ปัจจุบันธรรม


ปัจจุบันธรรม

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ปัจจุบัน..คือ ความจริง..สัจจะธรรม

            สัจจะ แปลว่า ความจริง

สัจจธรรม ก็หมายถึง สิ่งที่เป็นความจริง  

เรามีชีวิตจริงๆอยู่ในปัจจุบันนี้  ตอนนี้เท่านั้น นอกจากนี้ เป็นเพียงความคิด เท่านั้น

ปัจจุบันนั้นแหละ คือ ความจริง

อดีต เป็นเพียงความทรงจำ ส่วนอนาคตเป็นเพียงความคาดหวัง

แต่เราไม่เคยอยู่กับ ความจริง เลย

ตอนเป็นเด็กๆ ก็ใฝ่ฝันว่า ขอให้ฉันโตเป็นหนุ่มเป็นสาว

แต่พอเติบโตเป็นคนหนุ่มสาว ก็ฝันต่อว่า ขอให้ฉันได้แต่งงาน

และเมื่อเวลาผ่านไป ก็เฝ้าหวังว่า ขอให้ได้นั่งกินนอนกินในวัยชรา

แต่เมื่อเข้าวัยชรา คนชรานั้นไม่มีอนาคตหรือวันหน้าที่จะให้คิดหวังอีกต่อไป ก็ได้แต่มองย้อนหลังไปยังเหตุการณ์แห่งชีวิตของเขาที่ได้ผ่านมา

แล้วเขา ต้องรู้สึกเย็นเยือกจับหัวใจต่อชีวิตซึ่งเขาไม่ได้ใช้มัน ให้อยู่ในลักษณะที่มีความสุขและรื่นรมย์ เสียดายวันและวัยในอดีต  แต่ชีวิต ไม่มีวันหวนกลับมาอีกแล้ว .... เราจะเป็นเช่นนั้นหรือ ?

เราไม่เคยอยู่กับความเป็นจริงเลย

เราไม่อยู่กับความทรงจำ ก็อยู่กับความคาดหวัง มาตลอดชีวิต

จิตนั้นเป็นสิ่งที่พอกพูนและสะสม ดังนั้นมันจึงแสวงหาอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่เคยหยุดเคยพัก เมื่อใดก็ตาม เมื่อมันต้องอยู่กับความซ้ำซาก มันก็จะเริ่มเบื่อ

ความเบื่อ คืออะไร ?

ความเบื่อ ก็คือ ความคิดที่คิดว่า ที่อื่นดีกว่าที่นี่

ความเบื่อ ก็คือ ความไม่พอใจกับปัจจุบัน

เรามองปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ

เพราะปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว

แต่จิตความคิดของเรา เป็นความแสวงหา เป็นความคาดหวัง จึงวิ่งไปข้างหน้าอยู่เสมอ

เรามองไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา

เลยไม่รู้ในสิ่งที่เป็นอยู่

เราสนใจแต่สิ่งที่จะเกิด ไม่สนใจกับสิ่งที่กำลังเกิด

จิตหรือความคิด นั้น มีอยู่ ๒ ลักษณะ  คือ การรู้ กับ การคิด

และ ไม่มี  ๒ ความคิด ในขณะเดียวกัน

ฉะนั้น เมื่อคุณรู้ ก็ไม่มีการคิด

การคิดหรือความคิดนั้น เกิดได้เนื่องจากมีเจตนาหรือความคาดหวังเป็นตัวจุดประกาย เมื่อมีเจตนา(ความอยาก) ความทุกข์(กิเลส-ความเศร้า-หมอง)จึงเกิดมาพร้อมกับความคิดนั้น

ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไหลเลื่อนไปตลอดเวลาไม่มีช่องว่างหรือระยะห่างของเวลา จึงไม่เปิดโอกาสให้เกิดการคิด ดังนั้นก็เท่ากับไม่เปิดโอกาสให้กิเลสหรือความเศร้าหมองเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันก็คือปัจจุบัน อย่าไปยึดว่า มันจะเป็นจุดหรือเป็นช่วงเวลา เพราะมันไหลเลื่อนไปตลอดเวลา

แค่ให้รู้ในกิจที่กำลังกระทำ นั่นก็เป็นปัจจุบันแล้ว

รู้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น นั่นคือ ปัจจุบันแล้ว

หลักของธรรม ก็มีอยู่แต่เพียงว่า ทำอย่างไรให้เป็นสุข คือ  การมีความ สุขในปัจจุบัน เพราะ ชีวิตจริง คือ ชีวิตในปัจจุบัน คุณไม่สามารถไปมีความสุขในอดีตหรือในอนาคตได้

เพราะอดีตมันผ่านไปแล้ว ส่วนอนาคตเป็นแค่การคาดหวัง มันก็ไม่มีอยู่เช่นกัน ดังนั้นอย่ามัวแต่เสียเวลาที่จะคิดว่า

ทำอย่างไรให้พ้นจากความทุกข์ แต่ให้คิดว่า

ทำอย่างไร ถึงจะมีความสุขได้  ในทุกๆสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น”

ความสุข นั้นเกิดจาก ความยินดี ความพอใจ

แค่ พอใจ ในสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่ ที่กำลังกระทำอยู่ นั่นก็เป็นความสุขแล้ว

แหละนั่นแหละ คือ ความสุขที่แท้จริง (สัจจะ)

นั่นแหละ คือ คำสอนของศาสนานี้  (สัจจะธรรม)

การเตรียมตัวต้อนรับวันนี้  เพื่อได้มาซึ่งชีวิตอันเต็มไปด้วยความสุข

ในระยะอันสั้นของวันนี้  จงใช้ชีวิตของท่าน  ให้ห้อมล้อมอยู่ด้วย  

- ความสุข เกษมเปรมปรีดิ์ แห่งชีวิต

- ความประพฤติอันควรแก่การสรรเสริญ

- ความสำเร็จ อันงาม แก่ กรณียะกิจ

เมื่อวานนี้ เป็นเพียง ความฝัน.. พรุ่งนี้ เป็นเพียง มโนภาพ  

หากแต่ ความสุขของวันนี้ ... จะทำให้ ความฝันของวันวาน เป็นความฝันอันแสนหวาน (ในวันพรุ่งนี้)

และการเตรียมตัวต้อนรับ วันนี้

เป็นการแสดงความเคารพ ต่อรุ่งอรุณ

..... ( กาลิทาส  ผู้แต่ง สกุนตลา )

คำสำคัญ (Tags): #ปัจจุบันธรรม
หมายเลขบันทึก: 205607เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท