มองด้วยใจ
นางสาว โชติรส จิตรบำรุง เอย จิตรบำรุง

คำถามที่สำคัญสำหรับเรา คือ เด็กควรได้รับการเรียนรู้อย่างไร


คำถามที่สำคัญสำหรับเรา คือ เด็กควรได้รับการเรียนรู้อย่างไร

คำถามที่สำคัญสำหรับเรา คือ เด็กควรได้รับการเรียนรู้อย่างไร

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์ เอาไว้ 4 ประการ คือ-

1.Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้ และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหา หรือผลิตสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ

2.Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็นหรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพ และสร้างประโยชน์แก่สังคม

3.Learn to with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างสรรค์ และ

4.Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4 ของเป้าหมายการเรียนรู้ตามนิยามข้างต้น เป็นเป้าหมายที่เชื่อมโยงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม คือการเรียนรู้แบบที่ 3 และ 4 เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับคนอื่น และในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ชีวิตการเรียนรู้เพื่อมีจริยธรรม มนุษย์จึงมีพันธะหลักๆ 2 อย่าง คือ พันธะในการพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมและพันธะในการพัฒนาตนเองให้เข้าถึง
สัจธรรมสูงสุดหรือความจริง ความดี ความงาม เพื่อความมีอิสรภาพ ความรัก และความสุขที่แท้จริง
ชีวิตที่งดงามควรถูกฟูมฟักตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์ ดังเช่นพระนางสิริมหามายาพระมารดาของพระพุทธเจ้า เมื่อทราบว่าพระองค์ทรงพระครรภ์ก็เริ่มถือศีลมิให้ด่างพร้อย เจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้เบิกบาน ผ่องใสเป็นนิจเอาใจใส่เฝ้าดูการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ด้วยลมหายใจแห่งความรักและเปี่ยมปีติสุข

ขณะที่แม่ (พ่อ) ยุคใหม่ อาจเปิดดนตรีคลาสสิคให้ลูกฟังสัมผัสครรภ์และสนทนากับลูก
ด้วยความรู้สึกที่อ่อนโยน ฯลฯเพื่อสร้างพื้นฐานจิตใจที่อ่อนโยนเป็นสุขตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิต
อันเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมในวัยต่างๆ ต่อไป

หัวใจสำคัญของการเรียนรู้เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ (ในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และ ฯลฯ) ให้เด็กได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสามารถในการใช้เหตุผลแยกแยะถูก-ผิดได้ด้วยตนเองตระหนักว่า
ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ เคารพในเสรีภาพความแตกต่าง
ทางความคิดความเชื่อ ภาษา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือทำสิ่งดีงาม
ถูกต้องต่างๆ เพื่อให้สังคมก้าวหน้า เป็นธรรมและสันติสุขส่วนการพัฒนาลักษณะนิสัย
ทางจริยธรรมที่นำไปสู่ความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องมุ่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตองค์รวมคือพัฒนากาย วาจา จิต และปัญญา ตามหลัก ไตรสิกขา ดังคำอธิบายของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ซึ่งผู้เขียนถอดใจความสำคัญได้ดังนี้ -

1.สีลลิกขา พัฒนาศีล หรือพัฒนาการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนทำร้ายชีวิตอื่นๆ มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกันและกัน

เด็กๆ ควรได้รับการเรียนรู้เพื่อที่จะมองเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และสรรพสิ่งในธรรมชาติในฐานะเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ที่ควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่เบียดเบียน แต่มีความรักความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

2.จิตสิกขา (สมาธิ) พัฒนาจิตให้มีสติสัมปชัญญะ สงบ เข้มแข็ง หนักแน่น ผ่องใส เบิกบาน มีความรัก (เมตตา) ความอ่อนโยนใฝ่ใจช่วยเหลือ (กรุณา) และมีคุณธรรมอื่นๆ

เด็กๆ ควรได้รับการเรียนรู้ให้มีลักษณะนิสัยที่รู้จักใช้สติยับยั้งชั่งใจ คิดก่อนพูด ก่อนทำ อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ เข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง รักตนเองอย่างลึกซึ้ง รักเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติทั้งหมด ผ่านกิจกรรมหลากหลายที่เสริมสร้างสมาธิ ความสงบ การมีสติในปัจจุบันขณะ

3.ปัญญาสิกขา พัฒนาปัญญาญาณให้เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เพื่อข้ามพ้นความหลงติดยึดมั่นในมายาภาพทั้งปวง มีชีวิตที่กลมกลืนกับสัจธรรม เป็นอิสระ เบาสบายเปี่ยมสุข และดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าด้วยการใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างนำทาง มีการกระทำความประพฤติและจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ เกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วยพลังแห่งเมตตากรุณา หรือความรักความปรารถนาดีบริสุทธิ์

เด็กๆ ควรได้รับการเรียนรู้การฝึกใช้ปัญญาไตร่ตรองเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตตนเอง ความเป็นไปของโลกรอบๆ ตัว ให้รู้จักแยกแยะอะไรจริง อะไรลวง อะไรสัจจะ อะไรมายา เพื่อให้เขาค่อยๆ พัฒนาระดับสติปัญญาในการทำความเข้าใจความเป็นจริงของโลกและชีวิตอย่างละเอียดลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ได้ด้วยตนเอง

ไม่ควรดูเขาว่าเด็กอ่อนเยาว์สติปัญญาทางจริยธรรม เพราะนางวิสาขามหาอุบาสิกาบรรลุโสดาบันเมื่ออายุเพียง 7 ขวบ

เราไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ของเด็กไทยวิกฤตไปมากกว่านี้ สถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา สื่อ ฯลฯ ต้องเร่งดึงเด็กของเราออกมาจาก หล่มเหว แห่งความรุนแรง ความฟุ้งเฟ้อ เห็นแก่ตัว บริโภคนิยม ความว้าเหว่ ความอ่อนแอทางจิตใจ การยั่วยุของสื่อประเภทมอมเมา ฯลฯ

ด้วยการร่วมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรมดังกล่าวมาเพื่อให้เด็กและเยาวชน
เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมและ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่มีอิสรภาพ ความรัก และความสุขที่แท้จริง

 

http://larndham.net/index.php?showtopic=28524

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 212407เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท