พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศบรรยายเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ณ โครงการประชุมวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ 2551 จัดโดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการบัณฑิตศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีปทุม และวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศกล่าวว่า ขอขอบคุณสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้เชิญเป็นตัวแทน Top 100 HR มานำเสนอเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อทูลเกล้าถวายรางวัลเกียรติยศ "ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" 10.พระองค์ท่านเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เปี่ยมไปด้วยปรัชญาที่กลั่นออกมาตั้งแต่เยาว์วัย และอาจจะถือได้ว่าอิทธิพลจากพระบิดา และสมเด็จย่า ก็คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมดังพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระองค์ได้แก่

        -วิธีคิด 4 แนวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ทำแล้วได้อะไร) 

        -หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        -หลักการในการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ     
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

        -รู้รักสามัคคี

        ในตอนท้าย ก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น

 

หมายเลขบันทึก: 211815เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2008 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

โครงการจัดตั้งศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

หลักการและเหตุผล

หัวใจของธุรกิจบริการอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ เพราะปัจจัยมนุษย์มีความสำคัญสูงในการให้บริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น หากยังต้องการความรับผิดชอบ ความสามารถในการบริการและการมีคุณธรรมและจริยธรรม มนุษย์หรือบุคลากรจึงต้องมีการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนาในการเพิ่มทักษะให้ตนเอง การพัฒนาดังกล่าว ต้องอาศัยทุนทั้งที่เป็นของตัวเองหรือได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ดังนั้น เราจึงพบว่ามนุษย์มักได้รับการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของตนหรือผู้ปกครองเป็นสำคัญ

การบริการการศึกษาในปัจจุบันแม้ว่ามีการให้บริการอย่างกว้างขวาง มีธุรกิจภาคการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการของมนุษย์ แต่สถานศึกษาส่วนมากเน้นการประกอบการทางธุรกิจเป็นสำคัญ ประกอบกับการให้การศึกษามักเป็นการผลิตแบบภาพรวมไม่ได้เน้นที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่าที่ควร และยังด้อยด้านการสร้างและพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพที่เหมาะสมอย่างแท้จริง ในขณะที่ภาคธุรกิจบริการมีความขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้านสูง และประสงค์จะให้มีการเตรียมและส่งเสริมแรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับแรงงานที่ขาด

ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากไม่มีงานทำหรือทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนต่ำ ทั้งที่ภาคธุรกิจบริการขาดบุคลากรที่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับล่างทุกตำแหน่ง รวมถึงพนักงานบริหารทุกระดับ ทำอย่างไรจึงจะให้คนไทยที่ตกงานมีโอกาสได้รับการอบรม เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการขององค์กร และให้พนักงานที่เข้าทำงานอยู่ในภาคธุรกิจบริการอยู่แล้วมีโอกาสพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของพนักงานเอง และให้ได้รายรับที่ยุติธรรมและพอเพียงต่อการยังชีพของตัวเองและครอบครัว

ภาคธุรกิจบริการต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ จิตวิญญาณ และทักษะเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงานมากกว่าความรู้ที่จบปริญญาตรี เช่น พนักงานทำความสะอาดห้องพักลูกค้าในโรงแรม พนักงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีใจรักในการทำงาน สนุกสนานและมีความพอใจในภารกิจที่จะต้องทำโดยไม่รังเกียจ มีความซื่อสัตย์ รู้ผิดรู้ชอบ พอใจในสิ่งที่ตัวมี ไม่ยึดเอาของคนอื่นมาเป็นของเราเอง มีทักษะในงานเฉพาะที่จะต้องทำ เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดี ที่จะมีหน่วยงานให้บริการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ซึ่ง โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ จะเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ขาดโอกาสให้ได้เข้ารับการเรียนรู้และสร้างมูลค่าของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจบริการ ทำให้ภาคธุรกิจบริการมีบุคลากรที่มีมาตรฐานพอเพียงต่อการขยายตัวและการแข่งขันในระดับสากล ช่วยลดการว่างงานของประชาชนชาวไทย ช่วยส่งเสริมศักยภาพความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรในรูปแบบชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านอื่น ซึ่งมีอุดมการณ์และเป้าหมายในแนวทางเดียวกัน โดยจะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการบริหารโครงการเพื่อพัฒนามนุษย์ในภาคบริการ โดยมิได้มุ่งแสวงหาผลกำไร และมีเป้าหมายจะพัฒนาองค์การเป็นมูลนิธิ ในที่สุด

วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ฯ

๑. เป็นเวที(ศูนย์กลาง) ให้กับทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นสมาชิก ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก ตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนสถานศึกษา เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมเป็นที่ต้องการของแรงงานเข้าทำงานในภาคธุรกิจบริการให้พอเพียงกับความต้องการในทุกตำแหน่ง

๒. เป็นศูนย์กลางในการศึกษาและวิจัยความต้องการแรงงานในภาคบริการ มาตรฐานของแต่ละแรงงาน ความเหมาะสมของรายได้ของแรงงานในแต่ละมาตรฐานแรงงาน

๓. เป็นที่ปรึกษาให้กับทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการที่เป็นสมาชิก

๔. เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาค บริการ

๕. จัดหาทรัพยากรมนุษย์ด้านบริการให้กับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก

๖. จัดอบรมทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ ทั้งให้การอบรมเอง และประสานงานให้หน่วยงานงานอื่นเป็นผู้อบรม

๗. จัดประชุมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ

๘. เป็นศูนย์กลางด้านแรงงานของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว โดยทำหน้าที่เหมือนตลาดแรงงานผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

๙. เป็นองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

๑. ทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ (ประชาชนคนไทยที่ด้อยโอกาส)

๒. ผู้ประกอบการธุรกิจภาคบริการ (SMEs) และองค์กรร่วมของเอกชนที่เกี่ยวข้อง

๓. ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการและสวัสดิการสังคม

๔. สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการ

๕. ภาคชุมชนในรูปแบบกลุ่มต่างๆ

แนวทางการบริหารจัดการศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

แนวทางการบริหารจัดการ ต้องพิจารณาทั้งปัจจัยนำเข้าและผลผลิต ซึ่งคือการอบรมให้ทรัพยากรมนุษย์ สามารถเข้าสู่ตลาดธุรกิจภาคบริการได้อย่างมีคุณภาพตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ศบม. จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ เอกชน สมาชิก และผู้เสียสละเข้าร่วมโครงการ ดังประมวลให้เห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการไว้ในรูปที่ 1

๑. ภารกิจแรกในการเตรียมความพร้อมของ ศบม. คือการจัดทำ Data and Knowledge Based ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว) เอกชน (เช่นผู้ประกอบการ สภา สมาคม ชมรม ขิงธุรกิจภาคบริการ) สถาบันทางวิชาการ โดยปัจจัยที่ ศบม. ต้องรวบรวมคือ ความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นสำหรับโครงการ ผู้รู้ที่เป็นวิทยากรให้โครงการได้ และแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม

๒. ศบม. จัดหาสมาชิกที่เป็นองค์กรนิติบุคคล กลุ่มบุคคลและ ปัจเจกบุคคล ที่สนใจสนับสนุนโครงการทั้งที่เป็นส่วนผู้ให้และผู้รับ ทั้งนี้ ศบม. ต้องจัดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการในรูปของเอกสารเผยแพร่ การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซท์ของตนเองหรือพันธมิตร และการจัดกิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์ เป้นต้น เพื่อให้สมาชิกได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ อย่างทันท่วงที และขยายไปสู่ผู้ประกอบการและทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการต่าง ๆ

๓. การจัดหลักสูตรการอบรมหรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เป็นภารกิจที่สำคัญนำไปสู่การผลิตผลผลิตที่ต้องการ หลักสูตรที่เหมาะสมได้จากการศึกษา วิจัย แลกเปลี่ยนในเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาความต้องการ (ที่เป็นอุปทานโครงการ) และความสามารถในการตอบสนอง (อุปสงค์ของโครงการ) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งได้สมาชิกเป้าหมาย การวิจัยดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาและจัดเก็บรวบรวมฐานข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ใน ข้อ ๑ อีกด้วย

รูปที่ 1 ผังแสดงความเชื่อมโยงทางความคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานของ ศบม.

๔. แนวทางพื้นฐานและหลักการการอบรมหรือกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมบริหารงานบุคคลธุรกิจบริการ (สำหรับ SMEs ในการบริหารตนเอง) เทคนิคการบริการ (เช่น maid waiter & waitress, cook and assistance in kitchen เป็นต้น) และการจัดการการบริการ ศบม. คาดหวังว่าผู้ผ่านการอบรมจะได้การรับรองที่เหมาะสมเป็นประกาศนียบัตร หรือการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างหลักประกันการมีงานทำหรือการยกระดับการทำงานต่อไป

อนึ่ง สาระทางวิชาการที่ ศบม. จะจัดให้นั้นมีทั้งที่เป็นเรื่องราวทั่วไป (เน้นหลักการหรือทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ) และเรื่องเฉพาะ (เน้นปฏิบัติมากกว่าหลักการหรือทฤษฎี)

๕. กลุ่มเป้าหมายในระยะแรกให้เน้นทรัพยากรมนุษย์ในสามกลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานลูกจ้างของสถานประกอบการที่ธุรกิจบริการต้องการเพิ่มพูนความรู้หรือยกระดับขีดความสามารถ กลุ่มลูกจ้างที่เข้าสู่วงการใหม่ ที่ผู้ประกอบการรับสมัคร หรือบุคคลสนใจในการพัฒนาเรียนรู้ก่อนปฏิบัติงานจริงในรูปของการปฐมนิเทศ หรืออบรมภาคปฏิบัติก่อนการเริ่มทำงาน ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตนเองก่อนหางานที่เหมาะสม

๖. การติดตามและประเมินผลเป็นกิจกรรมที่ต้องติดตามทบทวนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การดำเนินงานของ ศบม. มี ๗ ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑. จัดตั้งทีมทำงานโครงการ จากกลุ่มผู้ก่อตั้งและผู้สนใจ เพื่อกำหนดกรอบ

ของโครงการ และจัดหาเงินทุน และแต่งตั้งคณะทำงานในแต่ละคณะ

ขั้นตอนที่ ๒. พัฒนาเครือข่ายโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจ

บริการ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการ ตัวแทนสมาคมภาคธุรกิจบริการ

ตัวแทนสภาหอการค้า ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นตัวแทนหน่วยงานที่ให้ทุน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถานศึกษา นักวิชาการ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ ๓. เผยแพร่กรอบโครงการ

ขั้นตอนที่ ๔. สำรวจ ศึกษา วิจัยความต้องการในตลาดเพื่อหา potential demand สำหรับ

การดำเนินงานต่อไป ซึ่งมีทั้งความต้องการแรงงาน และแรงงานที่ต้องการ

งานที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ ๕. จัดหาสมาชิก ซึ่งจะเป็นภาพของ real demand ของโครงการ

ขั้นตอนที่ ๖. จัดทำประเด็นเนื้อหาหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรทั้งในระยะสั้นและ

ระยะยาว

ขั้นตอนที่ ๗. ดำเนินการบริหารโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากร

มนุษย์ภาคธุรกิจบริการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้

ควรริเริ่มดำเนินงานกิจกรรมนำร่องก่อน เพื่อตรวจสอบศักยภาพและการ

ตอบรับของตลาดก่อนทบทวนและดำเนินงานเต็มรูปแบบต่อไป

ตารางแสดงแผนดำเนินงานปีที่ ๑ (๒๕๕๑-๒๕๕๒)

กิจกรรม 2551 2552

กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย.

1. จัดตั้งทีมทำงานโครงการ

2. พัฒนาเครือข่ายโครงการ

3. เผยแพร่กรอบโครงการ

4. สำรวจ ศึกษา วิจัยความต้องการในตลาด

5. จัดหาสมาชิก

6. จัดทำประเด็นเนื้อหาหลักสูตร

7. ดำเนินการบริหารโครงการ

- จัดอบรมนำร่อง และต่อเนื่อง

- จัดการประชุมระดับนานาชาติ

Roundtable Discussion เรื่องการพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการในอีก 10 ปี

ข้างหน้า

8. ทบทวนประเมินผล และรายงานครั้งที่ 1

กิจกรรมของศูนย์ฯ ในช่วงก่อตั้ง

ศูนย์ฯ มีแผนดำเนินการจัดประชุม เสวนา ระดมสมองจากทุกภาคส่วน เพื่อหาความต้องการ การบริการของศูนย์ และแนวทางการสนับสนุนของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2551 จำนวน 1 ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการ จำนวนประมาณ 40-50 คน

แหล่งเงินทุนสนับสนุน

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ไม่ใช่องค์กรที่จะแสวงหากำไร เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ แต่โครงการจะดำเนินการได้ต้องมีรายได้ แหล่งรายได้ ศบม. ประกอบด้วย

๑. จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์การ NGOs อื่น ในรูปเงินสนับสนุนหรือเงินให้ยืม

๒. จากผู้ประกอบการเป็นรายนิตุคคลหรือองค์กรร่วมของผู้ประกอบการให้การสนับสนุนโครงการในรูปเงินสนับสนุนหรือเงินให้ยืม

๓. จากค่าสมาชิก

๔. จากการรับบริจาค

๕. จากการสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันต่อทุกฝ่ายที่

เกี่ยวข้อง

สำนักงานและสถานที่ตั้ง

ในเบื้องต้น ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ได้รับความร่วมมือ และการอนุเคราะห์จาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นสำนักงานชั่วคราวเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่

เลขที่ 388 ชั้น 7 เอส พี อาคารบี ถนนพหลโยธิน

แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

โทรศัพท์. 0-2619-0512-3, 0-2273-0180 โทรสาร. 0-2273-0181

ผู้ประสานงาน

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) กำหนดให้มีผู้ประสานงานเพื่อให้การดำเนินการก่อตั้ง และกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท พี พี ดอน รีสอร์ท

302 / 15 หมู่ 6 การเคหะท่าทราย ถนนประชาชื่น

หลักสี่ กรุงเทพ 10210

โทรศัพท์ 02-5916568-70 , 02-9546029, 089-1381950

E-mail [email protected]

รายชื่อผู้ร่วมก่อตั้ง และหน้าที่งาน

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายสาขาอาชีพ โดยได้กำหนดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในเบื้องต้น ตามรายละเอียด ดังนี้

ที่ รายชื่อคณะผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ฯ หน้าที่งานในศูนย์ฯ

1 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

2 ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร

3 คุณกิตติ คัมภีระ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร

4 คุณมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรม

5 รศ.ดร.มนตรี บุญเสนอ กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรม วิชาการหลักสูตร

6 รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล รองผู้อำนวยการ NECTEC ที่ปรึกษาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาการวิจัย

7 คุณสุวัฒน์ จุธากรณ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ

8 น.สพ.ชิษณุ ติยะเจริญศรี ผู้อำนวยการ IT องค์การสวนสัตว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

9 คุณยอดชาย แก้วเพ็ญศรี Thailand Elite ที่ปรึกษาฝ่ายสารสนเทศ

10 อาจารย์จิณดา เตชะวณิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ ม.ศรีปทุม ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ

11 คุณภัทราวดี มีชูธน Patravadi Theatre กรรมการ

ประธานอนุกรรมการโครงการอบรมไอทีให้กับกลุ่มศิลปิน

12 ดร.ละเอียด ศิลาน้อย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ

13 ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ

14 ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ประธานกรรมการ

15 น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย บริษัท เปิดโลกการท่องเที่ยว รองประธานฝ่ายบริหาร

16 คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ รองประธานฝ่ายกิจกรรม สมาชิกสัมพันธ์

17 อาจารย์เจริญ ศรีเพชรพงษ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

18 คุณธวัชชัย แสงห้าว สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย รองประธานฝ่ายวิชาการ

19 ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท บริษัท พี พี ดอน รีสอร์ท เลขาธิการ

20 คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์ Iyara Park Hotel รองเลขาธิการ

21 คุณเจษฎา เตชะประเสริฐพร Grand Diamond Hotel รองเลขาธิการ

ที่ รายชื่อคณะผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ฯ หน้าที่งานในศูนย์ฯ

22 คุณจิตรลดา ลียากาศ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ผู้ช่วยเลขาธิการ

23 คุณธรรมธัช ศรีเพ็ญ Infotronics สารสนเทศ และนายทะเบียน

24 คุณฉัตรชัย โตเลิศมงคล บริษัทซินเนเจอร์ เทคโนโลยี จำกัด ประชาสัมพันธ์ สารสนเทศ

25 คุณสามารถ ดวงวิจิตรกุล Spatial Dimension Solutions Co.,Ltd นายทะเบียน

26 ดร.มรกต ระวีวรรณ NECTEC วิชาการหลักสูตร

27 คุณฉันฑิตา สีตลพฤกษ์ ศูนย์สนับสนุนการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาชิกสัมพันธ์ บริหารฝึกอบรม

28 คุณสุภาพร มหาพลตระกูล ศูนย์สนับสนุนการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาชิกสัมพันธ์ บริหารฝึกอบรม

29 คุณสุนิชา เอกชัย IBM Thailand C.,Ltd กิจกรรมพิเศษ

30 คุณจีรพันธ์ น้อยบุญมา สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ฝ่ายวิชาการ

31 คุณนัดดา วรอิตตานนท์ สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ฝ่ายวิชาการ

32 คุณอำนาจ กิติพงษ์พัฒนา Travel Marketing & Health Magazine ประชาสัมพันธ์

33 ม.ล.หทัยชนก กฤดากร บริษัท แอคคอร์ เอเซีย แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น กรรมการ

34 คุณภักดิพร กรรณสูต มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ กรรมการ

35 ดร.นงนภัส เที่ยงกมล Set Piece Marketing Consulting Services กรรมการ ประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อม

36 คุณบัณฑิต ฉันทศักดิ์ See World Travel Limited กรรมการอำนวยการ

37 คุณพิชญามณญ์ วงษ์สถิตย์ ห้างหุ้นส่วน พฤกษาพันธ์ จำกัด กรรมการ

38 คุณยงยศ พรตปกรณ์ กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กรรมการ

39 คุณสมิทธิรักษ์ จันทรรักษ์ กรรมการ ฝ่ายกฎหมาย

40 อาจารย์ นาวิน ภัทรอาชาชัย กรรมการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ – Website และ e-learning)

41 คุณพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล สภาอุตสาหกรรม กรรมการ

42 ดร.วีระ ริ้วพิทักษ์ นายกสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย กรรมการ แผนงานสารสนเทศ e-learning

43 คุณภาสกร ใหลสกุล กรรมการผู้จัดการ Know Net Co., Ltd. กรรมการ แผนงานสารสนเทศ e-learning

• จำนวนและตำแหน่งกรรมการศูนย์ฯ อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท