ดีเดย์ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตรฯ


เสริมจุดแข็งหนุน ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’

 

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ ได้หยิบยกมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTB) เช่น กำหนดโควตานำเข้า รวมถึงกำหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และกำหนดเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใช้มากขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือปกป้องผู้ผลิตและผู้บริโภคในประเทศของตน ส่งผลให้เกิดการกีดกันการนำเข้าสินค้าโดยถูกต้อง ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกต่าง ก็ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพและมีจุดแข็ง เพื่อให้การส่งออกเกิดความคล่องตัวและมีปัญหาน้อยที่สุด

ไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าที่จะผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นครัวของโลกในอนาคตอันใกล้นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ผลักดันให้ไทยมีมาตรฐานสินค้าเกษตรอย่างแท้จริง โดยเร่งประกาศ พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้า เกษตร พ.ศ.2551 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญช่วยในการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรไทยให้ได้มาตรฐานทัดเทียมมาตรฐานสากล ทั้งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์สินค้าจากการกสิกรรม การปศุสัตว์ การประมง หรือการป่าไม้

(ยังไม่พอ)
พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตรฯ ยังจะเป็นเครื่องมือควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตรและกิจกรรมต่อเนื่องที่ไม่มีกฎหมายอื่นใช้บังคับ ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงโต๊ะอาหาร

โดยจะคุ้ม ครองทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้คัดแยก/บรรจุ ผู้ตรวจสอบรับรอง ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้บริโภคด้วย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าเกษตรกรมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อใช้ปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการผลิต ทำให้สินค้าเกษตรปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อซึ่งจะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการก็สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และตรงความต้องการของตลาด ช่วยผลักดันให้มูลค่าเศรษฐกิจการค้าของไทยเพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกันยังมี
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้า ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารอย่างถูกต้องปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสีย ลดอัตราการเจ็บป่วย ช่วยประหยัดทรัพยากรของประเทศ ทั้งยังช่วยให้ภาครัฐสามารถควบคุม กำกับ ดูแลการผลิตสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับฟาร์มภายใต้กฎเกณฑ์ที่เสมอภาค ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน อันจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากร การผลิตทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

 ที่สำคัญ พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังจะเป็นเครื่องมือช่วยในการเจรจาทางการค้าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการเจรจาเพื่อเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ ทั้งยังช่วยสร้างความเท่าเทียมในการกำหนดมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศสอดคล้องกับสถานการณ์โลก ตลอดจนช่วยให้ประเทศผู้นำเข้าเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยมากยิ่งขึ้น และช่วยปกป้องผลประโยชน์ในการส่งออกสินค้า เกษตรและอาหารไทยในตลาดโลกด้วย ซึ่งคาดว่าจะเป็นเครื่องมือผลักดันปริมาณ และมูลค่าส่งออกให้เพิ่มสูงขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 30% พร้อมส่งเสริมให้ไทยก้าวสู่การเป็นครัวโลกได้รวดเร็วขึ้น

 

ที่มา http://www.siamturakij.com

หมายเลขบันทึก: 206994เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาอ่านเล่นๆอ่ะครับ แบบว่า ทำงานตัวเป็นเกลียวคลื่น เฮ้อ สวัสดียามดึกครับ

  • พอได้มาตรฐานออกมา
  • ก็เป็นผลงานของผู้ตรวจประเมิน
  • ไม่มีผลงานของผู้เตรียมเกษตรกรซักกะที
  • ดีจัง?????
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท