เรื่องเล่าของพี่เม่ย : เคล็ดลับสู่ ISO ของแล็บฮีมาโต


ทำแบบนี้ TM หรือ QM ก็จะไม่เหนื่อย ไม่ต้องทำเองทุกอย่าง แต่ขอความร่วมมือ คือขอผลงานค่ะ

ในการพูดคุยเพื่อทบทวนการดำเนินงาน ISO15189  เมื่อวันที่ 22 มีค  ช่วงหนึ่งของการพูดคุย มีการเล่าสู่กันฟังถึง “วิธีการนำ” ของ TM (technical manager) หรือ QM (quality manager) จากห้องแล็บที่ขอตรวจประเมิน

พี่เม่ย คนเก่งของเรา เผยเคล็ดลับที่น่าประทับใจ ว่า
"ก่อนส่ง test ก็ประเมินศักยภาพของหน่วยงานก่อน  และเมื่อตัดสินใจเลือก test เพื่อส่งการประเมินแล้ว  ก็จะเกาะติดอยู่กับ test นี้เท่านั้น   ห้องแล็บฮีมาโตเลือกส่ง CBC อย่างเดียว และส่งเฉพาะที่ทำด้วย automate เท่านั้น แล้วก็ดูว่าอะไรที่จะต้องทำบ้างกับ test หรือเครื่อง automate  ส่วนอื่นก็ยังไม่ไปยุ่ง  แล้วก็แยกดูเป็นกระบวนการ pre-analytic, analytic, post-analytic

ในนส่วน preanalytic  ต้องให้เด็กๆ (หลายคนก็ไม่เด็กเท่าไรแล้วค่ะ) ช่วย แต่เวลาให้เขาช่วย ก็ไม่ได้บอกว่าจะทำ ISO นะ   เราต้องการอะไร ก็บอกเขา โดยให้โจทย์ไปทำ เช่น ถามว่า เราจะปฏิเสธสิ่งส่งตรวจอย่างไร จะทำอย่างไร ให้เขารู้ว่า specimen แบบนี้ เราไม่รับนะ  เขาก็ไปคิดกันในกลุ่ม แล้วก็เขียนมาส่งเรา หรือถามว่า สารกันเลือกแข็งจะเลือกใช้โซเดียม หรือ โปแตสเซียมดี   ใช้แทนกันได้ไหม   เขาก็ใช้ process ของ Otop ไปทำการทดลองและเก็บข้อมูล เราก็ได้ข้อมูลมา ได้คำตอบ

ทำแบบนี้ TM หรือ QM ก็จะไม่เหนื่อย ไม่ต้องทำเองทุกอย่าง  แต่ขอ ความร่วมมือ คือขอ ผลงานค่ะ

วิธีของพี่เม่ย นอกจากได้ความก้าวหน้าของ ISO โดยไม่เหนื่อยแล้ว ยังให้ผลประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย คือทำให้เด็กๆ แต่ละคนจะรู้จักคิด  แก้ปัญหาเองได้ และทำเป็นผลงานออกมาได้

เห็นไหมค่ะ แยบยลขนาดไหน  ความสำเร็จของห้องฮีมาโต เห็นอยู่รำไรแล้วหล่ะค่ะ  และความสำเร็จที่จะมาถึงนั้น ก็เพราะเทคนิคเหล่านี้ค่ะ

  • ประเมินศักยภาพตนเอง ก่อนส่ง test
  • Focus ใน test ที่ขอรับการประเมินเท่านั้น
  • ขอ ความร่วมมือ = ขอ ผลงาน
  • มอบหมายงาน โดยการให้โจทย์ไปคิดหาคำตอบ

หมายเหตุ เทคนิคของ TM จากหน่วยอื่นที่เล่าสู่ในวันนั้น แต่ละคน ก็มี style ของตนเอง  น่าสนใจมากเช่นกันค่ะ  หากมีเวลา จะเล่าในบันทึกหน้า (หรือ TM จะเขียนเล่าเอง ก็น่าจะดีไม่น้อย)

หมายเลขบันทึก: 21236เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่ห้องเคมี มีเทคนิคแบ่งงานกันอย่างชัดเจนค่ะ โดยแบ่งกันเป็น 3กลุ่ม โดยมีพี่ปนัดดาเป็นพี่ใหญ่และพี่โอ๋(อโณ) โดยแบ่งเป็นฝ่ายทะเบียนเอกสาร (มีผู้เขียนและคุณพิพัฒน์ชัย) ฝ่ายอาชีวอนามัย (พัฒนพงศ์ อภิชาติ ผอบ และคนอื่น ๆ   ฝ่ายQC คุณนุชรัตน์ และคุณวรรณี โดยแบ่งตามความถนัดค่ะ

งานที่หน่วยค่อนข้างครอบคลุมอยู่แล้ว (จาก SOP ก็นำมาปรับปรุงให้ทันยุค อย่างสมัยก่อนเรายังไม่ได้ใช้ Barcode ก็นำมาปัดฝุ่น เพิ่มเติม ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ทั้งหมด มีอะไรขาด ๆ เกิน ๆมา พี่ดา + พี่โอ๋ ก็จะให้โจทย์มาแต่ละฝ่าย โดยแบ่งตามความชำนาญค่ะ อย่างผู้เขียนและคุณพิพัฒน์ชัยถนัดงานพิมพ์ค่ะ ก็อยู่ฝ่ายเอกสาร คุณวรรณี+ คุณนุชรัตน์ ก็ดูเรื่อง QC โดยปรกติอยู่แล้ว ที่เหลือคุณพัฒนพงศ์ก็เป็นกรรมการอาชีวอนามัย ดูแลเรื่องความปลอดภัย โดยมีคนอื่น ๆ เป็นผู้ช่วยค่ะ

ดีจังค่ะ ที่คุณศิริเล่าวิธีของหน่วยเคมีให้ได้รับรู้กัน หลากหลาย style แต่มีเป้าหมายเดียวกัน เป็นสีสันของการทำงานที่งดงาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท