Kaizen แบบฉบับของโตโยต้า


Kaizen ของโตโยต้า เป็นการต่อขั้นบันไดมาตรฐานคุณภาพขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

ปารมี น่าจะมีโอกาสไปดูงานที่โตโยต้า เพราะงานแล็บเป็นงานที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ไปดูว่าเขาทำอย่างไร ให้มีชีวิตชีวา เขาทำอย่างไรให้ไม่น่าเบื่อ และขับเคลื่อนคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง”   นี่เป็นคำชวนของอ.วิจารณ์ และเป็นสิ่งดึงดูดใจ ที่ทำให้พยายามขอไปร่วมแจมดูงานที่บ.โตโยต้ากับเขาด้วย ทั้งที่ไม่อยู่ในก๊วนของ UKM เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา

ก็ได้เห็นการทำงานซ้ำๆ ตามที่อาจารย์บอกไว้จริงๆ ค่ะ  แต่ละคนรับผิดชอบงานเป็นจุดเล็กๆ (เล็กมากๆ จุดที่รับผิดชอบใช้เวลาทำไม่เกิน 1 นาที แล้วต้องทำอย่างนั้นซ้ำทุก 1 นาที ทั้งวัน !!

คำตอบหนึ่งของโจทย์ข้อนี้ ก็คือเพราะโตโยต้าเขามี ค่านิยม (core value) เรื่อง Kaizen
คำว่า "KAI" คือ Continuous คำว่า "ZEN" คือ Improvement  ดังนั้น KAIZEN เท่ากับ Continuous Improvement    Kaizen ของโตโยต้า มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ดังรูปนี้ค่ะ

Kaizen ของโตโยต้า เป็นการต่อขั้นบันไดมาตรฐานคุณภาพขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และในการปรับปรุงแต่ละครั้ง จะต้องมีการตรวจสอบจนมั่นใจ จนยอมรับเป็นมาตรฐานได้ (standardization) หลังจากนั้น ก็ปรับปรุงรอบต่อไป (ด้วยวง PDCA) เพื่อยกระดับของมาตรฐานนั้นขึ้นไปอีก และทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  การทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะมีโอกาสพบนวัตกรรมใหม่ๆ ได้  อีกจุดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของไคเซ็นโตโยต้า  ก็การมี Yogoten คือการถ่ายทอดความรู้ และ  เผยแพร่แนวความคิดดีๆ ไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร

กิจกรรมภายใต้แนวคิดนี้ มีทั้ง Kaizen ระดับบุคคล และระดับกลุ่ม
ระดับบุคคล คือการจัด Idea Contest เพื่อให้พนักงานนำเสนอ ความคิดใหม่ ๆ ในการปรับปรุงการทำงาน มีการเสนอความคิดกันมากกว่า 1 พันความคิดต่อเดือน และมีรางวัลให้ความคิดดีเด่น แล้วจะมีการเผยแพร่ความคิดนั้นไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร  ที่ไปเห็นตอนดูในโรงงาน ก็เห็นเขามีแผ่นกระดาษเล็กๆของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ติดอยู่ที่บอร์ดใกล้พื้นที่ปฏิบัติงาน และเขียนว่า “ข้อเสนอแนะ”  คิดว่าวิธีการนี้ น่าสนใจ เพราะคนเรามักจะเกิดความคิดในการปรับปรุงงาน หรือเกิดอาการ “ปิ้งแว๊บ” ในขณะที่กำลังทำงานอยู่ แล้วก็สามารถบันทึกไว้ได้ทันที
ระดับกลุ่ม เป็นกลุ่ม QC ประมาณกลุ่มละ 10 คน มีนำเสนอในเวทีคุณภาพ ระดับต่างๆ เพื่อคัดเลือกไปสู่เวทีระดับใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ (เหมือน Otop ของเรา!)

ในด้านเทคนิค (แนวปฏิบัติ) การทำ Kaizen ที่โตโยต้าใช้หลักการสำคัญคือ

  1. ใช้หลัก 5 ส เป็นพื้นฐาน ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย สิ่งที่ปรับปรุงต้องทำให้ง่ายขึ้น ลดต้นทุน (น่าจะเรียกว่าเป็นแนวคิด 5 ส ท้าทายของคณะแพทย์ของเรา)
  2. หลัก 5 Why คือ การถามคำถาม 5 ครั้ง จนกว่าจะเข้าใจและสามารถตอบคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง นั่นคือ ถ้าเราถามว่า “ทำไม” ครบ 5 ครั้ง จะรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
  3. หลัก Visualization คือ ทุกอย่างต้องมองเห็น เช่น การมีสัญญาณแสดงความก้าวหน้าของการผลิต หรือการทำงานในแต่ละวัน เพื่อช่วยเตือนสติและควบคุมการทำงานให้เสร็จภายในกำหนด

ที่จริงหากพิจารณาให้ดี Patho Otop ของเรา ก็คล้ายกับ Kaizen ของโตโยต้าอยู่ไม่น้อย แต่ก็เห็นช่องทางที่จะนำวิธีการบางอย่างของโตโยต้าไคเซ็น มาเติมเต็มการขับเคลื่อนคุณภาพของเราในบางส่วน อาทิ:-

  • ให้ความสำคัญกับ แนวคิดการปรับปรุงงาน ถึงแม้จะเป็นจุดเล็ก จุดน้อย
  • ขยาย Kaizen ไปถึงระดับลูกจ้าง คนงาน ซึ่งส่วนนี้ Patho Otop ยังไปไม่ถึง
  • เผยแพร่แนวคิด ทำทุกอย่างให้เห็น (vitualization) (ตอนนี้ ก็ขาย idea ให้ทีม ISO แล้ว, ดูบันทึกพี่เม่ย)
  • และที่สำคัญ คือ ทำให้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” หรือ Kaizen เป็นอุดมการณ์ (ค่านิยม) ที่ฝังลึกอยู่ในหัวใจ และปรากฎเป็นวิถีปฏิบัติในชีวิตการทำงานประจำวันของคนพยาธิ มอ.

หมายเหตุ ข้อมูล Kaizen บางส่วนมาจากบันทึกของ อ.สมลักษณ์ มน.

หมายเลขบันทึก: 20880เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2006 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อาจารย์บอกว่า "ขยาย Kaizen ไปถึงระดับลูกจ้าง คนงาน ซึ่งส่วนนี้ Patho Otop ยังไปไม่ถึง " ผมขอตอบแทนครับว่าไปถึงครับ แต่ขาดการยอมรับจากคนอื่นๆ เพราะอะไรครับก็เพราะเขาคิดเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ผมว่ามันไม่เล็กเลย เพราะงานทุกอย่างต้องเริ่มจากจุดเล็กๆครับ

หลังจากนี้สักเดือน สองเดือน คาดว่าจะเปิดตัวโครงการสำหรับรองรับ idea เล็กๆ แต่คุณค่าไม่เล็กเหล่านี้ บอกพักพวกรออีกนิดนะคะ 

เขียนผิดอีกแล้ว ขอแก้ พักพวก เป็น พรรคพวก ค่ะ
ขยาย Kaizen ไปถึงระดับลูกจ้าง คนงาน ซึ่งส่วนนี้ Patho Otop ยังไปไม่ถึง  ตอนนี้เท่าที่ทราบ (อาจเพราะตัวเองเป็นสมาชิกอยู่)  Patho Otop ไปถึงระดับลูกจ้าง พนักงานห้องทดลองแล้วน๊ะค๊ะ อย่างหน่วยเคมีก็มีถึง 2 โครงการ ของคุณผอบ เป็นหัวหน้าโครงการกลุ่มตาทิพย์  เรื่อง 2 barcode  คุณประจิม หัวหน้าโครงการ ตามรอย tube NaF blood  คุณอรอนงค์ หน่วย OPD หัวหน้าโครงการเรื่องประหยัดพลังงาน 
แต่ไม่ทราบว่าหน่วยอื่น ๆ จะมีอยู่มั๊ย?  หรืออาจเป็นไปได้ว่าความเข้าใจว่าโครงการ Patho Otop เป็นเรื่องของข้าราชการสายข สายค รึเปล่า? ค๊ะ 
 ก็แก้คำผิดหน่อยครับ "เขาคิดเป็นเรื่องเล็กๆ" ผมพิมพ์ตกไปครับขอโทษจริงๆ อันที่จริงผมจะเขียนว่า "คนอื่นๆคิดว่าเป็นเรื่องเล็กแต่สำหรับคนคิดมันไม่ใช่เรื่องเล็กแต่มันเป็นปัญหาที่ควรแก้จากจุดเล็กๆ  ผมก็ขอโทษจริงๆครับ
กำลังจะเขียนเรื่องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระเบียบปฏิบัีติของบริษัท แต่ไม่มีแนวทางเลยคะ รบกวนหน่อยได้มั๊ยคะ

ตอบคุณ bee 

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีรูปแบบตายตัว มีวิธีการมากมายที่หน่วยงานจะใช้ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นบริบทองค์กร โครงสร้างองค์กร ลักษณะของคนในองค์กร วัฒนธรรมที่มีอยู่ ฯลฯ  ผู้ออกแบบต้องวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้ พร้อมทั้งอาจศึกษารูปแบบต่างๆ ที่หน่วยงานอื่นใช้ ในแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งใน gotoknow

โตโยต้า ได้รับรางวัล KAIZEN เหรอคะ

อยากทราบตัวอย่าง การทำไคเซน ภายในฝ่ายบริการ หรือตามออฟฟิตสำนักงานค่ะ

ตอนนี้กำลังทำรายงานส่งอาจารย์ จึงอยากจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท