ความรู้สึกสำคัญกว่าความคิด


ความรู้สึก มีอยู่ 3 ลักษณะ

เจริญพร โยมสมาชิกและผู้อ่านทุกท่าน

คนเราเมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจต่อสิ่งใด สิ่งที่ตามมาคือ เราจะคิดไม่ดีต่อสิ่งนั้น และเมื่อเราคิดไม่ดี สิ่งที่ตามาอีกคือ การกระทำที่ไม่ดี แต่เมื่อเรามีความรู้สึก พอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว เราจะคิดดีต่อสิ่งนั้น

ดังนั้น ความรู้สึก จึงมีความสำคัญต่อความคิด และแน่นอนความคิดย่อมมีความสำคัญ ต่อการกระทำ เช่นกัน

ความรู้สึก เป็นธรรมารมณ์ คือ สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึกในใจ จะเป็นเรื่อง อดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้ เกี่ยวกับวัตถุ ภายนอกหรือภายในก็ได้ เป็นของจริงหรือเป็นความคิดฝันก็ได้

ธรรมารมณ์หรือความรู้สึก จึงเป็นสิ่งแรกที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้สัมผัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนเราทุกคน จะเกิดความรู้สึกทุกครั้งเมื่อประสาท สัมผัสกับสิ่งรอบกาย

ความรู้สึก มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ความรู้สึกพอใจ ความรู้สึกไม่พอใจ และความรู้สึกเฉยๆ แต่โดย ความจริงแล้ว คนเราทุกคนจะรู้สึกเฉยๆได้ยากมาก การที่คนใดคนหนึ่ง บอกว่า เขารู้สึกเฉยๆ นั้น แท้จริงแล้ว เขาไม่กล้าแสดงความรู้สึก อันแท้จริงออกมา เพราะเกรงว่า จะเป็นที่ไม่พอใจ หรือ อาจจะพอใจมากเกินไป จึงไม่มีอะไรดีเท่ากับบอกว่า รู้สึกเฉยๆ

การสร้างความรู้สึกที่ดี มีได้หลายทาง เช่น ในวงสนทนา ดนตรีก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีได้เช่นกัน

และยังมีอีกหลายอย่าง ที่ทำให้เรามีความรู้สึกที่ดี เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เรามีความรู้สึกที่ดี ในวันนั้นหรือวันต่อไป เราก็จะเกิดความแช่มชื่นเบิกบานใจ คนเราขอให้มีความรู้ที่ดีต่อกัน ก็เป็นอันพอเพียงแล้ว

หมายเลขบันทึก: 206103เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ รู้สึกตรงกับใจพอดีเลยค่ สนใจเรื่องความรู้สึกกับความคิดเจ้าค่ะ การับความรู้สึกของคนอื่นได้ เราจะเข้าใจเขามากขึ้นใช่ไหมคะ

นมัสการขอรับ พระคุณเจ้า ขอบคุณครับ ที่นำสาระดีๆมาให้อ่านยามเย็น

เจริญพร โยม

เรารับความรู้สึกคนอื่ืนได้ เราก็เป็นคนคิดในแง่บวกอยู่แล้ว

 

เจริญพร

เจริญพร โยมคนพลัดถิ่น

โยมก็นำสาระดีๆมาให้อ่านกันเสมอ

 

เจริญพร

นมัสการเจ้าค่า

ความรู้สึกนึกคิดนี้ จะก่อให้เกิดการกระทำตามมาหรือไม่

อยู่ทีสติเราระลึกรู้เท่าทันอีกทีใช่ไหมคะ

กายนี่ช้าอยู่นะ แต่วาจานี่สิไม่ค่อยจะทัน อิอิ

กว่าจะรู้ก็โกรธ ว่า ปึงปังไปก่อนละ

เฮ้อ.........เหนื่อยนะไล่จับลิง

เจริญพร โยมเก็จถะหวา

ความรู้สึก ก่อให้เกิดการกระทำหลายอย่าง

จึงอยู่ที่สติและสัมปชัญญะต้องคอยกำกับ

 

เจริญพร

ธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณขันธ์

ความรู้สึก หมายถึง เวทนาขันธ์

คนละส่วนกัน น่ะครับ ท่านพระปลัด

เวทนาขันธ์ เกิดจากเงื่อนไขในใจ ว่าชอบ ไม่ชอบ

ชอบ ก็รู้สึกดี (สุข) ไม่ชอบ ก็รู้สึกไม่ดี (ทุกข์)

ธรรมารมณ์ เป็นความรู้ของ มโนวิญญาณ หมายถึง ความรู้สัมผัสของกายภายใน เช่น หิว อืด คัน เจ็บ ฯ ที่ไม่ใช่ส่วนของความรู้สัมผัสกายภายนอกหรือ กายวิญญาณ ซึ่งรู้แค่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เท่านั้น ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท