รายงานการประเมินโครงการ


พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน

ชื่อผลงาน :

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งสง ปีการศึกษา 2550

 

ลักษณะผลงาน :

การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่

ผู้ประเมิน :

นายเลิศชาย ขอจิตต์เมตต์

รองผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสง

 

 

 

 

 

ปีพุทธศักราช :

2550

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งสง ปีการศึกษา 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการ ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการ ประเมินกระบวนการ (Process) และประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 833 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 17 คน ครู จำนวน 97 คน นักเรียน จำนวน 346 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 346 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน ค ฉบับ และแบบสำรวจจำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะมีดังนี้

 

 

1. บริบทของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยผลการประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก

 

 

2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการประเมินตัวชี้วัดบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และอีก 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก

 

 

3. กระบวนการของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการประเมิน ตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผน อยู่ในระดับมากที่สุด ความชัดเจนของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และการกำกับ ติดตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลผลิตของโครงการ ทั้ง 11 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดจำนวนนักเรียนที่ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวนนักเรียนที่มี วินัย และความรับผิดชอบ ความกตัญญูกตเวที ความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และ ไม่เห็นแก่ตัว และความประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก และจำนวนนักเรียนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก

 

 

โดยภาพรวมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนทุ่งสง ปีการศึกษา 2550 ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

1. ควรกำหนดพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต เป็นจุดเน้นเพื่อ ส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนโดยให้ครูและบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ และควรกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและจริงจัง

2. ควรขยายกิจกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของนักเรียนมากขึ้น โดยอาศัยคณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย

3. ควรมีการศึกษาทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดและรายการประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยการจัดตั้งคณะทำงาน 1 คณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการให้สูงขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 210075เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 04:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ

มาติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม

เพรระมีความสนใจเป็นพิเศษ

ขอเป็นกำลังใจค่ะ

อ่านรายงานประเมินคุณธรรมจริยธรรมแล้วเห็นว่าน่าสนใจอยากได้ผลงานเต็มรูปแบบเพื่อ

เป็นแนวทางจุดประกายในการทำผลงานบ้าง

ขอบคุณล่วงหน้าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท