ระบบกระดูก


โรคที่เกิดจากระบบกระดูก

                                   

ก่อนที่เราจะไปรู้จักโรคจากระบบกระดูก  เรามาดูประเภทของกระดูกกันก่อนดีกว่าค่ะ

ประเภทของโครงกระดูก

โครงกระดูกในมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือโครงกระดูกแกน (axial skeleton) และโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)

[แก้] โครงกระดูกแกน

โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่

·         กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น

·         กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น

·         กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น

·         กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น

·         กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น

·         กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น

[แก้] โครงกระดูกรยางค์

โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่

·         กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 4 ชิ้น

·         กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น

·         กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น

·         กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น

·         กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น

·         กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น

หน้าที่

โครงกระดูกมีหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่

·         ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย

·         เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว

·         ป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่นกะโหลกศีรษะที่ห่อหุ้มสมอง หรือซี่โครงป้องกันปอดและหัวใจจากการกระทบกระเทือน

·         เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดที่สำคัญ

·         เป็นแหล่งเก็บสะสมแคลเซี่ยมที่สำคัญของร่างกาย โดยการควบคุมของฮอร์โมนและไวตามิน D3

 

 ตอนนี้เรามาดูซิค่ะว่า...โรคที่เกิดจากระบบกระดูกมีอะไรกันบ้าง.......

โรคที่เกี่ยวกับโครงกระดูกจะส่งผลต่อความแข็งแรงและความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง ความผิดปกติของโครงกระดูกที่พบบ่อยคือกระดูกหัก ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกได้รับแรงที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นเพียงกระดูกที่หักอยู่ภายใน หรืออาจมีส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาก็ได้ในกรณีร้ายแรง นอกจากนี้ ภาวะกระดูกหักยังพบได้ง่ายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุและสตรีวัยหมดประจำเดือน โรคของกระดูกที่จัดว่าร้ายแรง ได้แก่ เนื้องอกและมะเร็งของกระดูก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด นอกจากนี้ ภาวะข้ออักเสบ ยังส่งผลเสียต่อกระดูกในบริเวณข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงและเคลื่อนไหวลำบากอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 209798เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • เมื่อกี้ระบบย่อย
  • คราวนี้กระดูก
  • นี่ถ้ามีภาพปรพกอบด้วยนะสุดยอด
  • เป็นสื่อการสอนได้อย่างเยี่ยมเลย

สวัสดีคะ...ผอ.

ตอนนี้หนูกำลังจะนำความรู้ที่สืบค้นมาเขียนใส่ในบล็อกให้มากๆ เพื่อที่จะให้

นักเรียนได้เข้ามาค้นคว้าเพิ่มเติม...

ตอนนี้เป็นช่วงที่ฝึกเล่นและพัฒนาบล็อก...เห็นว่าผอ.นำภาพสวยๆ และลูกเล่นมากมาย..อยากจะศึกษาจากท่านจะดูได้จากที่ไหนคะ?...หมายถึงวิธีการทำภาพลักษณะคล้ายกับใช้ ..เฟรท..สร้างใช่ไหมคะ...แล้วจะติดตาม..และพัฒนาบล็อกให้สวยแบบของผอ.บ้าง

ขอบคุณนะคะ...ที่เข้ามาเยี่ยมชม

ลงเข้าไปดู PhotoScape ที่ชาว GTK ใช้กันอยู่ครับใช้ง่ายมากhttp://www.photoscape.org/ps/main/help_translate.php

ขอบพระคุณมากคะ....ขออนุญาต..เข้าไปศึกษาเลยนะคะ......แล้วจะพัฒนาบล็อกแข่งกับ ผอ.ค่ะ

แล้วพบกันใหม่ค่ะ

ขอบคุณมากเลยนะค่ะ สำหรับข้อมูล หนูมีงานส่งแล้วค่ะ

ขอขอบใจทุกคนที่เข้ามาสืบค้นข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการศึกษา..ช่วงนี้ยุ่งมากไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนเพิ่มเติม และไม่ค่อยได้เข้ามาตอบต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย และหลังจากนี้ไปก็จะเข้ามาบ่อยๆ เน็ตที่บ้านไม่ค่อยทำงาน จึงต้องหาแหล่งในการเขียนข้อมูลเพิ่ม จะพยายามแก้ปัญหา..และจะเขียนเนื้อหาเพิ่มเติมอีก...ในโอกาสต่อไปนะจ๋ะ

หนูก้อเนยกะอ.นะคะ แล้วเผอิ้ญ....................เผอิญ อ.กะลังให้หาเรื่องนี้พอดีเลย แบบว่า.........ฟลุ๊กค่ะฟลุ๊ก

แล้ววันหลังหนูจะเข้ามาศึกษาหาความรู้อีกนะคะ

ขอขอบคุณหล้าย....หลายเด้อค่ะ

เอ่อ..........อาจารย์อรทัยคะหนูยังไม่รู้หน้าที่ของกระดูกส่วนไหล่และมืออะคะทำไงดี

ยัยปัทมา...ครูคงเข้ามาดูบล็อกช้าไปนะ...เห็นว่าเธอได้รายงานหน้าห้องไปเรียบร้อยแล้ว ...ครูต้องขอโทษด้วยที่ได้ได้เข้ามาตอบ

ระบบกระดูก

ร่างกายของแขนขาคงรูปอยู่ได้ โดยมีกระดูก และกระดูกอ่อนเป็นแกนอยู่ภายใน กระดูกทั้งหมดหนักประมาณ ๑๗ ของน้ำหนักตัว

กระดูกและกระดูกอ่อน (Cartilage) มีความแข็งพอที่จะให้เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็น และเยื่ออ่อนอื่นๆ ได้

จึงเป็นตัวการให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ในที่บางแห่งกระดูกต่อกัน เป็นโพรงล้อมรอบอวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ และปอด จึงทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะสำคัญๆ ต่างๆ ภายในกระดูกเป็นที่อยู่ของไขกระดูกสำหรับสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ กระดูกมีเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต ประกอบอยู่ด้วย เกลือแร่เหล่านี้สามารถละลายไปสู่เลือดได้เมื่อร่างกายต้องการ กระดูกจึงเป็นที่เก็บแคลเซียมไว้ด้วย

กระดูกเป็นสิ่งมีชีวิต และประกอบด้วยเซลล์และเส้นใยพังฝืดคอลลาเจน (Collagen) โดยมีเกลือแร่ฝังตัวแทรกอยู่จึงทำให้กระดูกมีความแข็ง และความยืดหยุ่นด้วย ถ้ากระดูกถูกเอาเกลือแร่ออก โดยแช่ในกรดอ่อนๆ เหลือแต่เส้นใยพังผืดกระดูกยังคงรูปอยู่ได้ และสามารถงอม้วนจนผูกเป็นปมได้ ถ้าเส้นใยพังผืดนี้ถูกทำลายไปโดยการเผา กระดูกก็คงรูปอยู่ได้แต่เปราะและไม่ยืดหยุ่น

โครงกระดูกด้านหลัง

กระดูกอาจแบ่งเป็นหลายชนิด ตามลักษณะและรูปร่างของกระดูก

๑. กระดูกยาว พบได้ที่กระดูกต้นแขน แขนท่อนปลาย ต้นขา และขา กระดูกฝ่ามือ ฝ่าเท้า กระดูกนิ้วมือนิ้วเท้าเป็นกระดูกยาวขนาดเล็ก ในส่วนลำ (shaft) ของกระดูกยาว เรียงตัวกันเป็นรูปทรงกระบอก ตรงกลางเป็นโพรง ที่ขอบๆ กระดูกเป็นเนื้อแน่น ปลายทั้งสองของกระดูกยาวมักโตกว่าส่วนลำ มีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ อยู่ที่ขอบ ภายในเป็นชิ้นกระดูกเล็กๆ ติดต่อกันคล้ายฟองน้ำ เรียกว่า กระดูกฟองน้ำ

๒. กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า กระดูกสั้นไม่มีส่วนลำ แต่จะมีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ อยู่ที่ขอบภายในเป็นกระดูกฟองน้ำ

๓. กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก และกระดูกสะบักด้านบนของกะโหลกศีรษะ ประกอบด้วยกระดูกเนื้อแน่นสองแผ่นภายในเป็นกระดูกฟองน้ำ

๔. กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกส่วนฐานของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีรูปร่างจัดอยู่ในพวกดังกล่าวแล้วไม่ได้

ในสัตว์บางชนิด เช่น นก มีกระดูกหลายชิ้นที่มีโพรงอากาศภายในติดต่อกับระบบหายใจ เพื่อทำให้กระดูกเบา แต่แข็งแรงเรียกว่า กระดูกมีโพรงอากาศ ในคน กระดูกกะโหลก ศีรษะหลายชิ้นที่มีโพรงอากาศภายใน เรียกว่า โพรงอากาศ(Air sinus) ซึ่งติดต่อกับโพรงจมูก จึงรับเชื้อโรคจากโพรงจมูกได้บ่อย ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เรียกว่า โพรงอากาศ

อักเสบ (sinusitis)

โครงกระดูกด้านหน้า

กระดูกในสัตว์หรือในตัวคนเกือบทุกชิ้นมีลักษณะดังนี้

๑. ส่วนที่ถูไถกับกระดูกอื่นเป็นข้อต่อ เรียกว่า ด้านข้อต่อ จะมีกระดูกอ่อนเรียบคลุม เพื่อให้กระดูกเคลื่อนไหวที่ข้อต่อได้อย่างสะดวก ยกเว้น กระดูกแบน ไม่มีกระดูกอ่อนคลุม เช่น กระดูกด้านบนของกะโหลกศีรษะมีขอบขรุขระและยึดกันด้วยพังผืด

๒. กระดูกทั้งหมด เว้นด้านข้อต่อ มีเยื่อบางๆห่อหุ้มเรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก

๓. ในโพรงของส่วนลำของกระดูกยาวเป็นที่อยู่ของไขกระดูกสีเหลือง และในช่องว่างของกระดูกฟองน้ำจะมีไขกระดูกสีแดง

กระดูกในร่างกายของคน

กระดูกในร่างกายของเราประกอบไปด้วยกระดูกแข็ง (Bone) กระดูกอ่อน (Cartilage) เอ็นยึดกระดูก (Ligament) และข้อต่อ (Joint) ในผู้ใหญ่ที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีจำนวนกระดูกแข็งทั้งหมด 206 ชิ้น โดยแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้

- กระดูกกะโหลกศีรษะ 8 ชิ้น

- กระดูกหน้า 14 ชิ้น

- กระดูกหู 6 ชิ้น (ข้างละ 3)

- กระดูกโคนลิ้น 1 ชิ้น

- กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น

- กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น

- กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น (12 คู่)

- กระดูกแขน 64 ชิ้น (ข้างละ 32)

- กระดูกขา 62 ชิ้น (ข้างละ 31)

กระดูกมีน้ำหนักรวมกันประมาณ18%ของน้ำหนักร่างกาย(มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นน้ำหนักจากกระดูกแขนและขา)รูปร่างและขนาดของกระดูกแบ่งออกเป็นหลายชนิด เพื่อความเหมาะสมในการทำหน้าที่ที่แตกต่างกันไปแต่โดยรวมแล้วกระดูกมีหน้าที่ในการช่วยให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายและเอ็นต่าง ๆทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้แสดงพฤติกรรมได้ช่วยป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะภายในเป็นแหล่งที่เก็บของแคลเซียมรวมทั้งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงอีกด้วย การที่ร่างกายมีกระดูกหลายชิ้น ทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “ข้อต่อ” ขึ้นข้อต่อในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น บริเวณกะโหลกศีรษะ

2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เช่น บริเวณกระดูกสันหลัง

3.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากเช่นบริเวณแขนขาสะโพกศอกข้อมือคอข้อต่อแบบนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้หลายอย่างเช่นการหุบเข้าการกางออก การนำห่างออกจากตัวการนำเข้าใกล้ตัวการหมุนไปตามแกนการแกว่งเป็นลักษณะของรูปฝาชีเป็นต้นโครงสร้างของข้อต่อแบบที่3นี้ภายในจะบุด้วยเยื่อบางๆ ที่สามารถผลิตสารที่จะทำหน้าที่เป็นน้ำมันออกมาหล่อลื่นข้อต่อทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่นและสะดวกยิ่งขึ้นการมีข้อต่อและชนิดของการเคลื่อนไหวหลายอย่าง

นี้เองที่ทำให้มนุษย์มีลีลาการเคลื่อนไหวหลายอย่างและบางครั้งก็สวยสดงดงามจนเหลือคณานับลีลาต่างๆนั้นส่วนใหญ่มาจากส่วนของแขนและขาหากปราศจากมือและเท้าแล้วมนุษย์เราคงจะเป็นสัตว์ ที่ช่วยตนเองไม่ได้แต่พอมีเรากลับเป็นสัตว์ที่ช่วยตนเองได้มากและหลายๆครั้งก็เป็นบ่อเกิดของปัญหาความยุ่งยากสับสนในบรรดามนุษย์ด้วยกัน

กระดูกอ่อน

ไม่แข็งและไม่แข็งแรงเท่ากระดูก เพราะไม่มีเกลือแร่แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่ากระดูก มีเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนเช่นเดียวกันกับกระดูก

กระดูกอ่อนแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด

๑. กระดูกอ่อนไฮอะลีน หรือกระดูกอ่อนขาว (hyaline cartilage) ปรากฏเป็นสีขาวปนน้ำเงิน พบได้ที่ด้านข้อต่อของกระดูก กระดูกอ่อนซี่โครงกระดูกอ่อนกล่องเสียง และกระดูกอ่อนหลอดลม

๒. กระดูกอ่อนยืดหยุ่น (elastic cartilage) สีค่อนข้างเหลือง ยืดหยุ่นได้มากเพราะมีเส้นใยยืดหยุ่นมาก พบได้ที่กระดูกอ่อนใบหู และฝาปิดกล่องเสียง

๓. กระดูกอ่อนพังผืด (fibrous cartilage) มีเส้นใยพังผืดคอลลาเกนมาก พบได้ที่หมอนกระดูกสันหลัง และข้อต่อหัวหน่าว

ข้อมูลดีๆมีมาให้กันได้รับรู้ จากเด็กที่เรียนไม่ค่อยเก่ง ข้อให้โชคดีนะครับ

กระดูดส่วนใดที่ไม่ต่อกับกระดูกส่วนอื่นของกระดูกมนุษย์

คุณเอิร์ท

สวัสดีปีใหม่ 53 ไทย นะคะ สงกรานต์นี้ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ

ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมกัน

สวัสดีคะ คุณรัชชานนท์

ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ ....รบกวนคุณรัชชานนท์ช่วยตอบคุณวัชรินทร์...หน่อยได้ไหมคะ "กระดูกส่วนใดที่ไม่ต่อกับกระดูกส่วนอื่นของกระดูกมนุษย์" ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

แล้วพบกันใหม่ค่ะ

ขอบคุณ...คุณอนินทิตา และคุณที่ไม่เอ่ยนาม หมายเลขที่ 14 นะคะ

ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเรา ซึ่งข้อมูยังไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวไปไหนเลย...เนื่องภาระงานค่อนข้างมาก...แต่ก็พยายามจะนำความรู้ที่ตนเองได้อ่านพบและใช้ประโยชน์ได้จริง มาบอกต่อกันนะคะ แล้วเข้ามาเยี่ยมกันอีกนะคะ

ขอบคุณมากจริงๆ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลดีดี

ขอขอบพระคุณค่ะที่ช่วยให้หนูทำงานเสร็จทันเวลา

กระดูกกับ เนื้อ อะไรมีน้ำหนักมากกว่ากัน

คุณครูอรทัย แต่งงาม ครูเก่งจังเลย ถ้าจะสอนนักเรียนให้มาสมัครสอนที่โรงเรียนวิวัฒน์วิทยานะคะ [ อยากมีครูเก่งๆ สอนในโรงเรียนของหนูบ้าง ]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท