เรื่องเล่าจากการได้เรียนรู้การใส่เฝือกที่เท้าจากคุณณัฐศศิ


ขั้นตอนการรักษาด้วยการใส่เฝือกที่เท้า

 

                 เรื่องเล่าจากการได้เรียนรู้การใส่เฝือกที่เท้าค่ะ 

ผิดพลาดตรงไหน  หรือควรเพิ่มเติมอย่างไร  รบกวน ช่วยแนะนำด้วยค่ะ  

ขอบคุณค่ะ  ณัฐศศิ

 

Case  พระภิกษุ ส.  อายุ  70  ปี  มาโรงพยาบาลด้วยเรื่อง  แผลที่นิ้วโป้งขวา  เป็นมาประมาณ  1 เดือน 

                               ประวัติการเจ็บป่วย -  เป็น DM มา 20 ปี  รักษาด้วยยาทานและยาฉีด

                                                               -  ถูกตัดนิ้วกลางและนิ้วนางเท้าซ้าย  เมื่อปี 2550

                               ประวัติการสูบบุหรี่  -  วันละ  5 ซอง  เลิกบุหรี่มาแล้ว  20  ปี

                                การวินิจฉัยโรค         DM  Rt . Foot

                                                  Tineapedis  Lt.  Foot

 

                       

                                   

 

                                  แผลที่เท้าได้รับการดูแล  ลักษณะของแผลแห้งดี   มีแผลอยู่สองตำแหน่ง  คือ

                                     บริเวณฝ่าเท้าใกล้นิ้วโป้ง   และบริเวณด้านข้างนิ้วโป้ง

 

 

                                  

 

                            ก่อนการใส่เฝือกได้มีการวัดขนาดของแผลทั้งสองตำแหน่งไว้เพื่อใช้ในการประเมิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการรักษาด้วยการใส่เฝือกที่เท้า

 

ขั้นตอนที่ 1  Scrub  แผล

 

 

                                   

 

 

 

ขั้นตอนที่ 2  Dressing  แผล

 

 

 

Wet  dressing

 

 

 

                       

 

ป้ายด้วย  Intrasite  gel  (เพื่อให้ความชุ่มชื้นกับแผล)

 

 

 

 

                      

 

 

ปิดด้วย  Melolin (ช่วยระบายอากาศและป้องกันการติดแผล)

 

 

 

                   

 

ใช้ Medipore  หรือ   Fixomull  (เพื่อไม่ให้หลุด)

 

 

 

ขั้นตอนที่ 3   ขั้นตอนการใส่เฝือก

3.1      ใส่เฝือกรองแข็ง  4 * 15 นิ้ว  (เพื่อ  off  loading ) เฝือกจะมี 2 ด้าน ให้ใช้ด้านที่เป็นโฟมกับผู้ป่วย

  

 

                                  

 

 

เฝือกจะมี 2 ด้าน ให้ใช้ด้านที่เป็นโฟมกับผู้ป่วย

 

                                              

 

 

 

                     

 

 

                                  มีการวัดเฝือกกับเท้าเพื่อปิดแผล   ก่อนใส่เฝือกต้องลูบน้ำที่เฝือกเล็กน้อย 

                                  และใส่เฝือกตรงตำแหน่งที่ต้องการเพื่อลดแรงกด

 

   

3.2      ใช้ EB  2 ″ พัน เพื่อป้องกันไม่ให้เฝือกหลุด

 

 

 

                       

 

 

 

 

 

 

3.3      ให้ผู้ป่วยยืนลงน้ำหนัก ไปที่เฝือกรอจนเฝือกแข็ง ซี่งเฝือกจะแข็งตัวในอากาศ

 

 

                                            

 

 

 

3.4      เมื่อเฝือกแข็งตัวแล้วให้คลาย EB ออก

 

 

                              

 

 

 

3.5      จากนั้นนำ webrill พับเป็นสี่เหลี่ยมกั้นแต่ละนิ้วไว้ และปิดคลุมด้วย webrill อีกรอบ ใช้ micropore ปิดทับเพื่อยึดตัว webrill ไว้

 

                                  

 

 

 

3.6      ใส่ถุงเท้า (ก่อนใส่ให้ตัดปลายด้านบนของถุงเท้าให้พอดีสำหรับสอดท่อ ซึ่งท่อนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวในการตัดเฝือก) สอดท่อ

 

                                                     

 

 

3.7      ตัดฟองน้ำเป็นทางยาวกว้าง ~1 นิ้ว พันบริเวณรอบเท้าด้านบนปิดบนถุงเท้า

           ตัดอีก 1 ชิ้นเพื่อปิดปลายนิ้ว

 

 

 

                        

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.8      ใช้ solf cast 2 นิ้ว (ไม่ใช่ scoth cast) เวลาที่เซทตัวจะนุ่มยืดตัวคล้ายรองเท้าผ้าใบพันรอบ ๆ เท้า

 

 

 

                     

 

 

 

 

3.9      นำแผ่นเฝือกรองแข็งมาวางทาบลงบนฝ่าเท้า

 

 

 

                        

 

 

 

 

 

 

 

3.10  พันด้วย solf cast ให้แน่นกระชับ

 

                      

 

 

 

3.11  พลิกถุงเท้าลงมาระดับรองเท้า พันด้วย solf cast  เมื่อพันเสร็จแล้ว ใช้มือจุ่มน้ำลูบให้ทั่วจนรู้สึกว่าไม่ติดยางเหนียว

 

 

 

 

 

 

3.12  ตัดตรงกลางของท่อที่สอดไว้

 

 

                                     

 

3.13  ถอดเฝือกออกโดยเปิดด้านส้นเท้าก่อน

 

 

 

 

3.14  ตกแต่งเฝือกให้สวยงาม เหมาะสม

 

 

 

3.15  ปิดขอบเฝือกให้เรียบ

 

 

3.16  ตกแต่งเฝือกรองเท้าให้สวยงามพร้อมใช้งาน

 

     

 

 

 

 

 

(และขอขอบคุณ ผู้อยู่เบื้องหลัง ผู้เป็นตัวแทนของบริษัท 3m ที่กรุณาให้ความสนับสนุนเวชภัณฑ์ครับ )

(นพ.เชิดพงศ์ หังสสูต) 

หมายเลขบันทึก: 208927เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณที่ให้ความรู้กับคนที่สนใจและมีประโยชน์ดีจัง ทำให้รู้ว่าคนที่มีแผลที่เท้าควรทำอย่างไรชอบค่ะ

นพ.เชิดพงศ หังสสูต

ขอขอบคุณ คุณณัฐศศิ มากครับ

ผมเป็นหมอผ่าตัดที่ร.พ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ มีความสนใจเรื่อง diabetic foot care มานาน ตอนนั้นสนใจในแง่ของ vascular surgery และเมื่อมาทำงานที่นี้พบผู้ป่วย diabetic foot เยอะอยากตั้ง diabetic foot clinic ในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลแต่ไม่ทราบว่าจะมีที่ให้อบรมและดูงานได้ครบกระบวนการทั้งการจัดการและในแง่ของ practice ในช่วงเวลาใกล้ๆ นี้เช่น ต.ค.-ธ.ค.51นี้ หรือเปล่าช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

เรียน ท่าน นพ.สามารถ ภูวไพรศิริศาล ที่เคารพ

เท่าที่ทราบใน ประเทศตอนนี้ยังไม่มีนะครับ แต่ ผม และ

คุณหมอ นพ.ทํศนพงศ์ Plan จะไปอบรม ต่างประเทศ ต้นปีหน้า สนใจติดต่อมาได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท