เวทีวิจัยลุ่มน้ำปากพนังที่ม.วลัยลักษณ์


ความรู้จะมีประโยชน์อันใด ถ้าไม่ทำให้คนและองค์กรที่เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระบวนการค้นหาความรู้ทั้งไม่ครอบคลุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง(ซึ่งซับซ้อน)และทำได้อย่างจำกัดจำเขี่ยด้วยเงื่อนไขของนักวิจัย

เมื่อวานและวันนี้(23-24)ผมแวะไปฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังโดยการประสานจัดการของม.วลัยลักษณ์ สนับสนุนโดยสกว.

ความเห็นของผมคือ  ถ้าเป้าหมายของงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา น่าจะใช้แนวทางการจัดการความรู้เป็นตัวเดินเรื่อง โดยลงทำกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเจ้าของตัวแปรทั้งหลายโดยตรง ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและองค์กรชุมชน

คนและหน่วยงาน/องค์กรเหล่านี้ต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายในขอบเขต/พื้นที่ใดๆที่ตนเอง     เกี่ยวข้องด้วย เช่น ขอบเขตตำบล เป็นต้น จากนั้นแสวงหาความรู้หรือนำความรู้มาดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
วิธีการดังกล่าวต้องอาศัยหน่วยจัดการความรู้ลุ่มน้ำปากพนังที่สั่งสมประสบการณ์ในงานวิจัยและพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นหน่วยบริหารจัดการ
รูปแบบที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้คือ สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้(วพส.)ของมอ.    ซึ่งอ.หมอวีระศักดิ์เป็นผอ.
ถ้าให้น้ำหนักกับการจัดการความรู้(ซึ่งวพส.ให้น้ำหนักกับการวิจัยองค์ความรู้ในเชิงประเด็นระดับภาคใต้)โดยจัดหน่วยบริหารจัดการแบบวพส.ก็จะเป็นหน่วยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมได้มากกว่า
งานวิจัยที่สนใจองค์ความรู้น่าจะเข้ามาเสริม เพิ่มเติมจากงานจัดการความรู้ซึ่งสนใจคน โดยการเชื่อมโยงของหน่วยจัดการความรู้

หลักคิด

การจัดการความรู้สนใจคนและองค์กรที่เป็นเงื่อนไขให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

ความรู้จะมีประโยชน์อันใด ถ้าไม่ทำให้คนและองค์กรที่เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง ก็จะพบกับคำถามเดิมคือ รู้แล้ว ทำไงต่อ (What next?)
ก็ต้องทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจเพื่อนำไปสู่การผลักดัน เปลี่ยนแปลงทั้งนโยบายและปฏิบัติการอยู่ดี

กระบวนการค้นหาความรู้ทั้งไม่ครอบคลุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง(ซึ่งซับซ้อน)และทำได้อย่างจำกัด   จำเขี่ยด้วยเงื่อนไขของนักวิจัย

ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรสนับสนุนด้วยการเสริมทัพหน้าด้วยการจัดการความรู้ มิฉะนั้น การค้นหาความรู้ก็จะผลัดเปลี่ยนกันทำหมุนเวียนในอ่าง มิได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนอย่างที่ควรจะเป็น จะกลายเป็นเวทีเรียนรู้ของนักวิจัย เช่นเดียวกับที่ชาวบ้านสะท้อนเรื่องงานพัฒนาของราชการ

หมายเลขบันทึก: 20741เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอขอบคุณ คุณภีม ภคเมธาวี ที่ให้ความกรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท