เมื่อลูกชายเสพยาบ้า แม่และพ่อเลี้ยงต้องเผชิญ


กำลังของสติ กำลังของปัญญา จะมีอำนาจต้านทานสิ่งที่คุกคามทางจิตใจนี้ได้

มี case หนึ่งที่ทางแผนกผู้ป่วยนอกส่งมาหาตั้งแต่เช้า ซึ่งปกติข้าพเจ้าจะมาถึงที่ทำงานประมาณ เจ็ดโมงกว่า ... ได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า ไม่นอน เดินไปมาทั้งคืน แต่ไม่มีเอะอะคลุ้มคลั่ง....

 

ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาพูดคุยกับ case ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า case ได้เสพยาบ้ามาได้หลายเดือน ด้วยความอยากลอง กรอปกับเพื่อนชักชวน พอเสพมาได้ระยะเวลาหนึ่งตนเองเริ่มมีอาการหวาดระแวงกลัว มีหูแว่วเป็นเสียงคนพูดว่า ฆ่ามัน... แต่ case ก็ใช้ความพยายามข่มใจตนเอง จนมาถึงวันที่เริ่มมีอาการหนักมากขึ้น ... หลังจากเสพยาแล้วได้ขับมอเตอร์ไซด์ออกจากบ้าน แล้วเห็นรถที่วิ่งตามมา หรือสวนทางไป รับรู้และหลงผิดว่ามีคนมาตามฆ่า ... พอตกกลางคืนมากลัวมาก ไม่กล้านอน อยากจะออกจากบ้านท่าเดียว เพราะตอนเช้าแม่กับพ่อจึงนำพามาที่โรงพยาบาล

 

ขณะที่ข้าพเจ้าคุยด้วยนั้น case ยังพูดรู้เรื่อง ข้าพเจ้าจึงถามไปว่าอยากเลิกเสพยาหรือเปล่า ซึ่งเจ้าตัวก็บอกว่าอยากเลิก เมื่อวิเคราะห์บุคลิกภาพ case เป็นเด็กค่อนข้างไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขณะพูดจะมีท่าทีกลัว หวาดระแวงตลอด ปล่อยให้นั่งคนเดียวไม่ได้ ความสัมพันธ์ในความครัว เป็นลูกติดแม่มา แม่แต่งงานใหม่ แต่พ่อเลี้ยงก็ให้การเลี้ยงดูและใส่ใจดีมาก บุคลิกลักษณะของเด็กค่อนข้างเป็นคนตามเพื่อน ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เด็กจะถูกชักชวนได้ง่ายจากเพื่อน ... แม่มีลูกเล็กๆ อีกคนซึ่งคาดว่าแม่น่าจะใช้เวลาส่วนใหญ่ดูแลน้องคนเล็กนี้ เวลาส่วนใหญ่ของ case จึงอยู่กับเพื่อน ... เป็นความโชคไม่ดีที่ case ไปเลือกกลุ่มเพื่อนที่ใช้สารเสพติด จึงได้ตกเป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านี้

 

อาการที่เกิดขึ้นนั้น...

Case เริ่มมีอาการ ทางจิตร่วมด้วย  และข้อมูลที่ใช้ในการเสพยาก็ค่อนข้างมีปริมาณมาก การดูแลอยู่นอกเหนือขอบเขตที่เราจะเยียวยาได้ จึงได้ส่งตัวไปที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด ... แต่เมื่อในระยะฟื้นฟู case อาจได้ถูกส่งตัวกลับมา เมื่อนั้นคาดว่าข้าพเจ้าและคนหน้างานที่นี่จะได้มีโอกาสได้ร่วมฟื้นฟูนำคนดีกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคม

 

Note: แนวทาง...การเยียวยา ไม่ได้มุ่งเพียงผู้ป่วยอย่างเดียว แต่ต้องให้ครอบครัวได้มามีส่วนร่วมในการได้รับการเยียวยาด้วย...

 

ท่าทีของผู้บำบัดมีส่วนสำคัญมาก ต้องระวังเรื่องการตัดสิน แต่ให้น้อมใจยอมรับ หากว่าความรู้สึกว่าเด็กผู้ชายวัยรุ่นที่อยู่ตรงหน้าเรา เป็นเครือญาติเรา เป็นเพื่อนผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย... ร่วมรับรู้ในทุกข์ที่คุกคามเขาอยู่ ร่วมแบ่งปัน ที่สำคัญอยู่เคียวข้างและให้พลังแก่ครอบครัว เพราะพลังแห่งการเยียวยาที่ยิ่งใหญ่คือ พลังของครอบครัว สำหรับ case นี้ที่ทุกข์มาก คือผู้เป็นแม่... แม่จะนั่งเคียงข้างลูกอยู่ตลอดเวลา

 

และถ้าหากว่า ความสัมพันธ์ของลูกและพ่อเลี้ยงไม่มีช่องว่างต่อกัน ก็น่าจะเป็นพลังร่วมอีกหนึ่งพลังที่จะนำพาเด็ก case นี้หลุดออกมาจากยาเสพติดได้

 

ความยากของการบำบัด คือ พลังใจของ case ที่จะมีอำนาจเหนี่ยวนำตนเองไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก หากได้รับการเสริมสร้างพลังใจให้มีมากพอ เรื่องราวของช่วงชีวิตนี้ก็ผ่านไปเป็นเพียงแค่หนึ่งประสบการณ์หนึ่งเท่านั้น

 

 

----------------------------------

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 209877เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ท่านกลางความสับสน ต้องช่วยกันฟันฝ่าครับ มาให้กำลังใจ

ขอบพระคุณค่ะ...

อาจารย์เดินทางบ่อยๆ..ระวังสุขภาพด้วยนะคะ

(^___^)

กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะพี่กะปุ๋ม

พลังทางใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คนเราฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่างให้ผ่านพ้นไปได้

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

"นุ้ย" เมื่อเดือนก่อนพี่ได้เข้าไปเยียวยาทางจิตใจของนักโทษในเรือนจำ...

พี่เชื่อในสำนึกส่วนดีของผู้คน ซึ่งในนักโทษเหล่านี้ก็มี... ส่วนของความดี

โจทย์ ก็คือ ว่าเราจะทำอย่างไร ให้สำนึกในส่วนดีของผู้คนได้เติบโตครองอยู่นจิตใจ...

กำลังใจ เป็นสิ่งที่มีค่ามาก สำหรับผู้คนที่พลาดไปในชีวิต ดังนั้น เพียงแค่เราให้การยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นด้วยใจที่น้อมลง พี่มองว่านี่ก็เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง ที่จะช่วยกันดึงคนขึ้นมาสู่พลังด้านดีนะ

ขอบคุณนุ้ยมากสำหรับกำลังใจนะคะ

(^____^)

พี่กะปุ๋ม

  • ธรรมสวัสดีนะโยม กะ-ปุ่ม
  • ขอให้ประสบผลสำเร็จในการเยียวยาจิตใจของผู้ป่วย
  • แม้จะเหนื่อยยากก็ขอให้อดทนเพราะเป็นกุศลอย่างสูง
  • ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
  • อนุโมทนาสาธุ

หวัดดีครับกะปุ๋ม สบายดีนะครับ ช่วงนี้ผมค่อนข้างยุ่งกับสรุปงานวิจัย และเตรียมต้นฉบับproceeding paper สำหรับ ประชุมนานาชาติที่เมืองไทย เดือน พย. ที่จะถึงนี้

case นี้น่าสนใจดีนะ ทำให้ต้องอ่านกลับไปกลับมา แล้วคิดว่า เอ จริงๆ แล้ว อาการทางจิตเป็นเพราะยาเสพติด หรือว่า ถ้าไม่มียาเสพติดเด็กคนนี้ก็ป่วยจิต (เพียงแต่ยาเสพติดเป็นตัวเร่ง) อันนี้ถ้าประเมินแบบ multi-axial assessment อาจจะพอเข้าใจที่มาที่ไป

แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามนะ ก็ถือว่า เป็นโจทย์อันน่าท้าทายของผุ้บำบัดอย่างเราๆ นะ

ผมเห็นด้วยที่การบำบัดไม่ควรมองที่ตัวผู้ป่วยเท่านั้น เพราะว่า คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ทั้งระบบ

เป็นกำลังใจให้ ทั้ง ผู้บำบัด และ ตัวผุ้รับการบำบัด ด้วยละกันครับ

สวัสดีค่ะ...อ.เชษฐา...

ดีใจมากเลยที่ได้มีคนมาร่วม share ...

เป็นเรื่องที่น่าครุ่นคิดนะคะ ... "ตัวเร่ง" ปฏิกิริยา เรื่องราว เหตุการณ์ รวมถึงปรากฏการณ์ที่มาสัมผัสสัมพันธ์ต่อผู้คนต่างล้วนเป็นตัวกระตุ้นและเร่งปฏิกิริยาทำให้สารชีวเคมีในสมองหลั่งเร็วขึ้น หรือว่าเป็นเหตุแห่งปัจจัยการเกิด...

หากศึกษาย้อนหลัง น่าจะมี sign หรือสัญญาณที่สื่อไปสู่ความโน้มที่นำไปเกิดอาการและโรคทางจิต ตั้งแต่ยังเด็ก

ทุกวันนี้กะปุ๋มสนใจในเรื่องของการป้องกันอย่างมาก แต่...มักจะพบว่าผู้คนไม่ค่อยตระหนักในเรื่องของการป้องกัน ปล่อยให้ "จิต" ตนเองดำเนินไปตามสิ่งที่มากระทบ และกระเทือนตามเรื่องราวนั้นไป เมื่อถึงสภาวะหนึ่ง ต้นทุนทางจิตที่มีพร่องไป อาการเจ็บป่วยทางจิตก็แสดงขึ้นมา จึงมักเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเข้าสู่ภาวะการเจ็บป่วยแล้ว กระบวนการเยียวยาจะยากกว่าการป้องกัน

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ...

(^___^)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท