การพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามแนวพระราชดำริ


" พอมี พอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าประเทศพอมีพอกิน ก็ยิ่งดี "

               วันนี้ (24 มีนาคม 2549) ดิฉันได้มีโอกาสหยิบสมุดบันทึกประจำตัวเล่มเก่าที่ได้บันทึกจบเล่มแล้ว  มาเปิดอ่านเพื่อทบทวนสิ่งที่ได้รับในวันเวลาที่ผ่านมา เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดีๆ มา ลปรร. ในเวทีเสมือนแห่งนี้ ก็ได้พบเรื่องหนึ่ง ซึ่งดิฉันประทับใจมาก จากการฟังการบรรยายของวิทยากรในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมนักฝึกอบรมแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ  คือ  การบรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามแนวพระราชดำริ บรรยายโดย คุณหญิงจรัสศรี ธีปิรัช  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ซึ่งท่านสามารถบรรยายและถ่ายทอดได้ประทับใจมาก ทำให้เห็นถึงพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แสดงให้เห็นถึงความพอเพียง ประหยัด เป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้นำ  และผู้บริหารที่ดี  ดิฉันขอสรุปเนื้อหาสาระเพื่อเผยแพร่ ลปรร. ดังนี้

               นักบริหาร กับ ผู้นำต่างกันอย่างไร

               นักบริหาร   มี 4 ระดับ

                1. อนุบาล  คือ    ระดับที่ทำงานง่ายๆ ได้ เช่น  บรุษไปรษณีย์ , พนักงานพิมพ์ดีด

                2. ขั้นต้น    คือ    รับผิดชอบโครงการง่ายๆ ได้

                3. ขั้นสูง     คือ    เป็นผู้จัดการโครงการหลายๆโครงการ บูรณาการโครงการ

                4. Super     คือ    สามารถใช้คนอื่นทำงานได้ ใช้นาย ทำงานได้ ใช้กอง อื่นๆ ได้

                ผู้นำ  คือ ผู้ที่สามารถนำพาองค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

                -นักบริหาร - บางคน ไม่มี ภาวะผู้นำ 

                -แต่ภาวะผู้นำ  - นำไปสู่การเป็นนักบริหารได้

                -ความเป็นนักบริหารที่ดี - ต้องมีภาวะผู้นำ  ต้องมีคุณธรรม

               ในหลวง ทรงครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุไม่มาก  พระองค์ทรงพระราชสมภพในประเทศสหรัฐอเมริกา  ทรงศึกษาที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กลับมาเรียนเมืองไทย ประมาณ 2-3ปี ที่รร.มาแตร์เดอี  พระองค์ทรงเกิด โต ที่เมืองนอก  แต่ท่านทรงมีความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์

               ต้องทราบพระราชประวัติ พระจริยวัตร วิธีคิดของการทำงานของพระองค์  โครงการพระราชดำริมีปรัชญาอย่างไร

               พระปฐมบรมราชโองการ

               -เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม-

                คือ คำสัญญา  พระราชปณิธาน ตั้งมั่นในพระทัย และตลอดมา ปีหน้าจะครบ 60 ปีที่ครองราชย์มา ทรงยึดมั่นตรงนี้ คือพื้นฐานเบื้องต้นของพระองค์ท่านว่า จะครองราชย์อย่างไร พระจริยวัตรเป็นอย่างไร

                เราจะเดินตามรอยพระยุคลบาทอย่างไร

                1. ตามรอยชีวิตที่เรียบง่าย 

                    - หลอดยาสีฟันของพระเจ้าอยู่หัว  พระองค์ท่านจะใช้จนหมด จนกระทั่งบีบไม่ออก  จึงทิ้ง  ยาสีฟันหลอดนี้มีข้อคิด- การมัธยัสถ์  

                    -  ฉลองพระองค์ เสื้อนอก  มีไม่ถึง 10 องค์  เสื้อเชิต ยี่ห้อสมใจนึก บางลำภู

                     - ฉลองพระบาท  ที่ทรงใช้อยู่  ยี่ห้อ นันยาง

                     - ดินสอ พระองค์ใช้เหลือ 2 นิ้ว  มหาดเล็ก นำไปทิ้งขยะ  พระองค์ท่านตามหาดินสอหายไปไหน มหาดเล็กต้อง กลับไปหามาคืนพระองค์ท่าน

                       - พระองค์ท่านทรงสอนพระโอรส ธิดา  พระองค์ทรงมีวิญญาณนักฝึกอบรมตลอด มีวิธีสอนที่ทรงปฏิบัติเอง 

                        -อย่าดูถูกเศษสตางค์

                        -คนเรามีทั้งคนดี และไม่ดีในตัวทุกคน แต่ต้องเอาความดีที่มีอยู่ในตัวทุกคนมาใช้

                2. ตามรอยสรรค์สร้างงาน

                     -พระองค์คิด ไม่เหมือนคนอื่นคิด  คิดแบบเรียบๆ ง่ายๆ  เช่น กังหันไชยพัฒนา เพื่อบำบัดน้ำเสีย  ใช้หญ้าแฝก ผักตบชวา  ที่โตเร็ว เพื่อดูดซับของเสีย ไปใช้ในบึงมักกะสัน เอาไม้ไผ่กั้น  และเอาที่เสียแล้ว ไปทำปุ๋ย  ทรงคิดแบบบูรณาการ  และทรงทดลองแล้วทดลองอีก กว่าจะนำไปใช้ได้  ฝนเทียม ใช้เวลา 10 ปี  พระองค์ทรงมีความตั้งใจ รู้จริง และทดลอง  ที่เขาใหญ่ ฝนตกชะดินหมด  ท่านให้ทดน้ำให้ค่อยๆไหลลง  ท่านเสด็จลงพื้นที่ ถามชาวบ้าน ปลูกข้าวได้กี่ถัง/ไร่ อย่าขายที่นา

                     3. ตามรอย รู้  รัก สามัคคี

                         -รู้   ถ้าได้รับให้ทำอะไร  ต้องรู้องค์รวม

                         -รัก     ทำงานด้วยใจรัก  รักการทำงาน

                         -สามัคคี    ร่วมแรงร่วมใจ

              หลักประพฤติปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท

               1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

               2. มีความอดทน มุ่งมั่นยึดธรรมะ และความถูกต้อง

               3. มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด

               4. มุ่งมั่นประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

               5. รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

               6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร

                7. มีความสุจริต และกตัญญู

                 เศรษฐกิจพอเพียง อะไรกันแน่

                  -พระท่านสอน  คนจน  มี  4  ประเภท

                  1. จนจริง         - จนจริงๆ

                  2. จนเพราะไม่พอ        - ติดอันดับโลก

                  3. จนปัญญา      - นั่งขอทาน

                  4. จนใจ       - คิดไม่ออก บอกไม่ถูก

                  ตอนนี้ประเทศไทย กำลังเจริญรอยตามอาเจนติน่า คำยอดฮิตตอนนี้ ขอให้รวย ๆ

                   ปรัชญาพุทธ ตะวันตก  -  สันติสุข คือ ความสุข

                   ปรัชญาพุทธ ตะวันออก - ความสุขอยู่ที่ใจ ความสงบ

                    ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว " พอมี พอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าประเทศพอมีพอกิน ก็ยิ่งดี "

                    นโยบายพัฒนาประเทศของลาว   10 ปีแรก  - มีอยู่มีกิน

                                                                10 ปีที่สอง  - พออยู่พอกิน

                                                                10 ปีหลัง  -  กินแซบ อยู่สบาย

                     การพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องทำตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป

                     เมื่อต้นไม้โตแล้ว อย่าลืมราก  ฐานรากจึงมีความสำคัญ  ฐานรากของประเทศ คือ ประชาชนคนจน  ถ้าประชาชนยังจนอยู่ ช่องว่างมาก ปัญหาจะตามมา  ถ้าเราพอเท่าไร ก็เป็นสุข อายุยืน

                กุญแจของคำว่า "พอ" เป็นปรัชญา เป็นอาวุธสู้กิเลส  ความพอ 5 ด้าน

                1. พอดีด้านจิตใจ   -  เอื้ออาทร มีเมตตาธรรม

                2. พอดีด้านสังคม  - ไม่เอาเปรียบสังคม มีสามัคคีธรรม คนรวยช่วยเหลือคนจน

                3. อยู่อย่างพอดี    - รู้สภาวะแห่งตน อยู่อย่างพอดี ไม่มุ่งร่ำรวยอย่างเดียว

                4. พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ - ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอดี เพื่อให้ธรรมชาติคงอยู่อย่างสมดุล

                5. พอดีด้านเทคโนโลยี - มีความสมดุลระหว่างเกษตร และอุตสาหกรรม

               

                 78 ปีแล้ว ที่พระองค์ท่าน ทรงงานไม่มีวันเกษียณ  การพัฒนาบุคลากร ขอให้เดินตามรอยพระยุคลบาท พระองค์มั่นอยู่ในความดี กตัญญู ตั้งใจ ทุกสิ่งที่พระองค์สอน อบรมใคร ทรงทำป็นแบบอย่าง  ขอให้ทุกคนทำความดีเพื่อประเทศ ตามรอยพระยุคลบาท......... 

                            

                       

 

  

 

                       

  

                

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20756เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาเยี่ยม จะคอยติดตาม ขอบคุณ blogger

ผู้นำที่เป็นยากที่สุดคือ ผู้นำที่มีบารมี เพราะ ผู้นำที่มาจากตำแหน่ง และผู้นำที่มาจากการใช้คำสั่งนั้น ใคร ๆ ก็เป็นได้ครับ  ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่เขียนให้อ่าน

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
รู้จักพอ ก่อสุฃทุกสถาน ถ้ารู้ว่าอะไรคือความอยาก อะไรคือความจำเป็น แล้วทำใจให้ได้ ก็"พอ"เห็นอนาคตแห่งตน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท