ครูอ่อย
นาง ประไพศรี ครูอ่อย ปานเพ็ชร

นิยามของคำว่า ความรัก


ความรัก

ความรัก

 

            เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับ การชอบ, การผูกพันทางจิตใจกับบางสิ่งบางอย่าง คำว่ารักมีความหมายในหลายแง่มุมซึ่งทั้งลึกซึ้งและกว้างขวาง ต่างคนต่างมีความรักต่อผู้อื่นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงยากต่อการอธิบายและให้คำนิยามคำว่ารักแบบเฉพาะเจาะจง รักเป็นความสัมพันธ์ซึ่งไม่ได้อยู่ลอยๆ หากมีรักก็จะต้องมีผู้ซึ่งเป็นฝ่ายรักและอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถูกรัก ความรักเป็นนามธรรมจึงไม่อาจมองเห็น, ไม่อาจจับต้อง ไม่อาจวัดปริมาณได้. โดยทั่วไปแล้ว ความเสียหายหรือการจากไปของสิ่งรักจะนำมาซึ่งความโศกเศร้าแก่ผู้รัก เนื่องจากผู้รักได้ให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความโศกเศร้าจะมากหรือน้อยขึ้นกับคุณค่าที่ผู้รักกำหนดให้กับสิ่งที่ตนรักนั้น ความรักไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงมนุษย์ สัตว์ต่างๆ ก็แสดงปรากฏการณ์ทางความรักให้เห็น เช่น การปกป้องลูกนักปราชญ์ทั่วโลกพยายามหาความหมายที่แน่นอน หรือหานิยามของคำว่าความรัก แต่ไม่มีใครสามารถหาข้อสรุปได้ว่าความรักนั้นมีนิยามเช่นไรเทวดาที่เกี่ยวข้องกับความรัก คือ กามเทพของศาสนาฮินดู และคิวปิดในตำนานความเชื่อของกรีกสัญลักษณ์ที่หมายถึงความรัก คือ รูปหัวใจสีแดง, การชูมือออกมา แล้วกางเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วก้อย ซึ่งหมายถึง ฉันรักเธอ (I Love You) นอกจากนี้บางทีดอกกุหลาบก็หมายถึงความรักด้วยวันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งมักจะมีการแสดงความรักโดยการให้ของขวัญหรือให้ดอกกุหลาบ โดยถือว่าดอกกุหลาบนั้นเป็นดอกไม้แห่งความรัก

 

นิยามและคำจำกัดความ

 

  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่ารักไว้ว่า เป็นคำกริยา มีนิยามว่า "ชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยชื่นชมยินดี"

     

  • ข้างต้นกล่าวไว้ว่าความรักมีหลายแง่มุมแตกต่างกัน เราสามารถเห็นความแตกต่างนี้ได้อย่างชัดเจนหากแบ่งความรักออกเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้คู่กรณีของความรักเป็นเกณฑ์ เช่น:

     

รูปแบบของความรัก

 

  • ความรักต่อบุคคล:

     

    • ความรักต่อทายาท - รักที่พ่อแม่มีให้กับลูกผู้ซึ่งตนให้กำเนิด

       

    • ความรักต่อบุพการี - รักที่ลูกมีต่อพ่อแม่

       

    • ความรักต่อญาติพี่น้อง - รักที่มีระหว่างญาติพี่น้อง

       

    • ความรักต่อเพศตรงข้าม - รักที่อาจมีอารมณ์ และ/หรือ ความรู้สึกทางเพศมาเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้

       

    • ความรักต่อเพื่อน - รักที่มีระหว่างผองเพื่อน

       

  • ความรักต่อสถาบัน - รักที่ผู้รักมีต่อสถาบันที่ตนมีส่วนผูกพัน เช่น รักชาติบ้านเมือง, รักศาสนา, รักพระมหากษัตริย์, รักโรงเรียน, รักภาษาไทย ฯลฯ

     

  • ความรักต่อสิ่งต่างๆ - รักที่ผู้รักมีต่อสิ่งซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือมีส่วนผูกพัน เช่น รักรถยนต์, รักหนังสือ, รักรถไฟ, รักเพลงคลาสสิก, รักฟุตบอล ฯลฯ

     

  • ความรักต่อตนเอง - รักที่ผู้รักมีต่อตนเอง

     

จากการแบ่งนี้ช่วยให้เราเห็นความแตกต่าง เช่น ความรักที่เรามีต่อพ่อแม่นั้นแตกต่างจากความรักที่เรามีต่อแฟน. ความรักต่อพ่อแม่ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ความรักจึงยากต่อการวัดหรือการเปรียบเทียบ

หมายเลขบันทึก: 210964เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ...

นิยามแจ่มแจ้งมากค่ะ

   

ความรักเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ดังนั้น นิยามของความรักจึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ที่จะนิยามความรักขณะนั้น เช่น นิยามความรักในขณะที่เป็นบิดาหรือมารดา หรือนิยามความรักในขณะที่เป็นลูกรักบิดามารดา หรือขณะที่พอใจเพศตรงข้ามก็จะนิยามอีกอย่างหนึ่ง

ความรักจึงเป็นคำที่หาคำนิยามให้ตรงความรู้สึกในทุกรูปแบบนั้นยากยิ่ง เหมือนกับที่มีบางคนว่า ความรักออกแบบไม่ได้

ขอบคุณมากที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท