ดอกรัก
นาง อมรรัตน์ เปิ้ล เถื่อนทอง

จับมลพิษมาเพิ่มคุณค่า


มูลช้างมาเป็นกระดาษ

จับมลพิษมาเพิ่มคุณค่า จากมูลช้างมาเป็นกระดาษ  :  " ขี้ช้าง "  ที่เคยเป็นมลพิษของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ และ นำไปทำเป็นก๊าซชีวภาพแล้ว คราวนี้ขอเล่าถึงการนำ ขี้ช้าง ไปทำเป็น " กระดาษ "  กันบ้าง   กระดาษที่ทำขึ้นจาก มูลช้าง  มีกรรมวิธีในการทำเหมือนกับการทำ " กระดาษสา " เพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษสามาเป็นมูลช้างก็เท่านั้นแหละ เนื้อกระดาษ ที่ได้จาก มูลช้างนี้มีลักษณะหยาบกว่ากระดาษสา  อันเนื่องมาจากอาหารที่ช้างกินเข้าไปนั้น เป็นพวก พืช ผัก ผลไม้ ในปริมาณมากกว่า 200 กิโลกรัม หรือประมาณ 6 - 12 % ของน้ำหนัก ต่อเชือก ต่อวัน และแต่ละเชือกก็จะขับถ่ายออกมาประมาณ 60 % ของอาหารที่กินเข้าไป และช้างเองก็มีระบบย่อยอาหารไม่เหมือนกับสัตว์อื่นๆ  ลักษณะของที่ขับถ่าย อกมาค่อนข้างหยาบ เมื่อนำมาทำเป็น กระดาษ เนื้อกระดาษจึงหยาบไปด้วย

   สำหรับกรรมวิธีและกระบวนการผลิต นายนิปกรณ์  สิงหพุทธางกูร หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ( สถาบันคชบาลแห่งชาติ ) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  บอกว่า เริ่มจากการนำมูลช้างสดมาล้างน้ำ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค โดยผ่านกระบวนการต้มด้วยน้ำและโซดาไฟ ฟอกสีด้วย  ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และคลอรีน  ต่อมานำมาบดให้ละเอียด ในขั้นตอนนี้อยากได้กระดาษสีอะไร  ก็เติมสีได้ตามต้องการ  หลังจากนั้นนำสิ่งที่บดได้มาปั่นเป็นก้อนเพื่อชั่งน้ำหนักให้ได้ก้อนละ  ประมาณ 300 - 400 กรัม ตามที่ต้องการให้กระดาษหนามาก หนาน้อย  บางมากบางน้อยเพียงใด  ต่อมานำมา " แตะบนเฟรม " ( Sift evently over the frame )  ก่อนนำไปตากแดดจนแห้งสนิท แล้วนำมาลอกออกจากเฟรม  ก็จะได้กระดาษมูลช้าง 1 แผ่น  หลังจากนั้นนำมารีดให้เนื้อกระดาษเรียบ แล้วนำไปใช้ตามต้องการ

   กระดาษมูลช้างที่ได้สามารถนำไปทำเป็นกระดาษห่อของขวัญ การ์ด กล่องต่างๆ  หรือทำอื่นๆได้ตามความคิดที่จะสร้างสรรค์มันขึ้นมาให้สวยงาม รับรองไม่มีกลิ่น  เพราะผ่านขั้นตอน มาหลาย ขั้นตอน  และตอนนี้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้วันละ 300 แผ่นขึ้นไป  เพราะมีออเดอร์เข้ามามากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้สนใจสอบถามได้ที่ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 25 ถนนท่ามะโอ อง เมือง จ. ลำปาง 52000  โทร 0-5422-8108 e-mail : [email protected]

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 212184เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หืมน์ ดีนะครับเนี่ย ไอเดียนี้หนะ

ว่าแต่ ใช้ขี้ช้างก็อย่าให้ลำบากช้างละครับ

สำคัญอย่าให้ลำบากคนด้วย เดี๋ยวจะเข้าสำนวน เห็นช้างขี้ขี้ตามช้างครับ

(เกี่ยวกันไหมเนี่ย แต่ก็ดีใจ่ได้อ่านครับ สู้ ๆ ปละครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท