ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

ความสำคัญของการตัดสินใจ


การตัดสินใจ

. ความสำคัญของการตัดสินใจ

                ความสามารถในการทำงานหรือการบริหารงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติแล้วสิ่งสำคัญประการหนึ่งของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ (Decision Making) การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงาน ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่ในแทบทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการของการทำงาน แม้แต่บุคคลทั่วไปก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงเรื่องการตัดสินใจได้ นับตั้งแต่บุคคลตื่นขึ้นมาก็จะมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกชุดที่จะใส่ เวลาที่จะออกจากบ้าน เส้นทางที่จะใช้เดินทาง เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่าการตัดสินใจในเรื่องทั่ว ๆ ไปเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมายนัก แม้ตัดสินใจแล้วผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก แต่ถ้าเรื่องที่ตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งหมายถึง เรื่องที่หากตัดสินใจแล้วผิดพลาดจะเกิดความเสียหายมากหรือแก้ไขได้ยาก การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆ เหล่านี้ควรต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงไป ทั้งนี้การตัดสินใจในบางเรื่องของบุคคลอาจหมายถึงชีวิตหรืออนาคตของบุคคลนั้น ทำนองเดียวกันกับการตัดสินใจในบางเรื่องของผู้นำหรือผู้บริหารอาจหมายถึงความอยู่รอดหรือไม่ ของกลุ่ม ของหน่วยงาน หรือขององค์การ เป็นต้น

กระบวนการของการตัดสินใจที่ดี

                      การตัดสินใจของบุคคลจะมีตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายน้อยไปจนถึงเสียค่าใช้จ่ายมาก มีเวลาในการตัดสินใจมากไปจนถึงมีเวลาน้อย เป็นต้น ดังนั้นการตัดสินใจที่ดีจึงควรมีกระบวนการที่ดีในการตัดสินใจจึงจะช่วยให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดน้อยที่สุดและเกิดผลดีมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วกระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

1.        กำหนดเรื่องที่จะตัดสินใจ (Decision Statement)

2.       กำหนดเกณฑ์ที่ต้องการ (Criteria)

3.       ตัวเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดมีกี่ตัว (Alternatives)

4.        วิเคราะห์ส่วนดีของตัวเลือกแต่ละตัว (Benefit Analysis)

5.        วิเคราะห์ส่วนเสียของตัวเลือกแต่ละตัว (Risk Analysis)

6.        เปรียบเทียบส่วนดีและส่วนเสียของตัวเลือกทุกตัวและตัดสินใจ (Decision)

 สาเหตุที่ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด

                      การตัดสินใจของบุคคลที่มักจะเกิดความผิดพลาดอาจเกิดสาเหตุต่าง ๆ ได้หลายสาเหตุ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญ ๆ ที่พอจะยกมากล่าวได้ คือ

1.       การตัดสินใจโดยอาศัยนิสัยและความเคยชิน

2.       การตัดสินใจที่ขาดข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่ดี

3.        การตัดสินใจที่มีเวลาจำกัดหรือรีบร้อน ขาดความระมัดระวัง

4.        การตัดสินใจที่ถูกอิทธิพลบางอย่างครอบงำ ทำให้เกิดอคติหรือเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

       5.        การตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนกิเลส ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลงฯลฯ

สรุป

       การตัดสินใจนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตและการทำงานของบุคคล และถือเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้นำหรือผู้บริหารในการจัดการหรือบริหารงานซึ่งจะนำพาให้เกิดความอยู่รอดหรือไม่ ของกลุ่ม หน่วยงาน หรือองค์การ การตัดสินใจที่ดีนั้นจะก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ดังนั้นผู้ที่จะตัดสินใจจึงควรหาข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ดีและมีกระบวนการที่ดีให้การตัดสินใจ ตลอดจนตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดอีกด้วยแล้ว การตัดสินใจก็จะเกิดผลดีมากที่สุดและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

ที่มา : http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/upload/socities.html

คำสำคัญ (Tags): #การตัดสินใจ
หมายเลขบันทึก: 205734เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แวะมาอ่านครับ
  • การตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่าง
  • ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์และเหตุผลจริงไหมครับ
  • สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • สวัสดีค่ะ ครูโย่ง
  • ขอบคุณค่ะที่เป็นห่วงสุขภาพ
  • ครูเมี้ยวจะดูแลตัวเองค่ะ
  • ครูโย่งสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ ครูเมี้ยว

ชื่ออุ้งนะค่ะ  เป็นครูอยู่ กศน.เขตราษฎร์บูรณะค่ะ

พอดีเข้ามาหาข้อมูลไว้เป็นเกร็ดความรู้ในการสอนค่ะ

และได้ความรู้เรื่องการตัดสินใจจากหน้านี้ของครูพอดี

ขอบคุณที่ขยันแจกจ่ายความรู้นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท