วิสาหกิจชุมชน,ธุรกิจชุมชนและอุตสาหกรรมชุมชน วิถีต่างกัน??


วิสาหกิจชุมชน,ธุรกิจและอุตสาหกรรมชุมชน เป็นเศรษฐกิจท้องถิ่นเหมือนกัน..

ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมหนึ่ง   มีความหมายครอบคลุม เหมือนประเทศหนึ่ง ๆ มีระบบเศรษฐกิจของตัวเอง มีระบบสังคมของตัวเอง มีระบบการเมืองของตัวเอง เหมือนกันต่างกันตรงที่ ชุมชนท้องถิ่นเหล่านั้นขึ้นต่อกับจังหวัด/ประเทศอะไร มีระบบเศรษฐกิจมหาภาคอย่างไร? มีระบบสังคมมหาภาคอย่างไร? มีการเมืองการปกครองหรือกฏหมายมหาชนอย่างไรก็จะปกครองตามระบบนั้น พัฒนาระบบสังคมไปตามอย่างระบบสังคมใหญ่ และดำเนินระบบเศรษฐกิจตามอย่างระบบเศรษฐกิจระบบใหญ่ ?

ประเทศไทยเราก็แปลกที่ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม เป็นระบบทุนนิยมแบบไร้จิตสำนึก แต่การใช้ระบบเศรษฐกิจฐานรากกลับไม่ใช่ระบบทุนนิยม....แบบนั้นแต่ยังเป็นระบบทุนนิยมที่เอื้ออาทรกันอยู่...

เช่นการทำธุรกิจเกษตร ปลูกผักเป็นต้น ชาวบ้านก็จะรู้สึกว่า การทำธุรกิจมีกระบวนการคือ เมล็ดผัก,น้ำ,ยารองพื้นหลุม,แรงงาน,ยาฆ่าแมลง ..ผ่านกระบวนการนี้ แล้วออกมาเป็น ผักสมบูรณ์สวยงาม ไร้ที่ติ..แต่แฝงไปด้วย สารเคมีเป็นพิษตกค้างในผัก ,จุลินทรีย์ย่อยสลายที่พร้อมจะทำลายสุขภาพของผู้บริโภค,เป็นซากพืชที่ไร้จิตวิญญาณ,สีเขียวที่เราไม่รู้ว่า ยังมีคลอฟินส์อยู่หรือเปล่า??..

แต่ถ้าถามเกษตรกรว่า ผักสวย ๆ ที่เห็นนี้ เอามาปรุงเป็นอาหารทานมื้อนี้ได้หรือไม่ มักจะได้คำตอบว่า ...ไปตัดผักจากแปลงโน้นดีกว่า...(เพราะเขาแยกระหว่างปลูกกินกับปลูกขายเอาไว้แล้วเหมือนกระหล่ำปลีที่ซับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์)

นี่เป็นการทำธุรกิจแบบไร้จิตสำนึก(ต่อผู้บริโภค) แต่เขาต้องทำเพราะว่าผู้บริโภคต้องการแต่ผักสวย,ผักสมบูรณ์ไม่มีรู ไม่มีหนอน,ผักที่หมดจดเหล่านี้ ถ้าไม่กางมุ้งก็ยากที่จะควบคุมให้สวยได้ หรือถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมีก็เร่งให้โตเร็วไม่ได้ เพราะเขาต้องทำงานแข่งกับเวลา (เวลาหมดอายุของยาฆ่าแมลง ซึ่งหนอนมาทำลายผักอีกได้).....แต่ถ้าเราต้องการทานมื้อนั้น เขาก็จะนำผักอีกแปลงมาทำให้เรารับประทาน.....(เขามีจิตสำนึกว่า ถ้าทานเองก็จะปลูกไว้อีกตั้งหา หรือเท่ากับว่ารับผิดชอบชีวิตของตัวเอง แต่ไม่รับผิดชอบชีวิตของคนอื่นที่บริโภคผักนั้น ๆ )

แต่วิสาหกิจชุมชน เป็นการประกอบการคล้ายทำธุรกิจ ทำอุตสาหกรรมในครอบครัว ให้การเรียนรู้เป็นหัวใจของกิจกรรม (สาธิตได้ตลอดว่าดีต่อสุขภาพ,ดีต่อสิ่งแวดล้อม,ดีกับทุกคนอย่างไร) มีเป้าหมายที่พอเพียง (เน้นที่การผลิตด้วยแรงงานของคนในชุมชนเป็นหลัก) มีเป้าหมายที่การพึ่งตนเอง (อย่างน้อยผลิตเพื่อบริโภคเอง เหลือแล้วจึงจำหน่าย) และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงชีวิตของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น โรงงานผลิตน้ำสะอาด,การทำน้ำยาเอนกประสงค์,โรงงานทำปุ๋ยชีวภาพ ,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิ บ้านนาอีสาน ก็จะใช้ครกสี ผลิตเป็นข้าวกล้องให้ผู้บริโภค(ทั้งตนเองและผู้อื่น) โดยรับประกันคุณภาพว่า ไร้สารพิษแน่นอน 100 % (ตั้งแต่หว่านกล้าข้าวหอมมะลิ และทุกขั้นตอนจนได้ข้าวเปลือกมาสีอีกครั้งเป็นข้าวกล้องปลอดสารพิษ)..

จากข้อแตกต่างเหล่านี้ จึงกลายเป็นว่า วิสาหกิจชุมชน เปรียบเหมือน "วัว" แต่ธุรกิจชุมชน/อุตสาหกรรมชุมชน เปรียบเหมือน "ม้า" อาจจะมีความละม้ายคล้ายคลึงกัน ในสรีระร่างกาย แต่เมื่อทำหน้าที่ "วัว" กับ "ม้า" ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เราจะเอา"ม้า"มาไถนาแทน "วัว" ไม่ได้ เพราะ "ม้า" เอาไว้วิ่งและสู้รบ ซึ่งเอา"วัว" ไปทำหน้าที่แทนกันไม่ได้ฉันใด  ธุรกิจชุมชน ก็ไปแทน วิสาหกิจชุมชนขั้นพื้นฐาน ไม่ได้เช่นกัน ครับ

หมายเลขบันทึก: 205235เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่มีจริงเหรอความเหมือนนะ

 

สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

ความเหมือน คือ ความต่าง  ความต่าง คือ ความเหมือน, เหมือนไทยเราเอา คำว่า "วิสาหกิจชุมชน ขนาดกลาง และขนาดย่อม" จากต่างชาติมาใช้  มานั่นแหละ...ทำไมมีกฏหมายรองรับ...มีธนาคารเพื่อวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม ....แตกต่างจากธุรกิจชุมชน หรืออุตสาหกรรมชุมชนตรงไหน....ถึงมีอภิสิทธิ์กว่า   และส่วนวิสาหกิจชุมชนกับต้องหาทางออกกันเอง......

ธุรกิจชุมชน อุตสาหกรรมชุมชน กับ ธุรกิจ และอุตสาหกรรม เหมือนกันทุกประการ แต่อยู่ที่คนของใคร? มีการเลือกปฏิบัติกันเอง ...ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท