หลักเกณฑ์การขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์


ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับการแต่งตั้งให้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมาแล้ว เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน และมีผลงานในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง จึงจะมีสิทธิทำรายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับลูกเสือแทนการตรวจภาค 3 และแทนการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและ ประเมินผลตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเพื่อรับเครื่องกมายวูดแบดจ์ พ.ศ.2521 เพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ได้

สำเนา

หลักเกณฑ์การขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์

สำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับแต่งตั้ง

ให้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

               1.   เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับการแต่งตั้งให้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมาแล้ว   เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า  4 เดือน  และมีผลงานในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหาร ฯ  เป็นต้นไป   จึงจะมีสิทธิทำรายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับลูกเสือแทนการตรวจภาค  3   และแทนการตรวจขั้นที่ 5  ขั้นปฏิบัติการและ ประเมินผลตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ   ว่าด้วยการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเพื่อรับเครื่องกมายวูดแบดจ์ พ..2521  เพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ได้

2.        คำว่าผลงานในด้านต่าง ๆ  หมายถึง

2.1 ผลงานในด้านต่าง ๆที่ได้ปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ   หรือกองลูกเสือ   กรมพลศึกษา  หรือ

2.2     การให้การบริการทั่วไปและการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน  หรือในวงการลูกเสือ

2.3     การเข้าร่วมและการให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมลูกเสือ

2.4     การช่วยเหลือทางด้านวิชาการ

2.5     มีผลงานในด้านการฝึกอบรม

2.6     เป็นผู้ได้อุทิศกำลังกาย, กำลังความคิด  หรือ  เป็นผู้มีอุปการะคุณ   ในการประกอบกิจ   ให้บังเกดคุณประโยชน์แก่กิจการลูกเสือ

3.        หลักฐานประกอบการพิจารณา

3.1   สำเนาวุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ   ขั้นความรู้ชั้นสูง

3.2 สำเนาใบแต่งตั้งบังคับบัญชาลูกเสือ   สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (.. 13)

3.3     ถ้ามีผลงานในด้านการฝึกอบรม   ต้องแนบคำสั่งที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นวิทยากรหรือหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง

3.4     ถ้ามีผลงานในด้านบริการและการบำเพ็ญประโยชน์จะต้องแนบคำสั่งที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ        หรือมีหนังสือรับรองจากหัวหน้าหน่วยงานนั้น

3.5     ผลงานด้านอื่น ๆ ต้องมีหลักฐานเชื่อถือได้

4.        สัมภาษณ์

เมื่อตรวจหลักฐานและดูผลงานถูกต้องเป็นที่พอใจและเข้าเกณฑ์แล้ว   จะได้สัมภาษณ์โดยกรรมการผู้ทรงคุณวูฒิทั้งนี้จะต้องได้คะแนนัมภาษณ์ไม่ต่ำกว่า  60 %  จึงจะถือว่าผ่านขั้นที่ 5 ตามระเบียบ

ทั้งนี้  ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรม  กองลูกเสือ  กรมพลศึกษา   หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทน   เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนทั้ง  4 ข้อ ดังกล่าวแล้วข้างต้น  แล้วนำเสนอผู้อำนวยการกองลูกเสือ   กรมพลศึกษา  เป็นผู้อนุมัติ

ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้   ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2523   เป็นต้นไป

                                   (ลงชื่อ)   ชาญ   นวลศรี

                                              (นายชาญ   นวลศรี)

                     ผู้อำนวยการกอง   กองลูกเสือ  ปฏิบัติการราชการแทน

                          เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

                   (สำเนาถูกต้อง)

(ลงชื่อ)    สุพจน์   คล่องดี

            (นายสุพจน์  คล่องดี)

ศึกษานิเทศน์ 7  กรมพลศึกษา  เขตการศึกษา 6

 

                               หลักฐานต่าง ๆที่ต้องนำมาในวันสัมภาษณ์

1.       สำเนาใบแต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (ลส. 13)

2.       สำเนาวุฒิบัตรแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมลูกเสือ  ขั้นความรู้ชั้นสูง

3.       หลักฐานต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่าได้ทำผลงานให้แก่กิจการลูกเสือ (ไม่น้อยกว่า 4 ผลงาน)  เช่น

ก.         ผลงานด้านบริการและบำเพ็ญประโยชน์   จะต้องแนบคำสั่งที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือมีหนังสือรับรองจากหัวหน้าหน่วยงานนั้น

ข.         ผลงานด้านการฝึกอบรม (คำสั่งแต่งตั้งเป็นวิทยากร  หรือหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการฝึก)

ค.         ผลงานด้านวิชาการ (พิมพ์เอกสาร  จัดทำทะเบียน)

ง.         เป็นผู้มีอุปการะคุณช่วยเหลือบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ  ให้แก่กิจการลูกเสือ

จ.         ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์ให้กับสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ  หรือ กองลูกเสือ   กรมพลศึกษา

ฉ.        ผลงานอื่น ๆ ซึ่งมีหลักฐานเชื่อถือได้

                                     หลักฐานต่าง ๆที่ต้องนำส่ง

                            รายงานผลการตรวจขั้น 5

1.       ลส. 13  สำเนาใบแต่งตั้งเป็น ผบ. ลส.

2.       สำเนาวุฒิบัติแสดงว่าผ่านฝึกอบรมขั้น  สูง

3.       ลส.  สั่งตั้งกองลูกเสือที่ตนสอนอยู่

4.       แบบประเมินผลการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ

 

 

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติได้ออกคำสั่งของสำนักงาน ฯ  แจ้งชื่อผู้มีสิทธิได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ไปยังจังหวัด,  เขตการศึกษา  สโมสร ฯ  ทราบเพื่อให้โปรดแจ้งไปยังบุคคลซึ่งมีสิทธิ์ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์    เพื่อไปรับที่เจ้าหน้าที่กองลูกเสือนั้น    สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติจึงใคร่ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามระเบียบดังนี้ <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 49.65pt;">(1)    จากต่างจังหวัด   ผู้มีประสงค์จะขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ซึ่งไปจากต่างจังหวัด  ขอให้ปฏิบัติดังนี้</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 96.0pt;">1.       ถ้าไปรับด้วยตนเอง  ขอให้นำบัตรประจำตัวไปแสดง   ถ้าไม่มีบัตรไปแสดงเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจ่ายเครื่องหมายวูดจ์แบดจ์หรือวุฒิบัติให้ได้</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 96.0pt;">2.       ถ้าจะมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต   หรือเจ้าหน้าที่ลูกเสือของจังหวัด  หรือบุคคลอื่นไปรับแทน   ขอให้ทำเป็นหนังสือราชการไปผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด  หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดลงนาม  ระบุชื่อมอบฉันทะไปในเอกสารด้วย</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 96.0pt;">3.       เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว  จึงจ่ายเครื่องหมายวูดแบดจ์และวุฒิบัตรให้</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 96.0pt;">4.       ไม่มีการรับเครื่องหมายวูดแบดจ์แทนกันเป็นการส่วนตัว   นอกจากเป็นเอกสารทางราชการเท่านั้น</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 49.65pt; text-indent: 0cm;">(2)       ผู้ไปรับเครื่องหมายวูดแบดจ์จากส่วนกลาง   ปฏิบัติดังนี้</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l7 level1 lfo8; tab-stops: list 96.0pt;">1.       ไปรับด้วยตนเองพร้อมแสดงบัตรประชาชน</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt 96pt; text-indent: -18pt; mso-list: l7 level1 lfo8; tab-stops: list 96.0pt;">2.       ถ้าให้ผู้อื่นไปรับแทนต้องมีหนังสือมอบฉันทะจากสังกัดระบุชื่อผู้รับมอบในเอกสารด้วย</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 49.65pt;"> </p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 49.65pt;">    </p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 49.65pt;">                                                                                                                                                                                                                              </p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 49.65pt;">                        (สำเนาถูกต้อง)</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 0cm;">                                              ทศพล  วงษ์เนตร  </p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 0cm;">                                         (นายทศพล  วงษ์เนตร)</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                                       ศึกษานิเทศก์  สพท.อย.๑</p> <p class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                 ผู้ทรงคุณวุฒิทางลูกเสือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</p>

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 205484เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือ คนที่จะใช้เครื่งแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้น่าจะกำหนดวุฒิการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรีนะคับ เพราะสีกากี เป็นสีของข้าราชการ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีวุฒิภาวะพอสมควรจึกจะแต่งชุดเครื่องแบบผุ้บังคับบัญชาลูกเสือได้
  • วิทยากรลูกเสือชาวบ้านบางท่านไม่ใช่ข้าราชการเมื่ออบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือแล้วไปแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามสิทธิ์เหมาะสมหรือไม่
  • น่าจะมีกาารแยกหลักสูตร ของลูกเสือเด็ก กับลูกเสือชาวบ้านให้ชัดเจน แต่สามารถนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกันได้ เด็กจะต้องมีเครื่องแบบผู้บังคังคับบัญชาลูกเสือจึงสมควรใช้เคื่องแบบ แต่ลูกเสือชาวบ้านไม่มีเครื่องแบบคงไม่จำเป็นที่วิทยากรลูกเสือชาวบ้านเมื่อจบหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือแล้วมาแต่งเครื่องแบบไปอบรมชาวบ้าน
  • คณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ น่าจะออกระเบียบให้ชัดเจนในเรื่องนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท