สุริยะ จันทพิมพ์
นาย สุริยะ จันทพิมพ์ สุริยะ จันทพิมพ์

~* สำหรับวันที่ท้อแท้ *~


~* สำหรับวันที่ท้อแท้ *~

~* สำหรับวันที่ท้อแท้ *~


หากใครเคยพลาดพลั้งกับชีวิต
เดินทางผิดคิดไม่ถูกสุดสับสน
ลองหาใครมาคบดูสักคน
ความกังวัลที่มีอาจหายไป

ถึงวันนี้ยังไม่มีชัยชนะ
วันหน้าเราอาจจะพบมันได้
ขอเพียงเรามีแรงเดินต่อไป
สิ่งที่เราหวังไว้คงเป็นจริง

แต่ถ้าหากเราหมดแรงลุกขึ้นสู้
ขอให้ดูรอบตัวสิ่งที่เห็น
ทุกๆอย่างอาจไม่จริงอย่างที่เป็น
สิ่งที่เห็นแค่เปลือกนอกหลอกลวงคน

คนตาบอดแขนไม่มียังอยู่ได้
แล้วเหตุใดเราจึงไม่ลุกขึ้นสู้
ถ้าหากเรามัวแต่นั่งมองดู
อยากให้รู้เรามีค่าต่อตัวเราเอง


แหล่งที่มาจาก FW
คำสำคัญ (Tags): #วันที่ท้อแท้
หมายเลขบันทึก: 206858เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...สุขหนอ...พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ ทุกคนในโลกต้องการสิ่งเดียวกันคือ ความสุข แต่น้อยคนที่สนใจศึกษาเรื่องความสุขอย่างละเอียด ส่วนมากเรามักจะเชื่อกิเลสตัวเอง หรือค่านิยมของสังคม ว่าสุขที่ต้องการนั้นเป็นอย่างไร ทุกวันนี้คนเราชอบสับสนระหว่างความสุขและความตื่นเต้น สิ่งใดกระตุ้นความรู้สึกได้มากก็ถือว่าสิ่งนั้นนำความสุขมาให้ แต่ความสุขนั้นยังร้อนอยู่ ความสุขทางเนื้อหนังนั้นยิ่งเข้มข้น ก็ยิ่งชวนให้เราติด ติดแล้วอาจจะเป็นเหตุให้เบียดเบียนคนอื่น หรือทำอะไรผิดกฎหมายเพื่อจะให้ได้มา อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง ความสุขที่ขึ้นอยู่กับสิ่งนอกตัวเรา ไม่สามารถระงับความพร่องอยู่ในใจของมนุษย์ได้ อย่างมากก็ได้แค่กลบเกลื่อนชั่วคราว ความสุขที่ได้จากรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสทางกายนั้น นับว่าคับแคบและไม่ไปไหน คือ กี่ปีกี่ปีก็เหมือนเดิม กี่ภพกี่ชาติก็แค่นั้นแหละ อายุเรามากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนโรยลง มีโรคประจำตัวเพิ่มมากขึ้น โอกาสจะได้ความสุขจากสิ่งนอกตัวก็น้อยลง สุดท้ายน่ากลัวจะเหมือนนกกระเรียนแก่ ซบเซาอยู่ที่เปลือกตมไร้ปลา ดังที่กล่าวไว้ในธรรมบท พระพุทธองค์ ให้เราเห็นว่าการช่วยคนอื่น การดำเนินชีวิตภายในกรอบของศีล การขัดเกลานิสัย การฝึกสมาธิ และการพัฒนา ปัญญา เป็นทางไปสู่ความสุขที่แน่กว่า และมีจุดเด่น

 

การให้...แค่เพียงคิดจะทำ..ใจก็ยังเป็นสุข..



มือของผู้ให้..อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ...
ชื่อของผู้ให้...น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ..
เกียรติของผู้ให้...กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย..
ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบและปวงวีรบุรุษ..


การให้.
แค่เพียงคิดจะทำ..ใจก็ยังเป็นสุข..
ครั้นได้ให้แล้ว...จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน...
เมื่อวันเวลาผ่านไป..
หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ...
ความปีติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม...

การให้...
จึงเป็นความสุขแท้ทั้งเวลาก่อนให้..
ขณะที่ให้..
และหลังจากได้ให้ไปแล้ว...


การเสียสละ..แบ่งปัน...
เป็นทั้งความ..สมาน..
คือ...ความสามัคคีปรองดองระหว่างกันและกัน
และเป็นกุศโลบายในการสร้างความ..เสมอ..
คือ..ให้คนทุกคนมองเห็นกัวอกของคนอื่น..
เมื่อมนุษย์รู้จักแบ่งปันแก่กันและกัน..
อันมีพื้นฐานมาจากการมีอัชฌาศัยกว้างขวางเอื้ออารีเช่นนี้
ศานติภาพท่ามกลางความแตกต่างก็จะเกิดมีได้อย่างไม่ยากเย็นนัก...

หากปราศจากรากฐานอันมั่นคงแข็งแกร่ง..
ไหนเลยรูปรอยแห่งมหาวิหารอันโอฬาริก
จะก่อกำเนิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้
บุคคลผู้ยิ่งใหญ่หากสิ้นไร้ซึ่งผู้เสียสละ
ที่อุทิศตนยืนหลบฉากอยู่เบื้องหลัง
คอยส่งกำลังใจ..เสนอความคิด..
อุทิศตนเป็นดังอิฐก้อนแรกให้ย่างเหยียบ..
ไหนเลยจะเผยอตนขึ้นสู่หอคอยแห่งเกียรติยศได้อย่างทระนง...

คนที่ไม่เคยเป็นผู้ให้...ย่อมยากที่จะได้รับ..
“การให้”..มองอย่างธรรมดาดูเหมือนว่า..เป็นการสูญเสีย..
แต่แท้ที่จริงแล้ว...
ผู้ให้ คือ..ผู้ที่ได้รับต่างหาก..
คนที่เป็นผู้ให้จึงมีเกียรติคุณเกริกกรรจายชั่วฟ้าดินสลาย
ทั้งนี้นั่นเป็นเพราะ
“...โลกคารวะผู้ให้...
แต่บอดใบ้ต่อผู้กอบโกยและโกงกิน...”


ที่มา : ธรรมะรับอรุณ....ท่าน ว. วชิรเ

 

ใกล้ตายจึงนึกถึงพระ (หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)



มีทุกข์มาถึงจึงนึกถึงพระศาสนา

บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น
เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักไม่เห็นคุณพระศาสนา
มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจ
ให้ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัย
เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มีนั่นแหละ
จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว


ทำความดีให้เป็นที่อยู่ของจิต

ความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอให้เป็นที่อยู่ของจิต
เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค
คือ ทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดี
ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล
ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้วให้ไปรับศีล
เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด

เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา
ไฉนจะมาสนใจไยดีกับศีลได้
เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้
เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้ว
แต่ส่วนมากใกล้ตายแล้วจึงเตือนให้รักษาศีล

ส่วนคนตายแล้วไม่ต้องพูดถึง
เพราะคนตายนั้นร่างกายจิตใจจะไม่รับรู้ใดๆ แล้ว
แต่ก็ดีไปอย่างเหมือนพระเทวทัต
ทำกรรมจนถูกแผ่นดินสูบ
เมื่อลงไปถึงคางจึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า
ขอถวายคางเป็นพุทธบูชา พระเทวทัตยังมีสติระลึกถึงได้
จึงมีผลดีในภายภาคหน้า

ความดีเราทำเองดีกว่า

แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงมาขอส่วนบุญ
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ทำอันตรายแม้พระพุทธรูป
แผ่เมตตาให้ไปได้รับหรือไม่ก็ไม่รู้ สู้เราทำเองไม่ได้
เราทำของเรา ได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ อิ่มเอิบใจเท่านั้น

ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ
กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง
วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง
ใจก็เป็นเหตุอันหนึ่ง
ทางของบุญหรือบาปเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเราเอง
ไม่ได้อยู่ที่ไหน เราทำเอง สร้างเอง
อย่ามัวมั่วอดีต เป็นอนาคต
มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่เป็น "ธรรมดา"

ความดีต้องทำในปัจจุบัน

สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว
เราไม่สามารถไปตัด ไปปลงมันได้อีกแล้ว
สิ่งที่เราทำไปนั้น ถ้ามันดีมัน ก็ดีไปแล้ว
ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว
ถ้ามันชั่วมันก็ชั่วไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เช่นกัน

อนาคตยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง
เราก็ยังไม่รู้เห็นว่ามันจะเป็นอย่างไร
อย่างมากก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนเอาเอง
ว่าควรเป็นยังงั้น เป็นยังงี้
ซึ่งมันอาจจะเป็น ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคะเนก็ได้

ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เราได้เห็นจริง ได้สัมผัสจริง
เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบัน
ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี
ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่
เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้
ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ
ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้.....

มาตามอ่านบันทึก  เขียนเยอะนะ

    หายปวดหัวเร็ว ๆ นะ          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท