กระยวนการจัดการศึกษา


เพื่อครอบครัวที่อบอุ่น

กระบวนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาครอบครัวอบอุ่นและความเข้มแข็งของครอบครัว 

              กระบวนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาครอบครัวอบอุ่นและความเข้มแข็งของครอบครัว   เป็นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบของการฝึกอบรม   โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ และการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจ
และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ซึ่งหากสมาชิกภายในครอบครัวมีความเข้าใจและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันแล้วปัญหาของครอบครัว ปัญหาของเยาวชน ย่อจะลดน้อยลง  เมื่อสภาพครอบครัวมีความเข้มแข็งและมีความอบอุ่นแล้ว สภาพชุมชนและสังคมย่อมมีความเข้มแข็งตามไปด้วยตามลำดับ

กระบวนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาครอบครัวอบอุ่นและความเข้มแข็งของครอบครัว    มีขั้นตอนการดำเนินงานหลักๆดังนี้

ขั้นตอนที่ 1   กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อการละลายพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะ

ขั้นตอนที่ 2   กิจกรรมมุมมองที่แตกต่าง  เพื่อสะท้อนมุมมองของผู้ใหญ่และเยาวชน และเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ใหญ่และเยาวชนจากมุมมองที่แตกต่าง

ขั้นตอนที่ สร้างชิ้นงานที่รัก  เพื่อสร้างสรรค์ของที่ระลึกสำหรับบุคคลที่เป็นที่รัก (กำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนทำเทียนเจล  คนละ 1 ชิ้น)

ขั้นตอนที่ ผสานมุมมอง    เพื่อให้สมาชิกของครอบครัวได้มีการระดมสมอง สะท้อนภาพของครอบครัวตามสภาพจริงที่เกิดขึ้น และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติของผู้ใหญ่และเยาวชน และเพื่อเป็นการหลอมรวมความคิดเกี่ยวกับมิติสภาพครอบครัว  โดย กำหนดประเด็นในการระดมสมองทั้งในมิติของผู้ใหญ่และเยาวชน รวม 3 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 ลักษณะครอบครัวที่มีความสุขเป็นอย่างไร  สมาชิกในครอบครัวต้องทำอย่างไร

ประเด็นที่ลักษณะครอบครัวที่ไม่มีความสุขเป็นอย่างไร  สมาชิกครอบครัวทำอย่างไร

 ประเด็นที่ 3 ลักษณะครอบครัวที่ต้องการเป็นอย่างไร  สมาชิกในครอบครัวต้องทำ

ขั้นตอนที่ 5 รักเธอนิรันดร์  เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความรักที่พ่อ/แม่มีให้ลูก และเพื่อการแสดงความรักต่อกันของสมาชิกภายในครอบครัว

ขั้นตอนที่ 6 Walk Rally  เพื่อสะท้อนข้อมูลตนเองต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิตในครอบครัว และเพื่อหลอมรวมความรู้ ประสบการณ์ของสมาชิกภายในครอบครัว  โดยแบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็น 6 ฐาน ได้แก่

  ฐานที่รู้จักตัวตน : เป็นกิจกรรมเพื่อการทบทวนสภาพครอบครัวและการปฏิบัติตน
                  ฐานที่ 2 เรียงคำ : เป็นกิจกรรมร่วมเพื่อฝึกการจัดระบบข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริงของชีวิต

ฐานที่ 3 วิเคราะห์ตนเอง : เป็นกิจกรรมทบทวนสภาพปัญหาของครอบครัว


               ฐานที่ 4 อุดรูรั่ว : เป็นกิจกรรมร่วมเพื่อระดมสมองในการแก้ปัญหา


               ฐานที่ 5 ทำความดีเพื่อครอบครัว : เป็นการกำหนดแนวคิดที่จะทำดีต่อครอบครัว


               ฐานที่ 6 กฎ กติกา : เป็นกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงกฎหมายกับกฎเกณฑ์ของบ้าน


              

    ขั้นตอนที่ 7 คำสัญญา  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนระบุคำสัญญาความดีที่จะทำให้แก่ตนเองและครอบครัว

    ขั้นตอนที่ 8 ด้วยรักจากใจ  เพื่อมอบความในใจและคำสัญญาความดีแด่คนที่รักกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาครอบครัวอบอุ่นและความเข้มแข็งของครอบครัว ทั้ง 8 ขั้นตอน เป็นกระบวนการ


จัดการศึกษา โดยใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมเต็มรูปแบบ 2 วัน 1 คืน แต่ทั้งนี้ จากกระบวนการดังกล่าว สามารถลด และปรับกิจกรรมให้น้อยลงได้ เพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลา แต่ทั้งนี้ ไม่ควรน้อยกว่า 6 ชั่วโมง

       

 

หมายเลขบันทึก: 212156เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พิมพ์อะไรผิดหรือเปล่าจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท