ไร้ควันไม่ได้แปลว่าปลอดภัย(บุหรี่)


 

...

[ ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ > picture from Reuters ]

...

ทุกวันนี้โลกของเรามีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาแทบทุกวันหรือทุกเดือน วันนี้คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับ "บุหรี่ไร้ควัน (electronic cigarettes)" มาฝากครับ

เรื่องแรกคือ บุหรี่ไร้ควันผลิตออกมาขายโดยไม่มีการทดสอบเรื่องความปลอดภัย นอกจากนั้นคำโฆษณาที่ว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนช่วยในการเลิกบุหรี่ก็ไม่มีผลงานวิจัยยืนยันเช่นกัน

...

บุหรี่ไร้ควันผลิตในจีน โฆษณาขายทางอินเตอร์เน็ต และส่งออกไปยังบราซิล สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) แคนาดา และอิสราเอล

ตัวบุหรี่ประกอบด้วยถ่านชาร์จได้ กระบอกโลหะ ภายในบรรจุสารนิโคตินเหลว บุหรี่ชนิดนี้ปล่อยสารนิโคตินมาได้โดยไม่ต้องจุดไฟจากภายนอก

...

ท่านอาจารย์ดักลาส เบทท์เชอร์ ผู้อำนวยการปฏิบัติการโครงงานริเริ่มลด-ละ-เลิกบุหรี่ องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า

บุหรี่ไร้ควันขาดการศึกษาทางด้านพิษวิทยา และความปลอดภัย ทำให้เราไม่รู้เลยว่า ปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร

...

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่ป้องกันได้มากที่สุดในโลก (single largest cause of preventable death worldwide)

คนทั่วโลกตายจากบุหรี่ปีละ 5.4 ล้านคนจากการสูบบุหรี่ หรือหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไป ทำให้ตายจากโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ถุงลมโป่งพอง และโรคต่างๆ อีกมากมาย เช่น ทำให้ภูมิต้านทานของระบบทางเดินหายใจต่ำลง และติดวัณโรคได้ง่ายขึ้น ฯลฯ

...

[ ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ > picture from Reuters ]

...

เรียนเสนอให้พวกเราที่สนใจจะเลิกบุหรี่ไปปรึกษาโรงพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่ การเลิกบุหรี่ที่ได้ผลดีมากคือ การเดินออกกำลังวันละ 30 นาทีร่วมกับการขอความช่วยเหลือจากญาติสนิทมิตรสหาย การใช้หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นปะนิโคติน หรือยาช่วยเลิกบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้อายุสั้นลงประมาณ 12 ปี และป่วยหนัก เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด ใช้เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ในระยะสุดท้ายของชีวิตประมาณ 1 ปี 8 เดือน

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

 

ที่มา                                                             

...

  • Thank Reuters > By Stephanie Nebehay. Edited by Jonathan Lynn & Pilippa Fletcher. > WHO warns againts use of electronic cigarettes > [ Click ] > September 20, 2008.

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 21 กันยายน 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 211026เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท