาร​ใน​โรงเรียนคง​ต้อง​ใช้​เวลาอีกระยะหนึ่ง​ใน​การเรียนรู้​ ​และ​ลงมือปฏิบัติ​ ​ไตร่ตรอง​ ​และ​ตรวจสอบว่าทิศทางที่​โรงเรียนกำ​ลังปฏิบัติ​นั้น​ ​ใช่​ที่​จะ​เป็น​หนทางของการนำ​ไปสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ถูก​ต้อง​หรือ​ไม่​ ​นอก​จาก​นั้น​โรงเรียน​ต้อง​ศึกษา​แลกเปลี่ยนเรียนรู้​กับ​หน่วยงานต่างๆ​ ​และ​โรงเรียน​อื่นๆ​ ​ที่คิดว่า​จะ​เป็น​ผู้​นำ​ของการปฏิรูปการศึกษา​ได้

ที่สำ​คัญโรงเรียน​ต้อง​พัฒนาตัวเองเพื่อ​เป็น​ชุมชนแห่งการเรียนรู้​ ​เพื่อ​จะ​วิจัย​ค้น​หาคำ​ตอบของแนวทาง​ใน​การปฏิบัติ​ ​ที่​จะ​นำ​ไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้​ใน​โรงเรียนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน

เริ่ม​จาก​วันนี้​ ​อยากเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ปรับ​ความ​คิด​และ​หา​แนวทางสนับสนุนการเรียนรู้ของลูก​กัน​เสีย​ใหม่​ ​โดย​ยึดเป้าหมายที่​จะ​ทำ​ให้​..​ลูกเราคิด​เป็น​ ​ทำ​เป็น​ ​และ​พึ่งตัวเอง​ได้​ใน​ท้ายสุด​เป็น​สำ​คัญค่ะ

ข้อมูล​จาก : ​นิตยสาร​ ​รักลูก​ ​ฉบับ​ที่​ 252 ​เดือนมกราคม​ ​พ​.​ศ​. 2547

คำสำคัญ (Tags): #เด็กพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 212471เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท