คนไทยทำงานไม่เป็น?


"เมื่อสิ้นหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก"

ข้อความวิจารณ์การทำงานของคนไทยโดยเจ้านายฝรั่ง

ที่แปะไว้ข้างล่างนี้เป็น forward email ที่เพื่อนส่งมาให้...ผมอ่านแล้วเลยคิดอยากจะแก้ตัวแทนคนไทยบ้าง เลยเขียนความเห็นผมไว้ข้างท้ายครับ

 

มุมมองต่างชาติกับการทำงานแบบไทย น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน

มุมมองต่างชาติกับการทำงานแบบไทย

บ้าน เราเดี๋ยวนี้มีคนต่างชาติเข้ามาทำงานหลายพันชีวิต พอฝรั่งกับไทยมาเจอกัน ความอลเวงก็เลยเกิดขึ้น เพราะนอกจากภาษาและความเคยชินจะต่างกันชนิดฟ้ากับเหวแล้ว นิสัยการทำงานก็ยังไม่เหมือนกันอีกด้วย ฝรั่งจะนินทาคนไทยว่ายังไรบ้าง มาแอบฟังกันดีกว่า....
เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทยๆ เราก็ได้คำตอบว่า:

1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง

คน ไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี
- เจฟฟรีย์ บาร์น

2. การโต้แย้ง
เมื่อ มีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้งๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า " ขี้เกรงใจ " แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
- ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ

3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด
เอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมาทั้งๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร
- ไมเคิล วิดฟิล์ค

4. ความรับผิดชอบ
1. ฝรั่ง มองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้งๆทีงานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาใน การทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
2. ไม่ค่อยยอมผูกพัน และรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก
- สเตฟานี จอห์นสัน

5. วิธีแก้ไขปัญหา
คน ไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า หลายคั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรต้องรอให้ เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตามถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสีย ไปหมด
- ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก

6. บอกแต่ข่าวดี
คนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
1. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
2. จะ เลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริงหรือถ้าหากเจ้านายถามว่า จะทำงานเสร็จทันเวลาๆหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย
- โจนาธาน ธอมพ์สัน

7. คำว่า " ไม่เป็นไร "
เป็น คำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า " ไม่เป็นไร " มาแก้ปัญญหาแทน
- เจนิส อิกนาโรห์

8. ทักษะในการทำงาน
1. ไม่ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2. ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
3. พนักงาน ชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องร าวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้ไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม
- เดวิด กิลเบิร์ก

9. ความซื่อสัตย์
พนักงาน คนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน
- เฮเบิร์ก โอ ลิสส์

10. ระบบพวกพ้อง
คน ไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อนๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง
- มาร์ค โอเนล ฮิวจ์

11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว
คน ไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
1. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
2. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
3. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที
4. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
5. ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
- วิลเลี่ยม แมคคินสัน

12. นับถือระบบอาวุโส
คน ไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการข้ามหน้าข้ามตา บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกเพราะเกรงใจคนที่อายุมาก เป็นการทำลายโอกาสของตัวเอง และโอกาสของบริษัท
- เนลสัน ฟอร์ด

 

ผมเห็นด้วยว่า ถ้าเรามองแบบตื้นเขิน และผิวเผินแล้ว พี่น้องชาวไทยของเรามีลักษณะการทำงานเป็นอย่างนั้นจริงๆ

กระทั่งมีคำกระทบกระเทียบว่า "มา(ทำงาน)แบบไทย ไป(กลับบ้าน)แบบฝรั่ง" คือมาทำงานสาย แต่กลับบ้านตรงเวลา

กระนั้นก็ตาม ผมว่าออกจะไม่เป็นธรรมสักหน่อยหากไม่ได้มองลึกถึงรากของวัฒนธรรมของเรา
อย่าลืมว่า นิสัยการทำงานาของคนไทยนั้นเข้าใจว่าพัฒนามาจากสังคมเกษตร
แหลมทอง คือบริเวณที่ธรรมชาติเป็นมิตรกับมนุษย์

เราไม่มีฤดูหนาวอันยาวนานและอดอยาก

เราไม่ต้องเตรียมตัวกักตุนอาหาร

เราไม่ต้องต่อสู้กับธรรมชาติ ดังนั้นนิสัยการต้องทำงานให้เสร็จตามกำหนด (มิฉะนั้นจะอดตายในฤดูหนาว) ซึ่งพัฒนามาเป็น "ความตรงต่อเวลา" จึงไม่เหมือนฝรั่ง

"เมื่อสิ้นหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก"
"ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
พี่น้องเราเป็นพวกมีกิจกรรมให้ทำตลอดปี ไม่มีเวลา "ทำงานจริงๆ จังๆ แล้วเก็บสะสม" ในฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน และ "พักผ่อนจริงๆ จังๆ ไม่ทำอะไรเลย เป็นระยะเวลายาวนาน" (ซึ่งพัฒนาเป็นธรรมเนียมการทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย แล้วลาหยุดยาววววว เป็นเดือนๆ มาอาบแดดที่เมืองไทย ในฤดูที่เราเรียกว่า High season) ในฤดูหนาว

ในคติทางพุทธ กาลเวลาเดินทางเป็นวัฎฎะ เป็นวง เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ในฐานความคิดของเรานั้นเวลาไม่ได้เป็นเส้นตรงในแบบตะวันตก ซึ่งทุกอย่างจะไปตัดสินกันในวันพิพากษา

เราเป็นพวกเก็บกิน ปลูกกินเอารอบๆ บ้าน ไม่ใช่พวกนักล่า ที่ต้องวางแผนแก่งแย่ง ช่วงชิง ด้วยกำลัง ต้องสร้างระบบ และอาศัยการทำงานเป็นทีม เพื่อความอยู่รอด
ความเหี้ยมในสันดานเราจึงไม่เป็นแบบสัตว์ล่าเนื้อ ที่จ้องมองหาอาหารตลอดเวลา เพื่อเลี้ยงชีพตัวเอง
 
"งาน" ของเรา จึงต่างจาก "งาน" ของฝรั่ง
 
งานบ้าน ก็เป็นงาน, งานรื่นเริง ก็เป็นงาน, งานบุญ ก็เป็นงาน

งานของเรา มีอารยะธรรมอย่างสูงในแง่ของการ "รักษาน้ำใจเพื่อนร่วมงาน" เพราะ คนของเราอยู่ติดที่ เราต้องการรักษาแรงงานเพื่อทำนา แล้วมาแบ่งกันกิน

เราไม่ค่อยอพยพย้ายถิ่น เพื่อหาแหล่งเนื้อสัตว์ เราไม่เชื่อว่า ผู้อ่อนแอต้องหลีกทางให้ผู้เข้มแข็งกว่าในสังคมเกษตรเราสถาปนาความสัมพันธ์เชิง "งาน" ในทางกว้าง แต่สถาปนาความสัมพันธ์เชิง "คน" ในทางลึก ความรู้สึกในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของเรา จึงไม่เข้มข้นรุนแรงเท่ากับคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว

ฐานของสังคมเราอยู่บน "ความเกื้อกูล" และความเกื้อกูลนี้เอง เป็นทุนประเภทหนึ่งซึ่งสามารถแปรออกมาเป็น "ผลประโยชน์ร่วมกัน" ได้

การถนอมความรู้สึกของคน ในรูปของความเกรงใจ ในนิสัย "ไม่เป็นไร" จึงเป็นเรื่องสำคัญ
บางที และสำหรับบางคน มันสำคัญกว่าผลประโยชน์ของบริษัท (ซึ่งอาจจะไม่ใช่ "ผลประโยชน์ร่วมกัน")

เห็นจริง และเห็นด้วยว่า "งาน" ในมุมมองของฝรั่ง คนไทยไม่ใช่ผู้ร่วมงานที่ "ก่อให้เกิดประสิทธิผล" และ "ส่งผลดีต่อบริษัท" มากนัก

แต่การใช้กติกาที่พัฒนาอย่างยาวนานให้เหมาะสมกับนิสัยสันดานคนตะวันตก มาใช้วัดเอากับคนตะวันออกจึง ไม่ถูกต้องเท่าใดนัก

เพื่อความเป็นธรรม ถ้าเราสวมหมวกเกษตรกรมองพวกคุณฝรั่งที่กรุณาให้ความเห็นข้างบนนั้นบ้าง เราก็อาจมองได้ว่าพวกคุณนั้น เป็นพวกเครียด ขาดความยืดหยุ่น ไม่ประณีประนอม ไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ ยึดแน่นแต่กฎระเบียบเป็นสรณะ ใช้ความโลภเป็นแรงขับ เน้นเรื่องการแข่งขัน ไม่มีที่ว่างสำหรับคนแพ้ และมีชีวิตที่ไม่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อม มุ่งแต่จะเอาชนะธรรมชาติ (พอเกิดภาวะโลกร้อนค่อยมาสำนึก)

ดังนั้นผมเห็นว่า อย่ามาบ่นเลยดีกว่าว่าคนไทยแย่อย่างไร เมื่อใช้มาตรฐานการวัดของคุณ ทำความเข้าใจคนไทยให้มากขึ้นแล้วปรับระบบให้ทุกคน มีความสุขในการทำงานจะดีไหม

ผมว่าได้อย่างนั้นก็ดีนะ....ไม่ได้ ก็...ไม่เป็นไร

หมายเลขบันทึก: 209650เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบมุมมองที่อาจารย์สรุปค่ะ ^ ^

มองแบบพุทธแล้ว มันก็ ไม่เป็นไรจริงๆ นั่นแหละค่ะ

น่าสนใจมากครับ อาจารย์แยกแยะได้เห็นภาพเลย  อย่างไรก็ตามไม่ว่าชาติไหนจะเป็นอย่างไรก็เป็นคนเหมือนกัน

ขอบพระคุณ อ.กมลวัลย์ กับพี่เอกราชครับ

ผมว่ามันแปลกดีครับ

การมาอยู่ต่างประเทศ ทำให้เข้าใจ ความเป็นไทยมากขึ้น

มัทว่าฝรั่งที่เริ่มรู้ว่าการทำงานที่ดีควรเป็นอย่างไรก็เริ่มมีให้เห็นแล้วค่ะ (คลิก)

แล้วเมื่อไหร่จะมีนายคนไทยที่เป็นตัวอย่างเริ่มทำอะไรให้เค้ากับคนไทยบ้างเนอะ หรือเป็นนายไทยสร้างระบบให้ลูกน้องฝรั่งซะเลยยิ่งดี

 

ขอบพระคุณ อ.มัทนาที่ส่งลิงค์น่าสนใจมาให้ครับ

เวลาที่ได้มาเจอคนไทยที่ออสเตรเลีย แล้วพวกเขามักจะพูดว่า ที่ออสเตรเลียดีอย่างโน้นอย่างนี้ นิสัยของคนที่นี่ดีอย่างโ้น้นอย่างนี้ ไม่เหมือนคนไทย เราน่าจะมี น่าจะเป็นอย่างเขาบ้าง

พี่มักตอบพวกเขาไปเสมอว่า ถ้ามันเหมาะกับสังคมเรา มันก็คงจะมีจะเป็นอย่างเขาแล้วล่ะ บ้านเราไม่เหมือนออสเตรเลีย แต่ไม่ได้แปลว่ามันดีกว่า หรือมันแย่กว่า บ้านเรามันเป็นอย่างที่มันเป็น

เมื่อครั้งมาที่ออสเตรเลียใหม่ๆ พี่ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมาศึกษา "วิธีคิด" ไม่ใช่มาลอก "รูปแบบ" ของงานทันตสาธารณสุขที่นี่ เพราะตอนนั้นเข้าใจว่า วิธีคิดนั้น คือฐานของทุกสิ่ง

อยู่มานานเข้า พอเข้าใจวิธีคิดของฝรั่งบ้าง แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจว่าการทำงานให้เหมาะกับสังคมไทยนั้น แม้แต่ วิธีคิด ก็ต้องพัฒนามาจากรากของเรา

พี่ว่าการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ช่วยให้เรามองข้ามภาวะความเป็นคู่ตรงข้าม และพยายามเข้าใจในสิ่งที่มันเป็นเนอะ ไม่มีของเขา ของเรา ไม่มีดีกว่า เลวกว่า มีแต่ว่าจะเข้าใจสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างไร แล้วควรจะมีท่าทีกับมันอย่างไร

"ช่วยให้เรามองข้ามภาวะความเป็นคู่ตรงข้าม"

นี่คือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด

ปัญหาวุ่นๆก็มาจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เลยเนอะคะ

มาช่วยกันช่วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท