อเมริกาอาจจะขาดหมอ 200,000 คนในปี 2020


...

ภาพที่ 1: ภาพห้องสวนตรวจ-รักษาโรคหัวใจอันทันสมัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทูเลน นิวออร์ลีนส์ สหรัฐฯ ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ - picture from Reuters

...

ภาพที่ 2: คุณหมอพม่าออกหน่วยหลังพายุนาร์กีสด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขตอิระวดี ออกหน่วยกับเรือพม่าต้องคอยโยกลูกสูบเพื่อสูบน้ำออกจากเรือเป็นพักๆ  (ภาพคุณหมอกำลังสูบน้ำออกจากเรือ) นี่ถ้าฝนตกจะต้องโยกลูกสูบเร็วแบบสุดฤทธิ์เลย ไม่อย่างนั้นเรืออาจจะจม เนื่องจากฝนที่นั่นตกหนักมาก

...

ภาพที่ 3: คุณหมอพม่าออกหน่วยกำลังตรวจคนไข้ท้อง คุณหมอท่านนี้ทำคลินิกวันจันทร์ถึงศุกร์ วันเสาร์-อาทิตย์ออกหน่วยช่วยชาวบ้าน คนที่ถักผมเปียหันหลังให้เป็นคุณพยาบาลที่มีน้ำใจงดงามมาก เป็นคนประสานงาน หาหมอมาออกหน่วยช่วยชาวบ้าน

คุณหมอท่านนี้บอกว่า ความใฝ่ฝันของท่านคือ อยากจะมาเรียนต่อด้านระบาดวิทยาในเมืองไทย

...

ภาพที่ 4: คุณหมอพม่าที่เพิ่งสูบน้ำออกจากเรือ ตอนนี้กำลังตรวจคนไข้ คุณพยาบาลช่วยอยู่ข้างๆ คนไข้อีกรายกำลังมากับรถพยาบาลสนาม (หามมา)

...

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการสำรวจความนิยมของนักศึกษาแพทย์อเมริกาครั้งล่าสุดว่า อเมริกามีแนวโน้มจะขาดหมอมากกว่าที่คิด

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์คาเรน เบาเออร์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซาน ฟรานซิสโก สหรัฐฯ ทำการสำรวจความคิดเห็นนักศึกษาแพทย์ 1,177 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาแพทย์อเมริกาคิดว่า จะเรียนต่อด้านอายุกรรม (รักษาด้วยยาเป็นหลัก) เพียง 23% และคิดจะทำงานเป็นแพทย์ทั่วไป (general practitioners หรือ GP) เพียง 2%

นักศึกษาที่เหลือจะไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ เนื่องจากเบื่อหน่ายการดูแลคนไข้สูงอายุ ซึ่งมักจะมีโรคหลายอย่างพร้อมๆ กัน เจ็บป่วยเรื้อรัง และใช้เวลาตรวจนาน

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า อายุรแพทย์ (internists) และแพทย์ทั่วไป (general practitioners / GP) ในอเมริกาเป็นสาขาที่มีความต้องการมากที่สุดในอเมริกา

ทว่า... ได้รับความนิยมน้อยสุดๆ เนื่องจากเป็นสาขาที่มีรายได้น้อยกว่าสาขาอื่นๆ และต้องรับภาระการดูแลคนไข้สูงอายุที่ใช้เวลามาก และได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ

...

ผู้เชี่ยวชาญประมาณการณ์ว่า อเมริกาจะมีสัดส่วนคนสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงปี 2005 ถึงปี 2030 หรือ พ.ศ. 2548-2573

การมีสัดส่วนคนสูงอายุมากขึ้นหมายถึงการมีคนไข้ "หลายโรคเรื้อรัง" มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า อเมริกาจะขาดหมอประมาณ 200,000 คนในปี 2020 (พ.ศ. 2563)

...

ประเทศตะวันตกมีวิธีแก้ไขปัญหาขาดแคลนพยาบาล-หมอไม่เหมือนกัน อเมริกานิยมอิมพอร์ท (import = นำเข้า) หมอต่างประเทศไปทำหน้าที่พยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอฟิลิปปินส์ ซึ่งเก่งภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิม

ประเทศในยุโรป โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) นิยมอิมพอร์ทหมอต่างประเทศไปทำงานแพทย์ โดยเฉพาะหมอจากอินเดีย ศรีลังกา และอาฟริกา

...

ผลจากการนำเข้าหมอของยุโรปทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนหมอไปทั่วอาฟริกา และผลจากการนำเข้าพยาบาลของอเมริกาทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนหมอไปทั่วฟิลิปปินส์ (หมอฟิลิปปินส์อบรมวิชาพยาบาลก่อน แล้วเข้าไปทำงานพยาบาลในอเมริกา ซึ่งมีรายได้สูงมากๆ)

เมืองไทยเราก้าวเข้าสู่ยุคคนสูงอายุ หรือการมีประชากรสูงอายุมากกว่า 10% แล้ว ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ต่อไปเมืองไทยจะขาดหมอ และจะขาดพยาบาลมากกว่าหมอ เนื่องจากคนสูงอายุมักจะมีโรคเรื้อรังคนละหลายโรค ทำให้ต้องใช้บุคลากรดูแลมากขึ้นเรื่อยๆ และการดูแลคนไข้มีแนวโน้มจะต้องใช้ปริมาณพยาบาลมากกว่าปริมาณหมอ

...

อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ดี ท่านกล่าวว่า ถ้าไทยตั้งใจจะเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ของอาเซียน หรือ "เมดิคัลฮัพ (medical hub)" จริงๆ แล้ว

เราจะต้องรีบเร่งผลิต พัฒนา และส่งเสริมพยาบาลให้เรียนต่อพยาบาลเฉพาะทางด้วย เนื่องจากโลกของการแพทย์เฉพาะทาง (specialists) และการแพทย์เฉพาะทางสาขาย่อย (subspecialists) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งต้องเรียนต่อยอดจากพยาบาลวิชาชีพอีกมากมาย จึงจะแข่งขันกับมหาอำนาจในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย จีน เวียดนาม(กำลังเป็น "ว่าที่มหาอำนาจ") ฯลฯ ได้

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพ และป้องกันโรคไว้ เพราะต่อไปถ้าพยาบาลหรือหมอเกิดขาดแคลนขึ้นมาจริงๆ แล้ว "ตนเป็นที่พึ่งของตน" ไว้ละเป็นดีที่สุด

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                             

...

  • Thank Reuters > Maggie Fox. Julie Steenhuysen ed. > Critical shortage of internal medicine MDs foreseen > [ Click ] > September 10, 2008. // Source > JAMA.

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร > 10 กันยายน 2551.

...

 

หมายเลขบันทึก: 207663เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต้องหาคนที่มีความจริงใจในการพัฒนาประเทศและองค์การ

เข้ามาทักทายและหาความรู้ค่ะ

สัมนาฟรี!! แนะแนวการสอบ USMLE และ เส้นทางสู่ความสำเร็จใน การได้ Postgraduate

ทาง เรียนนอกดอทคอม ร่วมกับ ทาง KAPLAN MEDICAL COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Ms.Victoria Adam-Kaplan Reginald Manger, Asia-Pacific Region เชิญแพทย์และนักศึกษาแพทย์ผู้สนใจเข้าร่วมสัมนา ในหัวข้อ การแนะแนวการสอบ USMLE (United States Medical Licensing Examination) ให้แก่แพทย์ และนักศึกษาแพทย์ทาง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อแพทย์ที่มีความประสงค์ไปศึกษาต่อ หรือ ฝึกอบรมแพทย์ เพื่อเข้าเรียน Residency Training Program ในการเป็นแพทย์ประจำบ้าน เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ECGMG Certificate) เป็นแพทย์ในสหรัฐอเมริกา ซึงทาง Kaplan Medical ระยะเวลาของการสัมมนา จะใช้เวลาประมาร 1 ชั่วโมง

ในวันพุธที่ 3 มิ.ย. 2552 เวลา 14.00-16.00 น ที่สำนักงาน เรียนนอกดอทดคอม ผู้สนใจกรุณา สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่ 02-642-0371-5 รับจำนวนจำกัด

หัวข้อในการสัมนามีดังนี้ หลังจากนั้นจะเป็น Q & A

- The path to achieving a US Postgraduate Residency position at a hospital in the US

- What to expect in the USMLE exams and how to prepare for them

- How to apply for the exams and upcoming deadlines

- High yield subjects - what to focus on

- A full break down of Step 1, Step 2 CK and CS

- Study tips and Understanding 'USMLE Triple Jump' Questions

- How to secure the best US residency position

- Kaplan Medical course options

- Scholarship discount promotion

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท