ชีวิตกับการศึกษา


ชีวิตกับการศึกษา

ชีวิตกับการศึกษา

            ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ อันเป็นยุคสมัยที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทตโนโลยี
เจริญก้าวหน้าอย่างสุดขีด และยุคนี้ก็เป็นยุคสมัยของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผู้ที่จะดำรงตนอยู่ในในสังคมยุคนี้ได้
อย่างมีความสุข จำเป็นที่จะต้องพัฒนาการศึกษาให้เกิดขึ้นกับตนเองให้มาก เพื่อให้ตนเองสามารถรู้เท่าทันใน
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในฐานะที่
"การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน และคนก็เป็นเครื่องมือในการ
พัฒนาบ้านเมือง"ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต

          ชีวิตกับการศึกษาเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะแบ่งแยกออกจากกันได้ เพราะชีวิตก็คือกระบวนการศึกษาเรียน
เพื่อนำไปสู่การเข้าใจตนเอง เข้าใจสังคม และเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งโลกแห่งการศึกษานั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดน
ไม่จำกัดการเวลา ไม่จำกัดเพศวัย หรือชนชั้นวรรณะ สุดแต่ว่าใครจะเอาใจใส่และสนใจที่จะแสวงหาความรู้มาก
กว่ากันเท่านั้นเอง

          การลงทุนทางการศึกษา ถือว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุด และให้ผลคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนด้านอื่น ๆ
เพราะว่าเราลงทุนเพียงครั้งเดียว หากแต่สามารถที่จะนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ได้ตลอดชีวิต

         และตราบใดที่เรายังมีชีวิตและลมหายใจอยู่ ตราบนั้นเราก็คงจะต้องศึกษาเรียนวิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จะมีก็เพียงพระ
อรหันต์ผู้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น ที่จบสิ้นการศึกษาแล้วโดยสิ้นเชิง

        ชีวิตกับการศึกษาควรจะเป็นไปอย่างไร และจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้นควรจะเป็นไปเพื่ออะไร?

 ในทัศนะทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงกระบวนการและสาระสำคัญของการศึกษาเอาไว้ว่า การศึกษาที่ถูกต้อง
นั้นจะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น และจะต้องเป็นมรรควิธีที่จะนำชีวิตไปสู่ความ
เบิกบาน สะอาด สว่าง สงบ และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง นั่นคือจะต้องดำเนินไปตามหลักไตรสิกขา 3 ประการ คือ
พัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ให้เกิดขึ้นกับตนเอง

 

          1. ศีลสิกขา คือ กระบวนการศึกษาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาตนเองให้เป้นคนที่มีระเบียบวินัย
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักเคารพต่อกฏกติกาข้อบังคับของสังคม งดเว้นจากการประพฤติในสิ่งที่ไม่
ชอบธรรม และให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นอยู่เสมอ

         2. สมาธิสิกขา คือ กระบวนการศึกษาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนายกระดับจิตใจของตนเองให้สูงขึ้น
โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้มแข็ง ความเชื่อมั่น ความหนักแน่น และ ความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง

         3. ปัญญาสิกขา คือ กระบวนการศึกษาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาความรู้หรือสติปัญญาให้มีขึ้นในตนเอง
อันจะเป้นหนทางนำไปสู่การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ควบคุมตนเอง ปรับปรุงตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเอง
พัฒนาตนเอง รวมทั้งจะเป็นหนทางที่จะนำบุคคลไปสู่การเข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
และทำให้บุคคลสามรถก้าวเข้าถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด

           การศึกษาในยุคสมัยปัจจุบัน ยังไม่สามารถที่จะสัมฤทธิผลเท่าที่ควร ทั้งนั้เพราะว่าคนเรามิได้ศึกษาเพื่อที่จะเรียนรู้หรือทำความเข้าใจตนเอง มิได้เป็นไปเพื่อที่จะยกระดับจิตวิญญาณของตนเองให้สู.ขึ้น และไม่ได้
เป็นไปเพื่อการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาแต่อย่างใด หากแต่เป็นไปเพียงเพื่อตามกระแสของกิเลส และเพียง
เพื่อตอบสนองกระแสของโลกนิยมเท่านั้นเอง

           ตราบใดที่เรายังคงมีชีวิตและลมหายใจอยู่ ตราบนั้นเราก็คงจะต้องศึกษาเรียนรู้สรรพสิ่งไปเรื่อย ๆ
อย่างไม่มีวันสิ้นสุด การศึกษาจะจบสิ้นลงได้ก็ต่อเมื่อเราได้บรรลุพระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวะที่มวลกิเลสตัณหา
หรือความทุกข์ทั้งปวงได้ดับมอดลงแล้วอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น

           เรียนเถิด.....ไม่ว่าคุณจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรก็ตาม ขอให้คุณเอใจใส่ต่อหน้าที่การศึกษาเล่าเรียน
ของคุณอย่างเต็มที่ แล้วผลดีที่เกิดจากการเรียนรู้เหล่านั้นก็จะบังเกิดขึ้นกับคุณอย่างแน่นอน

เราขอเอาใจช่วย และจะคอยเป็นกำลังใจให้คุณอยู่ตลอดเวลา.

 

 

หมายเลขบันทึก: 205664เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท