ดอกรัก
นาง อมรรัตน์ เปิ้ล เถื่อนทอง

การผ่าตัด


ริดสีดวงทวารหนัก

การผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก  โดยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ :  ริดสีดวงทวารหนัก เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดโรคนึ่ง  ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของประชากร  ที่อายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป จะเริ่มมีอาการ ของโรคนี้ และจะเก็บอาการของโรคนี้ไว้เป็น ความลับส่วนตัว  เป็นเวลานาน  กว่าจะไปหาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษา ซึ่งในปัจจุบัน มีวิธีรักษาที่ถูกต้องมากมายหลายวิธี ที่สามารถขจัด ปัญหา เรื่องริดสีดวงทวารหนักออกไปได้  โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือ ความทุกข์ทรมานใดๆ ต่อไปอีก

   รศ. นพ. ปริญยา ทวีชัยการ หน่วยศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า  ได้ให้ความรู้เรื่องสาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวารหนัก ว่า โดยทฤษฏีใหม่ล่าสุดของการเกิด ริดสีดวงทวารหนักนั้นเชื่อว่า  การเบ่งอุจจาระมากๆ และ ภาวะท้องผูกนั้น ความดันจากการเบ่งที่สูงขึ้นและอุจจาระก้อนใหญ่จะถูกดันให้เบาะรอง ( Cushion ) เลื่อนลงมาเรื่อยๆ จนยื่นออกมา นอกทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายใน ( Internal hemorrhoid )  ซึ่งเบาะรอง ก้อนใหญ่จะถูกดันเลื่อนลงมา ก่อนก้อนเล็ก ทำให้ตำแหน่งที่เกิดริดสีดวง ทวารหนัก ชนิดภายใน พบบ่อยๆ ในตำแหน่งของเบาะรอง ก้อนใหญ่นี้เอง

   ทฤษฏีการเลื่อนลงมาของเบาะรอง นี้ถูกค้นพบโดยศัลยแพทย์อเมริกัน ชื่อ ทอมสัน ( Thomson ) ได้รับความเชื่อถือสูงสุดในขณะนี้ และได้ทำลายความเชื่อถือเก่าๆที่ว่า ริดสีดวงทวารหนัก เกิดจากการโป่งพอง  ของเส้นเลือดในทวารหนัก  เนื่องจากการ อุดตัน  และทฤษฏีนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของแนวความคิดในการรักษาริดสีดวงทวารหนักโดยสิ้นเชิง  มีข้อน่าคิดประการ หนึ่ง คือ เป็นที่ทราบว่า  ริดสีดวงทวารหนัก  เกิดจากเบาะรอง ที่เลื่อนลงมาจากตำแหน่งเดิม ดังนั้นการรักษาก็ควรเป็นการดัน เบาะรอง กลับไปสู่ที่เดิม การผ่าตัดเอาริดสีดวงทวารหนักออกทั้งหมด ก็เป็นการตัดเอาเบาะรองออกไปทั้งหมดนั่นเอง  ซึ่งเบาะรองนี้ก็มีหน้าที่สำคัญโดยเฉพาะการกลั้นอุจจาระ มีผู้ทดสอบโดยเอาผู้ป่วยที่ถูกผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักออกไป  3 หัว มาสวนทวารหนัก ด้วยน้ำเกลือ แล้วให้ลองกลั้นดู  ปรากฏว่ามีน้ำเกลือบางส่วนเล็ดรอดไหลออกมา เป็นเครื่องยืนยันว่า ถ้าคนเราสูญเสียเบาะรอง ไป อาจเกิดปัญหาในการกลั้นอุจจาระส่วนที่เป็นของเหลวได้

   ดังนั้นแนวความคิดในการผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก ก็ควรหลีกเลี่ยงการตัดเบาะรอง ทิ้ง แต่เปลี่ยนเป็นการดันเบาะรองกลับสู่ที่เดิม และ พยายามเย็บแขวนเอาไว้ป้องกันไม่ให้เลื่อนต่ำลงมาอีก ส่วนของเบาะรองที่จะตัดทิ้งก็คือ   ส่วนที่ยังคงยื่นยาวออกมา  หลังจากดันเบาะรองกลับไปที่เดิมแล้ว

   ในปี ด.ศ. 2546 นายแพทย์ Longo แห่งประเทศอิตาลี ได้ดัดแปลงเครื่องมือตัดต่อลำไส้อัตโนมัติมาใช้ในการผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก โดยเครื่องมือจะประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 3 ส่วน คือ

เครื่องมือสอดและถ่างทวารหนัก ( Circular anal dilator )  จะมีขนาดใหญ่ เมื่อใส่เข้าไปแล้วจะดันเอาริดสีดวงทวารหนัก หรือ เบาะรองที่เลื่อนลงมากลับไปสู่ตำแหน่งเดิม ขนาดที่กว้าง ทำให้สามารถทำการผ่าตัดได้ง่าย

เครื่องมือช่วยเย็บ  ( Purse - string suture anoscope ) จะช่วยในการเย็บรอบๆรูทวารหนักบริเวณขั้วของริดสีดวง ซึ่งตำแหน่งที่เย็บอยู่สูงกว่าเส้นเด็นเตท เป็นขั้นตอนในการตัด เอาหัวริดสีดวง ส่วนเกินออกไป

เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง ( Hemor rhoidal Circular Stapler  )  สอดเครื่องมือเข้าไปผูกไหมที่เย็บขั้วของริดสีดวง  โดยรอบเข้ากับแกนของเครื่องมือ แล้วหมุนจนเครื่องมือปิดสนิท จากนั้นก็บีบ บริเวณก้านหรือไกของเครื่องมือ จะเป็นการตัดเนื้อเยื่อ ริดสีดวงส่วนเกิน  รวมทั้งเย็บปิดแผลที่ตัดเรียบร้อยโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้มือเย็บ ตำแหน่งที่เย็บนี้จะอยู่บริเวณขั้วของ ริดสีดวงทวารหนัก พอดี จึงช่วยยึดตรึงเบาะรองไม่ให้เลื่อนลงไปอีก

   เนื่องจากการตัดและเย็บนี้  กระทำตามแนวเส้นรอบวงโดยตลอด ผ Circular ) จึงสามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัวและไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง อีกทั้งแนวการเย็บที่อยู่สูงกว่า เส้นเดนเตท จะทำให้เกิดความเจ็บปวดน้อยลง  มีรายงานผู้ป่วยผ่าตัด ด้วยวิธีนี้หลายร้อยคน  จากยุโรปและสิงคโปร์ พบว่าใช้เวลาผ่าตัดสั้นกว่า  ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีอื่นๆ   ผู้ป่วยกลับไป ทำงานได้เร็วกว่า และ ไม่พบปัญหาเรื่องทวารหนักตีบตัน จากประสบการณ์ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่า มีปัญหาเรื่องเลือดออกหลังผ่าตัด  2 ราย ในผู้ป่วย 10 รายแรกเท่านั้น แต่ทั้งสอง รายก็ไม่ต้องทำการผ่าตัดใหม่  โดยเลือดออกไม่มาก และ หยุดไปได้เองหลังจากผู้ป่วย 10 รายแรกไปแล้ว  ก็ไม่พบปัญหาใดๆจากการติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดนาน เดือน ก็ไม่พบอาการของ ทวารหนักตีบตันแต่ประการใด   การผ่าตัดวิธีนี้มีข้อดีหลายประการ  มีข้อจำกัดและปัญหาอยู่บ้าง  ซึ่งผู้สนใจควรจะต้องศึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของบทความนี้คือ รศ. นพ. ปริญญา ทวีชัยการ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ ณ โรงพยาบาล พระมงกุฏเกล้า หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-2271-1262

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 212200เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รู้ไว้ก็ดีนะคะ  คนเราจะได้รู้จักการรักษาสุขภาพ  ไม่ใช่รอแต่จะไปหาหมอ นะคะ

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท