คำควบกล้ำ


ชนิดของคำควบกล้ำ

 คำควบกล้ำแท้-ไม่แท้

  คำควบกล้ำ  หมายถึง  คำที่มีพยัญชนะสองตัวเขียนเรียงติดกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน

เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน   เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
                                                      คำควบกล้ำ  มี  2  ชนิด คือ  คำควบแท้  และ  ควบไม่แท้
            คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร    ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน   เช่น
           พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่   พร้อม  เพราะ   ใคร   กรอง  ครองแครง ขรุขระ  พระ ตรง ครั้ง  กราบ โปรด ปรักปรำ  ปรับปรุง   ครื้นเครง  เคร่งครัด  ครอบครัว  โปร่ง
          พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่  กลบเกลื่อน  กลมกลิ้ง  เกลี้ยกล่อม  เกลียวคลื่น    เคลื่อนคล้อย   ปลา   ปลวก  ปล่อย    เปลี่ยนแปลง    คลุกคลาน   เพลิง   เพลิดเพลิน    คล่องแคล่ว   
          พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่  แกว่งไกว   กวาด  กว่า   ขวาง  ขว้างขวาน ขวิด   แขวน ขวนขวาย   ควาย    เคว้งคว้าง   คว่ำ  ควาญ   ความ  แคว้น ขวัญ ควัน
                                                                                   คำควบไม่แท้
         คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร  ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป
         คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า  ได้แก่พยัญชนะ จ     ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้าสร้อย  ศรี   ศรัทธา  เสริมสร้าง  สระ  สรง  สร่าง
         คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม  มัทรี  อินทรี  นนทรี  
 

                                 Img_1439 ดอกดาวกระจาย

                                                     

คำสำคัญ (Tags): #คำควบกล้ำ
หมายเลขบันทึก: 209036เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท