ตามรอยเท้าพ่อ (ตอนที่๑)


ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ที่จะถึงนี้ เป็นปีสำคัญยิ่งอีกปีหนึ่งที่ปวงชนชาวไทยมาร่วมกันแสดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในฐานะของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองโดยธรรม ดังประโยคที่เราได้ยินจนจำขึ้นใจได้คือ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งเป็นพระปฐมบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเนื่องในโอกาสวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ อันนำมาซึ่งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองแผ่นดินโดยใช้หลักธรรมในการปกครองเสมอมา หลักธรรมที่ทรงใช้มีอยู่อยู่สี่ประการดังนี้ คือ

            ๑. ทศพิธราชธรรม เป็นหลักธรรมสำหรับพระองค์เองสำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ และการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อประเทศชาติ

            ๒. จักรวรรดิวัตร เป็นหลักธรรมในการดำเนินกุศโลบายและวิเทโศบายทางการปกครอง

๓.    ราชสังคหะวัตถุ เป็นหลักธรรมในการกำหนดนโยบายการบริหาร

๔.    พละ ๕ เป็นพละกำลังของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ครองแผ่นดิน

สำหรับเรื่องจริยธรรมในการปกครองมีความสำคัญมากต่อประเทศชาติ ถ้าหากผู้

ปกครองบ้านเมืองมีคุณธรรม จริยธรรมในการปกครองบ้านเมือง บ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข ประชาชนไม่เดือดร้อนไม่ทุกข์ยากสังคมปกติสุข เพราะผู้มีอำนาจปกครองในสมัยโบราณได้แก่พระมหากษัตริย์ทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง ดังจะอธิบายรายละเอียดของหลักธรรมโดยละเอียดนี้คือ

            ทศพิธราชธรรมหรือ ธรรมของพระราชา           เป็นหลักธรรมในการปกครองของพระมหากษัตริย์ข้อใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ในการปกครอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดถือหลักธรรมดังกล่าวนี้เป็นแนวทางในการปกครองเสมอมา ทศพิธราชธรรมมีหลักธรรม ๑๐ ประการประกอบด้วย

            ๑. ทาน หมายถึง        การให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การช่วยเหลือประชาชน ประชาราษฎร์ในทุกๆเรื่องตั้งแต่เรื่องอาชีพ แก้ปัญหาวิกฤตต่างทั้งทางด้านสังคมการเมืองและเศรษฐกิจและยังทรงบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่างๆ แก่พสกนิกรชาวไทย ทรงพระราชทานพระราชดำรัสสั่งสอนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกระดับ ทรงมีโครงการพระราชดำริต่างๆ มากมายและที่สำคัญคือโครงการทุกโครงการทำให้ชาติไทยมีการพัฒนาให้เจริญรุดหน้ายิ่ง

            ๒. ศีล หมายถึง การตั้งและประพฤติพระราชจริยานุวัตรพระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ         เป็นผู้มีความประพฤติดีงาม คือ การประกอบแต่การสุจริต

            ๓. ปริจจาคะ หมายถึง ทรงเป็นผู้เสียสละความสุขสำราญหรือแม้แต่ชีวิตของตนเพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาราษฎร์ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

            ๔. อาชชาวะ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีความซื่อตรง การปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต จริงใจไม่หลอกลวงประชาราษฎร์

            ๕. มัททวะ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีความอ่อนโยน ไม่เยอยิ่ง หยาบคาย หรือกระด้างให้มีความละมุนละไม ให้คนทั่วไปรักภักดีและมีความยำเกรงด้วย

            ๖. ตปะ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีความทรงเดช การไม่ยอมหลงใหลหรือหมกมุ่นในความสุขสำราญ ปรนเปรอ แต่ทรงมีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ มุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญกิจตามหน้าที่ให้บริสุทธิ์

            ๗. อักโกธะ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงไม่แสดงความโกรธ ไม่ลุอำนาจโกรธ รู้จักระงับความขุ่นเคืองใจด้วยเหตุทั้งปวง ทรงวินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตัวเองทรงมีเมตตา

            ๘. อวิหิงสา หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยพระมหากรุณา  ทรงไม่เบียดเบียน ทรงไม่เป็นผู้คิดร้ายใคร ทรงไม่บีบคั้นกดขี่ผู้ใด แต่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนดุจบิดาปกครองบุตร

            ๙. ขันติ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีความอดทน ไม่ท้อถอยต่องานที่ต้องตรากตรำ ทรงอดทนต่อสิ่งทั้งปวง อีกทั้งยังทรงรักษาพระราชหฤทัย พระกาย พระวาจาอยู่ในความสงบ เรียบร้อย

            ๑๐. อวิโรธนัง   หมายถึง           พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีความอ่อนโยน ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ทรงตั้งมั่นอยู่บนความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่ทำความผิดโดยปราศจากอคติ ๔ ทรงประพฤติตนเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไปดุจเทพเทวดาที่ลงมาสั่งสอนประชาชนให้พ้นทุกข์ภัย

            ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ที่กล่าวข้างต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเสมอมาเป็น หลักธรรมะข้อนี้เราคนไทยทุกคนควรน้อมนำมาปฏิบัติเพื่อเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทหรือกล่าวสั้นๆว่า เดินตามรอยเท้าพ่อ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นคนไทยทั้งประเทศที่พร้อมใจกันปฏิบัติเพื่อพ่อของแผ่นดิน

 

 

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

 

 

หมายเลขบันทึก: 207018เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 04:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาอ่านอะไรดีๆ

นอนรึยังคะ

หรือว่าตื่นแล้ว

พอดี  ตื่นมาทำงานเลยแว๊บเข้ามา

ยังไม่ได้นอนเลยครับ ตั้งแต่กลางวันแล้ว เปลี่ยนคอม 3 เครื่อง ทำงานทั้งวัน บวก ทั้งคืน ขอบคุณครับ ที่แวะเข้ามา

สวัสดีค่ะ แวะมาให้กำลังใจตอนเช้า ค่ะ

เจริญพร โยมคนพลัดถิ่น

ในมิลินทปัญหา ว่าด้วยองค์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๔

  1. ทรงยึดเหนี่ยวน้ำใจไพร่ฟ้าประชาราษฏรไว้ได้ด้วยสังคหวัตถุ ๔
  2. พวกโจรที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินไม่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร
  3. ทรงพระราชวิจารณ์ถึงความดีและความชั่ว ทรงชักจูงไพร่ฟ้าประชาราษฏรทั่วแผ่นดินให้ดำเนินรอยตาม
  4. ทรงจัดการปกครองป้องกันพระราชอาณาจักรอย่างกวดขัน ให้มีอารักขาทั้งภายในภายนอก

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท