ตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังน้ำมันมะพร้าว


น้ำมันมะพร้าวและกระทิเป็นอันตรายหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

       วันนี้บังเอิญได้หยิบวารสารฉบับหนึ่งที่ได้มาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานเมืองกำแพงเพชร  ( วารสารวิทย์นิทรรศ ปี 48)    กล่าวไว้น่าสนใจจึงนำมาฝากให้ช่วยวิเคราะห์....เรื่องการกินกระทิจากมะพร้าว.....

       *มะพร้าวเป็นต้นไม้ให้ชีวิตแก่ชนชาติในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก ...เราใช้มะพร้าวดำรงชีพมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะในการใช้ประกอบอาหาร โดยไม่มีปัญหาในเรื่อง โรคหัวใจ โรคมะเร็งโรคของต่อมธัยรอยด์ โรคอ้วนและอีกสารพัดโรคแต่อย่างใด  แต่ครั้นประเทศเหล่านี้รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ก็มีการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นๆในการประกอบอาหารแทนน้ำมันมะพร้าวเพราะได้รับประชาสัมพันธ์ว่า น้ำมันถั่วเหลืองมีคุณค่าทางอาหารเป็นเยี่ยม ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว( unsaturated  fatty acids ) ที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือการปรักปรำน้ำมันมะพร้าว (รวมทั้งน้ำมันปาล์มด้วย )  ว่าเป็นตัวการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ..

ตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของการปรักปรำน้ำมันมะพร้าว

 เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชเงินพืชทองของสหรัฐอเมริกา ได้ผลผลิตปีละประมาณ  80 ล้านตัน และทำรายได้ให้แก่ประเทศจากการส่งออกปีละหลายพันล้านดอลล่าร์  จึงมีการรณรงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ของถั่วเหลืองอย่างจริงจังทั่วโลก ตัวตั้งตัวตีในการรณรงค์นี้คือ สมาคมน้ำมันพืชอเมริกัน( American  Soybean Association-ASA ) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอิทธิพลมาก โดยการร่วมมือของโครงการถั่วเหลืองนานาชาติ(INTSOY) ซึ่งสังกัดอยู่กับมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

 ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกใช้น้ำมันมะพร้าวประกอบอาหารมาช้านานจึงเป็นการยากที่จะส่งเสริมให้ประชากรในประเทศเหล่านี้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันถั่วเหลือง สิ่งแรกที่รัฐบาลอเมริกาทำก็คือการจัดตั้ง INTSOY เพื่อสนับสนุนงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ของถั่วเหลือง ซึ่งต้องนำเข้าจากสหรัฐ  เพราะประเทศเหล่านี้ปลูกถั่วเหลืองไม่ได้ หรือไม่ได้ผลผลิตเท่าเทียมกับของสหรัฐ แต่สิ่งที่นับว่าได้ผลดีเยี่ยมคือการที่ ASA ว่าจ้างให้สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในอเมริกา ให้วิจัยให้ได้ผลออกมาว่า น้ำมันมะพร้าว(และน้ำมันปาล์ม) เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย  เพราะมันประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัว  ที่ทำให้คอเลสเตอรอลไปอุดตันในเส้นเลือด หลังจากที่มีการตีพิมพ์รายงานนี้ออกไป ประกอบกับการกระพือข่าวโดย ASA และINSOY ออกไปทั่วโลก  รวมทั้งเขียนตำราในทางการแพทย์และโภชนาการให้นิสิต นักศึกษาได้ร่ำเรียน   ผลก็คือ ประชากรในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ลดหรือเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าวเลย  และยิ่งกว่านั้นแพทย์โรคหัวใจและนักโภชนาการชาวพื้นเมือง( รวมทั้งชาวไทย) ที่ได้รับข้อมูลอันนี้ต่างก็ช่วยกันปรักปรำน้ำมันมะพร้าว ถึงขนาดเขียนเป็นตำรา และเอกสารเผยแพร่ไม่ให้บริโภคน้ำมันมะพร้าวเลย....

กลยุทธของAsA มีผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเพราะมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่นประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยผลิตมะพร้าวแห้งและน้ำมันมะพร้าวส่งออกเป็นปริมาณถึง 95 %  ของโลก ถึงกับเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย  อินเดีย  มาเลเซีย  ศรีลังกา  และประเทศเล็กๆ ที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่างก็ได้รับผลกระทบทางเศรฐกิจอย่างรุนแรง   โชคดีที่ประเทศไทย ไม่ได้พึ่งพามะพร้าวมากเหมือนดังประเทศเหล่านั้น  แต่ผลกระทบก็รุนแรงพอสมควร  โดยเฉพาะในจังหวัดที่ปลูกมะพร้าวอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวหลายสิบโรงต้องปิดกิจการ ลง..

ข้อดีของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่ประเทศต่างๆในเอเชีย และแปซิฟิกใช้เป็นแหล่งของพลังงานและการทำอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฏอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน    จากการรายงานประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าวมากที่สุดประเทศหนึ่ง  มีอัตราการเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดอุดตันเพียง 1 ใน แสน เปรียบเทียบกับ 18 -187 ในแสน  ในประเทศที่ไม่ใช้น้ำมันมะพร้าว     จากการศึกษาในชนชาติโพลินีเซียสองกลุ่ม  พบว่ากลุ่มที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว  89% ของไขมันทั้งหมด  มีความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มที่บริโภคเพียง  7%  นอกจากนั้นตัวเลขที่แสดงการเสียชีวิต  จากโรคหัวใจและมะเร็งของประเทศที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวก็ต่ำกว่าประเทศที่ไม่บริโภค ยกตัวอย่างเช่น ประเทศวานูอาตู ซึ่งบริโภคน้ำมันมะพร้าวมากที่สุด ( มากกว่า 1 ผล/คน/วัน ) มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวต่ำมาก  ......

 บทสรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็พอจะเชื่อได้ว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้ายดังที่ถูกกล่าวหาโดยเฉพาะหากนำเอาความจริงที่ว่าคนทั่วไปบริโภคอาหารอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันที่จำเป็ยต่อร่างกาย ที่จะช่วยชดเชยในส่วนที่น้ำมันมะพร้าวขาดไป  จึงสรุปได้ว่า  แทนที่จะห้ามบริโภคน้ำมันมะพร้าว  เราควรส่งเสริมให้ประชากรของเรา  กลับมากลับมาบริโภคน้ำมันมะพร้าวดังเดิม จะได้ช่วยสนับสนุนพืชเศรษฐกิจของเรา ให้มากยิ่งขึ้น

ดีกว่าจะถูกหลอก.....นะจะบอกให้........

จาก...วารสารวิทย์นิทรรศ  ฉบับที่ 5 ...ดร.ณรงค์  โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย.....

 

หมายเลขบันทึก: 206814เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณครูคะ

ขอถามนอกเรื่องหน่อยนะคะ

คุณครูพอจะมีเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น ในโรงเรียนขนาดเล็กจะแนะนำหนูบ้างไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

**ต้องขออภัยที่เว้นช่วงเวลาไปหลายวัน...ต้องไปเป็นวิทยากรลูกเสือชาวบ้านของอำเภอฯ  ซะ  5  วัน สนุกและมีความสุขมากๆๆๆๆ

--สำหรับ  คุณมณลดาที่ถามเทคนิคการสอนแบบคละชั้น นั้นก็คงจะตอบสั้นๆว่า ..ต้องสอนแบบบูรณาการ.. ช่วงชั้นป.1-3หรือ ป.4-6 

1.บูรณาการแบบหน่วยหรือหัวข้อเรื่อง แล้วนำ8สาระมาบูรณาการเช่น

  1. หน่วยโรงเรียนของเรา
  2. หน่วยครอบครัวแสนสุข
  3. หน่วยเศรษฐกิจพอเพียง
  4. หน่วยตลาดนัด
  5. หน่วยลอยกระทง
  6. หน่วยเข้าพรรษา

2.บูรณาการแบบสาระ ใดสาระหนึ่งแล้วนำสาระอื่นมาสัมพันธ์กันให้ได้ในเวลาที่กำหนด

เช่น  หน่วย    ประเพณีลอยกระทง  จำนวน  5-10  ชั่งโมง

เราก็จัดกิจกรรมเนื้อหา  8  สาระลงไป

  1. คณิตศาสตร์   -ให้นักเรียนคำนวณเส้นรอบวงกลมของกระทง-ให้นับกลีบกระทง-ให้คำนวณต้นทุนของการทำกระทง ฯลฯ
  2. ภาษาไทย -ให้อ่านประเพณีการลอยกระทงหรือเขียนวัสดุในการประดิษฐ์กระทง  ฯลฯ
  3. วิทยาศาสตร์ -ให้ทดลองการนำกระทงไปลอย  ดูการ จมหรือลอย  ดูการสมดุล ฯลฯ
  4. อังกฤษ - ให้เขียนคำศัพท์ เช่น ใบตอง  กรรไกร   ต้นกล้วย   ดอกไม้   ฯลฯ   เป็นภาษาอังกฤษ 
  5. ศิลปะ -  ให้นักเรียนวาดกระทง พร้องทั้งระบายสี   หรือขบวนแห่กระทง ต่างๆก็ได้แล้วแต่คุณครู
  6. สุขศึกษาฯ  -ให้บอกวิธีการรักษาความสะอาดเมื่อมือหรือเสื้อผ้า เปื้อนยางกล้วย
  7. ดนตรีฯ  -ให้ร้องเพลงลอยกระทงทั้งไทยและอังกฤษ
  8. การงานฯ - ให้บอกวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์กระทง และทำความสะอาดเครื่องมือ วัสดุ และสถานที่ ฯลฯ

นี่เป็นแค่เรื่องเดียวง่ายๆที่คุณครูจะลองไปสอนดูปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามประเพณีของหมู่บ้านที่โรงเรียนเรามี  ทำแผนบุรณาการเป็นหน่วยๆไป

 

อเมริกา 1. ผลิตอาวุธ แล้วก็ยุประเทศอื่นก่อสงครามกันเอง เพื่อจะขายอาวุธ ไม่ก็บุกเองซะ 2. ประเทศอื่นมีน้ำมัน แรกๆ ก็บอกว่าเป็นเพื่อน ต่อมายึดเค้าซะ อ้างว่ากำลังผลิตอาวุธนิวเคลีย์ร้ายแรง 3. พฤติกรรมเยาวชนไทย เคารพผู้ใหญ่ ไม่ก้าวร้าว มันก็ผลิตเกมส์ให้เด็กก้าวร้าวโตมาจะได้ก่อสงคราม 4. ผลผลิตเกษตร ก็ไม่ทิ้งนิสัยแย่ๆ ทำร้ายประเทศที่ด้อยกว่าอีก ฯลฯ มีอีกเยอะ นี่หรือประเทศเจริญ เฮ้อ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท