การจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา


การนำแรงจูงใจมาประยุกต์ใช้ด้วยวิธีการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชานั้นเป็นงานอย่างหนึ่งของหัวหน้าหรือผู้บริหาร นั้นคือการใช้ศิลปะการชักจูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันเดียวกัน

มีคำ 4 คำที่พูดถึงเสมอในการจูงใจผู้อื่นคือเงิน, ความกลัว, การตั้งเป้าหมายและขวัญซึ่งจริงๆแล้ว 4 คำนี้คือหลักการที่สำคัญมากจึงควรพิจารณาถึงคุณสมบัติของคำเหล่านี้

1.       เงิน เป็นสัจจะธรรมว่าถ้าลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างที่ยุติธรรมไม่ว่าท่านจะใช้วิธีอะไรก็ไม่สามารถให้เขาสร้างผลผลิตที่สูงได้นอกจากงานนั้นหายากสำหรับเขาแต่เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องเงินมากเกินไปในการที่จะจูงใจคน

2.       ความกลัวถูกลงโทษเป็นเครื่องมือที่ชักจูงใจลูกน้องเป็นอันดับสอง แต่ความกลัวส่งผลเพียง 2 กรณีคือ เมื่อเราขู่ว่าหากไม่พัฒนาผลงานก็รีบหางานอื่นทำเสีย และกรณีที่สองเป็นเครื่องกระตุ้นฉุกเฉินเช่นขู่ว่าควรรีบทำให้เสร็จก่อนเจ้านายใหญ่กลับมา

3.       การตั้งเป้าหมาย เป้าหมายเป็นความต้องการพื้นฐานในการปฏิบัติงานของคนการตั้งเป้าหมายต้องตั้งให้ถูกต้องและเหมาะสมไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทางจิตวิทยาได้พบว่าหลังจากคนล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายครั้งที่ 1 เขาจะตั้งครั้งต่อไปให้ต่ำลงเพราะกลัวความล้มเหลว

4.       ขวัญ เรื่องขวัญและกำลังใจมีความสำคัญแต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็ไม่ช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเพราะพนักงานที่มีความสุขไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีประสิทธิภาพเสมอไปแต่ขวัญและกำลังใจทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทลดลงได้แต่เป็นทางอ้อมมากกว่าทางตรงเช่นบรรยากาศในการทำงานดี

จากเรื่องของการใช้แรงจูงใจใน 4 อย่างถ้าเอามาประกอบกับทฤษฎีแรงจูงใจแล้วเรียกได้ว่าควรจะใช้ทุกทฤษฎีเพียงแต่ต้องอยู่ที่สถานการณ์และประเภทของบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งจากประสบการณ์เคยมีลูกน้องทุกระดับแต่ละระดับก็จะปฏิบัติและใช้แรงจูงใจต่างกัน หากลูกน้องที่มีความสูงระดับปริญญาตรีขึ้นไปและฐานะที่บ้านดีก็จะใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์, ทฤษฎีความคาดหวัง, ทฤษฏีเสมอภาคเป็นต้น แต่ในระดับคนงานควรใช้ทฤษฎีการเสริมแรง, ทฤษฎีความต้องการ 5 ระดับของมาสโลว์เป็นต้น

นอกจากการใช้แรงจูงใจแล้วการที่จะผลักดันให้ลูกน้องทำงานต้องอาศัยพฤติกรรมเหล่านี้

o      เป็นคนแข็งแต่อย่าให้ถูกเกลียดชัง นั่นคือมีความแข็งในระดับหนึ่งแต่หันมาเอาใจใส่ความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชา

o      สนใจความรู้สึกของผู้อื่น คือใช้วิธีการทำงานแบบเน้นที่คนและเน้นที่งานผสมกันไป

o      หลีกเลี่ยงการใช้ตัวกระตุ้นที่อันตรายซึ่งอาจจะคิดว่าเป็นตัวกระตุ้นจูงใจลูกน้องได้เช่น

-          อย่าดูถูกผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอันขาด

-          อย่านินทาผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าผู้อื่น

-          อย่าแสดงความเสน่หาหรือลำเอียง

-          อย่าให้รางวัลแก่ความดีเล็กๆน้อยๆ

วิธีการชักจูงใจลูกน้อง

1.       ต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย

2.       ไม่มีอคติต่อลูกน้อง

3.       อย่าตำหนิลูกน้องลับหลัง

4.       ทำให้เขารู้ว่าเขากำลังอยู่ ณ จุดใด

5.       ให้คำชมเชยในเวลาที่เหมาะสม

6.       ให้ข่าวสารลูกน้องล่วงหน้าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบพวกเขา

7.       ห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา

8.       มองคนที่ผลงาน มิใช่วิธีปฏิบัติงาน

9.       ออกนอกเส้นทางของตนเองเพื่อช่วยผู้อื่น

10.   รับผิดชอบต่อผู้อื่น

11.   ให้ลูกน้องแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ให้อิสระแก่เขา

12.   ทำให้ลูกน้องขยันขันแข็ง

13.   รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา

14.   พร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น

15.   แสดงความเชื่อมั่นตนเอง

16.   เปิดให้แสดงความคิดเห็น

17.   แบ่งสรรและมอบหมายงาน

18.   เร่งเร้าให้เกิดความฉลาดและสร้างสรรค์

19.   สอนงานอย่างเต็มใจ

20.   แก้ปัญหาให้โดยไม่ตำหนิอย่างรุนแรง

หมายเลขบันทึก: 210623เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2008 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณท่านผอ.ประจักาที่แวะมาเยี่ยมเยือนยามเช้าเช่นนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท