ก้าวที่มั่นคง หลังมี พรบ. กศน.


ความยากลำบากในการพิสูจน์ตัวเอง

          เมื่อหน่วยงาน กศน. มีโอกาสด้วยการมีกฏหมายเป็นของตนเอง ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า พรบ กศนหรือชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  หลายสิ่งหลายอย่างที่มีแนวโน้มส่อไปในทิศทางที่ดี  เกือบจะทุกอย่างเราไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ เพียงแต่จัดทัพให้เข้ารูปเข้ารอยเท่านั้น และบางอย่างเราริเริ่มใหม่ให้มีระบบรัดกุมขึ้น เพื่อตอบโจทย์ทางสังคม

          โจทย์ทางสังคมประการสำคัญ คือ คุณภาพของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  หลายคนไม่เข้าใจ จึงนำเอามาตรฐานของการศึกษาในระบบโรงเรียนมาเปรียบเทียบ และในที่สุดก็สรุปว่าการศึกษานอกโรงเรียนไม่มีมาตรฐาน แต่เขาไม่ระบุข้อความให้ครบถ้วน ที่ถูกเขาต้องสรุปดังนี้ การศึกษานอกโรงเรียนไม่มีมาตรฐานเมื่อเทียบกับมาตรฐานของการศึกษาในระบบโรงเรียน  ที่ต้องอธิบายอย่างนี้ เพราะเราใช้มาตรฐานคนละอย่างกัน

          เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่สังคม การวัดผลประเมินผลในภาคเรียนนี้  ท่านเลขาธิการ จึงสั่งการให้ทุกสถานศึกษาดำเนินการสอบอย่างเข้มข้น ทุกขั้นตอนต้องมีคณะกรรมการกำกับ ดูแลอย่างเคร่งครัด  ข้อสอบใช้ข้อสอบเดียวกันทั้งประเทศ ตรวจด้วยเครื่องตรวจกระดาษคำตอบที่มีมาตรฐาน มีความเป็นสากล ทุกอย่างที่ดำเนินการไปก็เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมว่ามาตรฐานของ กศน. อยู่ตรงใหน และช่วยให้คน กศน.เองรู้ตัวตนที่แท้จริงของตนเองด้วย 

          อาทิตย์ที่ 21 และ 28 กันยายนนี้ ภาระในการสร้างความเป็นปึกแผ่น อย่างมั่นคงของคน กศน. คงหนักอื้ง  และเหน็ดเหนื่อย แต่การเหน็ดเหนื่อยครั้งนี้ คงจะดีกว่าการทนรำคาญที่ต้องตอบสังคมว่า มาตรฐานของงาน กศน. เป็นอย่างไร และอยู่ตรงใหน จริงอะปล่าว

 

หมายเลขบันทึก: 209021เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ

          เข้ามาเยี่ยมชมมาตรฐานของ กศน.ครับ

          การศึกษาในระบบเอง  มาตรฐานก็ยังแกว่งๆ อยู่ครับ

                             ขอบคุณครับ

เรียนคุณ Small man ที่เคารพ

         ผมคิดว่า สรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่มั่นคงและจีรังหรอกครับ ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาพบกันครับ

กศน.ของเรามีมาตรฐานอยู่แล้ว...เพียงแต่ว่าเรา (คนกศน.) ได้นำมาตรฐานมาใช้กันหรือไม่ ?

เรียน คุณคนหลังเขา

ผมไม่ปฏิเสธว่า กศน. มีมาตรฐานอยู่แล้ว แต่เราตอบสังคมไม่ได้ว่ามาตรฐานของเราป็นอย่างไรต่างหาก ขอบคุณที่ให้ความคิดดี ๆ เสมอ

กศน.มีกฏหมายเป็นของตนเอง เรียกว่า พรบ.กศน. พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สิ่งที่ตามมาคือการประกันคุณภาพการศึกษา การรับรองมาตรฐานในด้านผู้เรียน ผู้รับบริการ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัย 9 มาตรฐาน 28 ตัวบ่งชี้ เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมว่ามาตรฐานของ กศน. อยู่ตรงไหน ? และช่วยให้คน กศน.รู้ตัวตนที่แท้จริงของตนเอง แล้ว...คนกศน.พร้อมหรือยัง ? กับการประกันคุณภาพภายในและภายนอก...!!!

จะมีมาตรฐานหรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติ เริ่มต้นมาดี ลงเอยก็ต้องดี เราจะต้องมีคุณภาพ

ในเมื่อเรามีพรบ.กศน. ไม่ว่าจะอยู่ในระบบหรือนอกระบบ คือการจัดการศึกษาเหมือนกัน

พ.ร.บ นี้เป็นสิ่งที่ทุกคนรอการปรับเปลี่ยนมานานแล้วค่ะเพราะเด็กยิ่งน้อยการดูแลยิ่งง่ายสามารถตามได้ทุกคนและดูแลได้อย่างทั่วถึง อยากจะขอบคุณผู้ที่ร่วมออก พ.ร.บนี้จากใจจริงค่ะ ต่อไปนี้เราจะได้ตอบสังคมได้ซักที่

มาตรฐานของกศน. อยู่ที่วัฒนธรรมการทำงานมากกว่า ถ้าเรายังยึดติดกับวัฒนธรรมการทำงานเดิมๆ โดยไม่ยอมปรับตัวกับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามา...แล้วมาตรฐานกศน.จะเกิดขึ้นได้อย่างไร...แต่มีความเชื่อมั่นว่าคนกศน. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานอยู่แล้ว...

...เป็นประเด็นน่าคิด และติดตามกันต่อไป...

ครูเฝ้าดอย คอยเฝ้าดู ครูหลังเขา

ครูหนักเอา เบาสู้ ครูไม่ถอย

ครูเคยรวย ช่วยค้ำชู ครูเฝ้าดอย

ครูน้อยน้อย คอยเฝ้าดู ครูไม่มา

ครูอยู่ไหน ไม่รู้ ครูหลังเขา

ครูดอยเฝ้า รอครู สู่บ้านป่า

ครูน้อยน้อย คอยครู ทุกเวลา

ครูอยู่หน้า หรือหลังเขา เราเฝ้าคอย...

เพ็ญนภา พันธุ์เจริญ

สุวิชา โน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีคือผู้เจริญ

สายพิณ (สาวเมืองสิงห์)

ขอบคุณท่าน ผอ.สมนึกค่ะ ที่ให้ความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีสิ่งใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาให้อ่านอยู่ตลอดเวลา อ่านแล้วนำไปปรับใช้ในการปฎิบัติงานและให้ข้อคิด อยากถามว่าทำไมคนเราไม่ยุติธรรม ทำไมต้องรักลำเอียง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท