ทำบุญเดือนสิบ


ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักแก่ผู้รับ

ประเพณีทำบุญเดือนสิบ

 

          การทำบุญเดือนสิบเริ่มทำการในวันแรม 14  ค่ำ 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันทำบุญ แต่บางวัดก็จะใช้วันแรม 8 ค่ำ เดือน 10 เป็นประเพณีที่ได้รับมาจากศาสนาพราหมณ์ของอินเดีย ส่วนใหญ่จะตรงกับเดือนกันยายน เป็นฤดูสารท หมายถึง การทำบุญให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับชาวบ้านจะเตรียมอาหารคาวหวาน สิ่งที่ปู่ย่าตายายชอบพร้อมกระทงที่ใส่อาหารให้เปรต เมื่อไปวัดก็นำปิ่นโตไปตักแบ่งอาหารสำหรับพระสงฆ์ แล้วทำพิธีกรรมทางศาสนาที่ศาลาการเปรียญรับศีลฟังธรรม บังสกุลชื่อตายายที่ล่วงลับไปแล้ว หลังจากประกอบพิธีกรรมนี้ พระสงฆ์จะสวดพาหุงให้ศีลให้พร ชาวบ้านจะตักบาตรที่ศาลา ตักบาตร (เรียกว่าหลาบาตร) ร่วมกันถวายอาหารแก่พระสงฆ์ รอจนพระฉันอาหารเสร็จ ลูก ๆ หลาน ๆ ก็จะตั้งวงกันรับประทานอาหาร หลังจากนั้นก็ทำพิธีกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เตรียมกระทงเปรตไปวางข้างนอกวัด แจกทานแก่ชาวเล (ชาวไทยใหม่) เป็นอันเสร็จพิธีเดือนสิบ
          กระทงเปรต เป็นกระทงใบตอง ขนาดประมาณถ้วยแกงใบใหญ่ 1 ใบ ภายในจะเป็นกระทงเล็ก ๆ ใส่อาหารคาวหวาน และน้ำ นำไปวางไว้นอกวัด แต่ละครอบครัวจะนำมาเรียงไว้นอกประตูวัด เรื่องการวางกระทงเปรตนั้นเป็นพิธีกรรมที่ปฏิบัติมาแต่โบราณว่า ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ยังไม่ได้ผุดได้เกิด จะทรมานเป็นเปรต พอถึงวันสารท เปรตจะมารอรับทานจากลูกหลานอยู่นอกวัด ดังนั้น ขนมและอาหารที่เตรียมไปให้ก็จะรวมกันอยู่ในกระทงไม่ทำไม่ได้เพราะบรรพบุรุษจะมารับอาหารไป ถ้าหากลูกหลานไม่ไปทำให้จะทำให้บรรพบุรุษเสียใจและอดอยาก ตามคำกล่าวของผู้สูงอายุ จุดมุ่งหมายของการจัดงานเดือนสิบ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับตายายที่ล่วงลับไปแล้ว บางท่านอาจจะได้รับความลำบากอยู่ตามขุมนรก ต่าง ๆ และเป็นการชุมนุมญาติ เพราะบรรดาพี่น้องที่อยู่ไกล ๆ เมื่อถึงเทศกาลเดือนสิบ ทุกคนก็จะเดินทางกลับมาทำบุญที่บ้านให้กับบรรพบุรุษ
          ขนมที่นำมาไหว้และทำพิธีในเดือนสิบ คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมเทียน ขนมท่อนใต้ ขนมจูจุน ขนมเจาะรู ขนมสะบ้า ซึ่งขนมเหล่านี้จะมีความหมาย เมื่อบรรพบุรุษนำเอาไปใช้ประโยชน์ในเมืองนรก เช่น ขนมลา เพื่อให้บรรพบุรุษที่ไม่ได้ไปผุดไปเกิด ต้องเป็นเปรตได้นำไปกิน เนื่องจากเปรตจะมีปากเท่ารูเข็ม ขนมลาก็จะทำเป็นเส้นเล็ก ๆ เป็นต้น
          ประเพณีเดือนสิบ เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องของวิญญาณของบรรพบุรษ นรก สวรรค์ บุญ บาป เช่น การนำเอาสิ่งของที่ปู่ย่าตายายชอบมาทำบุญ เนื่องจากคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่า เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณ ระลึกถึงบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย และการนำสิ่งของไปวางไว้ภายนอกกำแพงวัด เพราะเชื่อว่า ภายในวัดมีเจ้าที่เจ้าทางและเจ้าที่อาจจะไม่อนุญาติให้คนตายเข้ามาในวัด ทำให้วิญญาณคนตายอาจไม่มีโอกาสเข้ามากินอาหารภายในวัดได้ นอกจากนี้ในพิธีกรรมอื่น ๆ ชาวจีนก็มีความเชื่อ เช่น
- วิญญาณก็ต้องมีความเป็นอยู่ มีอาหารการกิน และหากลูกหลานไม่ทำบุญให้ก็อาจจะไม่มีกิน ซึ่งบางครั้งก็ไม่แน่ใจว่าบรรพบุรุษจะต้องถูกลงโทษไปเป็นเปรตหรือไม่ จึงได้มีการป้องกันโดยมีการถวายขนมชนิดต่าง ๆ เพื่อให้บรรพบุรุษสามารถกินได้
- วิญญาณบรรพบุรุษะได้พบกันความสงบสุข เมื่อได้รับส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำไปให้
- เมื่อวิญญาณยังไม่ได้ผุดได้เกิดย่อมจะต้องล่องลอย ไม่สามารถเข้ามาอาศัยในวัด อาจตกอยู่ในขุมนรก การทำบุญอาจช่วยวิญญาณบรรพบุรุษได้

 

              

 

ประวัติวัดควนอุโบสถ

วัดควนอุโบสถ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๐ มีเนื้อที่ทั้งหมดตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) จำนวน ๔๓ไร่ ๒ งาน ๗๗ ตารางวา ทิศเหนือ  จด  สถานีอนามัยบ้านหัวควน  ทิศใต้  จด  สวนยางพาราของนางสาคร ชูปาน  ทิศตะวันออก  จด  ถนนสาธารณะ   ทิศตะวันตก  จด  โรงเรียนวัดควน   วัดควนอุโบสถมีเจ้าอาวาสและผู้ปฏิบัติธรรมหลายรูป ได้มาอาศัยสถานที่แห่งนี้ปฏิบัติธรรมมาตลอด จนไม่สามารถบอกได้ว่ามีเจ้าอาวาสมาแล้วกี่รูป นามฉายาว่าอะไรบ้าง 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระครูอินทวัณโณภาส (กลิ่น อินฺทวณฺโณ) ได้ร่วมกับพุทธบริษัทได้เข้ามาพัฒนาบูรณะวัดแห่งนี้ใหม่ และได้ตั้งชื่อว่า วัดควนอุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระครูอินทวัณโณภาส ได้ดำเนินงานสาธารณูปการไว้หลายอย่าง เช่น ศาลาการเปรียญ หอฉัน กุฎิ ห้องน้ำห้องส้วม เมรุเผาศพ และได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ แต่ยังไม่แล้วเสร็จท่านก็มรณภาพเสียก่อน        เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๒ ด้วยโรคชราภาพ   ต่อมาพระอธิการวีระพัฒน์ ฐิตสาโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ก็ได้ดำเนินการสร้างอุโบสถต่อจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑   

ตำนานตามความบอกเล่าของชาวบ้าน  เนินดินสูงที่ตั้งอุโบสถในปัจจุบัน กล่าวกันว่าเป็นวังหลวงที่ประทับ ของพระสุธนและนางมโนราห์ โดยสี่มุมเมืองวังหลวงมีทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทองและของมีค่าอื่นๆ เป็นจำนวนมาก   บึงน้ำใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้วัดทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) (ปัจจุบันเป็นหนองน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า หนองเต่าดำ)ซึ่งเป็นที่อาศัยของพญานาค  ที่พรานบุญไปขอบ่วงบาศของพญานาคเพื่อเอาไปจับนางกินรี(นางมโนราห์)   อาศรมฤาษี  ตั้งอยู่ทางทิศหรดี(ตะวันตกเฉียงใต้)  ซึ่งเป็นสถานที่เคยอยู่ของฤาษีผู้ประพฤติพรตบำเพ็ญธรรม (ปัจจุบัน เรียกว่า วัดสระนางมโนราห์) ซึ่งอยู่ใกล้กับสระน้ำใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหล่านางกินรีบินมาจากภูเขาไกรลาส (ปัจจุบันเรียกภูเขานางนร หมายถึงนางกินรี) มาเล่นน้ำในสระอยู่เป็นประจำ  (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกสระน้ำนี้ว่า สระนางมโนราห์)  ถัดจากสระน้ำใหญ่มาทางทิศเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า ช่องสะไบหลุ่ย  (ซึ่งเป็นสไบที่นางมโนราห์หลุดออกจากกายตอนที่พรานบุญจับมัดแล้วลากดึงมา)  ถัดจากช่องสะไบหลุ่ย   เป็นบ้านทุ่งโถ๊ะนุ้ย  (ถูกนุ้ย  หมายถึง  พรานบุญอดใจไม่ไหวที่เห็นนางมโนราห์มีความงดงาม  จึงเอามือไปจับเนื้อต้องตัวนิดนึง เรียกว่า  โถ๊ะนุ้ย )  ถัดจากบ้านทุ่งถูกนุ้ย มาถึงบ้านทุ่งโถ๊ะใหญ่  หมายถึงพรานบุญอดใจไม่ได้แล้ว  จึงจับเนื้อต้องตัวนางมโนราห์ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้างมากกว่าเก่า จึงเรียกว่าทุ่งโถ๊ะใหญ่  ถัดจากทุ่งโถ๊ะใหญ่มาถึงบ้านทุ่งสง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในความดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช)   ซึ่งอยู่ทางทิศบูรพา(ตะวันออก) ของวัดควนอุโบสถ  ซึ่งเป็นสถานที่พรานบุญพานางมโนราห์มาถวายต่อพระสุธนหรือพระศรีสุธน  พอเห็นนางมโนราห์ก็เกิดความพึงพอใจในความงามจึงได้พานางมโนราห์มาเสพสุขในวังที่ประทับ(หมายถึงวัดควนอุโบสถ)

ตำนานนี้เกิดจากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนเล่าต่อๆกันมา  และได้มีพระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง  ท่านได้เขียนประวัติเอาไว้  ผิดพลาดประการใดขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยพิจารณาต่อไป

 

 ตรุษจีนนี้  พลาดไม่ได้  กับงานบุญกุศลครั้งยิ่งใหญ่   ปิดทองฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาอุโบสถ   ในระหว่างวันที่  1-9  กุมภาพันธ์  2552     ภายในงานจัดพรรษชาอุปสมบท บวชชีพราหมณ์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตก์  พระบรมราชินีนาถ     มีการแสดงเทศนามหาชาติพระเวสสันดรชาดก  และอื่นๆ มากมาย

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 211236เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
พระครูโสภณธรรมประดิษฐ์

วัดควนอุโบสถ อ.ทุ่งใหญ่ ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งตอนนี้เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้ดำเนินการพัฒนาวัดไปก้าวหน้าในด้านถาวรวัตถุ ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างรั้วกำแพงพญานาค ซุ้มประตูวัด โดยเฉพาะอุโบสถมีความสวยงามมากเท่าที่ได้ไปเห็นมาในจังหวัดนครศรีธรรมราช และโครงการที่จะดำเนินต่อไปก็คือ การสร้างรูปเหมือนพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตัก 19 เมตร

กราบนมัสการพระอาจารย์เป็นไงบ้างสบายดีไหมครับ

กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง เป็นงัยบ้างครับ สบายดีป่าวครับ ดูแลสุขภาพด้วยน่ะครับ ช่วงนี้อากาสเปลี่ยนแปลงบ่อย

วัดควนอุโบสถ อ.ทุ่งใหญ่พระติดยาเสพติดตังหลายรูปตอนนี้ มัวยาเสพติด แท่งบอลเล่นการพนัน

 

คนไม่อยากวัดเป็นเช่นนี้

วัดควนอุโบสถ อ.ทุ่งใหญ่พระติดยาเสพติดตังหลายรูปตอนนี้ มัวยาเสพติด แท่งบอลเล่นการพนัน

ผมลองสังเกตุดูเป็นความจริงวัดควนอุโบสถ อ.ทุ่งใหญ่พระติดยาเสพติดตังหลายรูปตอนนี้ มัวยาเสพติด แท่งบอลเล่นการพนัน

ทำไม ชอบสร้างภาพ แต่ไม่ยอมปรับปรุงนิสัยในการชอบแ่ท่งบอล และเรื่องยาเสพติดภายในวัดบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท