การพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง


การพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

   วันนี้ขอนำเสนอรายการวิจัย เน้นการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ที่สนใจการวิจัยประเภทนี้ เพื่อขอวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และแก่ผู้สนใจ

การพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชาพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
The  Development  of  Learning  Community   Organization   Groups  to  Sufficiency  Economy  at  Ban  Lao Rat  Phatthana,  Mu 11,Tambon  Pracha  Phatthana, 
Amphoe  Wapi  Pathum,  Changwat Maha  Sarakham

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)  เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา
(2)  เพื่อพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง   (3)  เพื่อประเมินศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา   ตำบลประชาพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย  แยกเป็นผู้วิจัยหลัก คือ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 1  คน  ผู้วิจัยร่วม  จำนวน  2  คน  คือ ครูอาสาศูนย์การบริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวาปีปทุม  และนักวิจัยชาวบ้าน  จำนวน  20  คน  คือ ผู้นำที่เป็นทางการ  จำนวน  5  คน  ผู้นำที่ไม่เป็นทางการได้แก่ผู้นำกลุ่มอาชีพ  จำนวน  5  คน  ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน 10 คน  รวม  20  คน รวมจำนวนทั้งหมด  22  คน  เครื่องมือมี  3 ชนิด คือ 1) กรอบประเด็นในการสัมภาษณ์และสำรวจชุมชน          2)  ตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน  3) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงาน  ระเบียบวิธีวิจัยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action 
Research)   ตรวจสอบความเที่ยงตรงในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้  
  1.  ด้านบริบทชุมชน  บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  74  หลังคาเรือน  ประชากร  329  คน  แยกเป็น  ชาย  172  คน  หญิง 157  คน  มีการตั้งถิ่นฐานและความเป็นอยู่เหมือนกับชุมชนชนบทอีสานทั่วๆไป   ด้านเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักทำนา  และด้านการศึกษาบริบทชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  การดำเนินงานในระยะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  และลงพื้นที่เพื่อพบปะกลุ่มองค์กรชุมชนเป้าหมาย  โดยมีขั้นการดำเนินงาน

 * ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม 
คือ  ศึกษาชุมชนและค้นหาทีมแกนนำ  จัดทำแผนการดำเนินงานการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรชุมชนในการพัฒนาองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง   จัดทำเครื่องมือตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน  และประเมินผลกลุ่มองค์กรชุมชนก่อนการดำเนินงาน  ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้วิจัยจะนำไปวางแผนพัฒนากลุ่มในขั้นตอนต่อไป 
  (2)  ด้านการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  หลังจากที่ผู้วิจัยได้ทราบบริบทและสถานการณ์ของชุมชนและกลุ่มองค์กรเป้าหมาย  จึงได้ผลักดันให้กลุ่มองค์กรได้นำแผนการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ไปใช้อย่างจริงจัง  โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน  คือ  สร้างความตระหนักในการดำเนินงาน ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมให้กลุ่มองค์กรชุมชนได้ไปศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบในการพึ่งตนเอง  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง  ส่งผลให้กลุ่มองค์กรเป้าหมายดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายในระดับหนึ่ง  สรุปบทเรียนและทบทวนแผนการดำเนินงาน  แล้วมีการประเมินผลระหว่างดำเนินงาน  ตามแบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จที่สร้างขึ้น  พบว่า  โดยภาพรวมกลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพรมีพัฒนาการในการดำเนินงานระหว่างดำเนินการอยู่ในระดับสูง 
  (3)  ด้านการประเมินศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยได้ประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ  พบว่า  โดยภาพรวมกลุ่มองค์กรชุมชนมีความสามารถต่อการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  อยู่ในระดับ    ปานกลาง  ทั้งนี้เพราะกลุ่มยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม  การผลิต  การตลาด  และการเงิน  จำเป็นต้องมีการสนับสนุนและพัฒนาไปอีกระยะหนึ่ง

คำสำคัญ:  การพัฒนากลุ่ม,  การเรียนรู้จากการปฏิบัติ,  เศรษฐกิจพอเพียง

ABSTRACT

 The development  of  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy is  purposes  of  conducting  this  study  of  the  development  of  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy  were (1)  to  examine  general  context  of  Ban  Lao  Rat  Phatthana which  effected  operation  of  development of  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy,  (2) to  develop  community  organization  groups  in  management  to  learning  organizations  to  sufficiency  economy  and  (3)  to  evaluate 


potentials  of  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy  of  Ban  Lao  Rat  Phatthana. The focus  area  of  study  was  Ban  Lao  Rat  Phatthana,  Mu  11,  Tambon  Pracha  Phatthana,   Amphoe  Wapi  Pathum,   Changwat  Maha  Sarakham,   The  focus  group  and  the  group  of  research  participants  could be  divided  into  1  major  researcher:   director  of  Amphoe  Wapi  Pathum  Nonformal  Education  Service  Center;  1  participants:   Amphoe  Wapi  Pathum  Nonformal  Education  Service  Center  volunteer  teachers;  and   20  villager  researchers:  5  formal  leaders,  5  informal  leaders  comprising  5  occupation  group  leaders,  and  10 representatives  of  community  organization  groups  with  a  total  of  22  persons,  Methodology: application of participatory action research, checking validity of qualitative data collection using triangulation technique. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standardization. Results could be summarizes as follows:
    1) in  the  community  context,  Ban  Lao  Rat  Phathana  had  totally  74  house holes  with  the  population  of  329  people:   172  males  and  157  females   and  had  similar  settlement  and  being  to  Isan  rural  communities  in  general.   In  economy,  most  of  its  people  earned  their  chief  living  by  farming.  In  examining  the  community  context  which  affected  operation  of  developing  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy,  in  operation in the  beginning   phase  the  researcher  used  the  methods  of  studying  related  documents  and  field  study  to  meet  the  focus  community  organization  group.    The  operational  stages  were:   studying  the  community  and  searching  for  a  core  leading  team,  making plans  for  operation  of  participatory  learning  of  community  organization  groups  in  development  of  learning  community  organizations  to  sufficiency  economy,  making  instruments  of  operational  success  indicators  and  evaluating  the  community  organization  groups  before  operation.  The  researcher  could  obtain  important  data  for  making  plans  for  developing  groups  in  the  next  stage.
  2) in  developing  community  organization  groups  in  management  to learning  organizations  to  sufficiency  economy,  after  the  researcher  had  already  know the  context  and  situations  of  the  community  and  the  focus  organization  groups,  he  earnestly   pushed the  organization  groups to  implement  organization  groups  to  sufficiency  economy.   The  stages  of  operation  were:    building  awareness  of  operation  by  using  the  methods  of  organizing  activities  for  the  community  organization  group  to  have  field  trips  in  the  areas  of  model  process by  real  action  which  caused  the  focus   organization groups  to  be  able  to  achieve  the  goals  at  a  certain  level,  summarizing  lessons  and  reviewing  the  plans  for  operation  and  then  evaluation  while  operating  according  to  the  constructed  form  of  evaluating  success  indicators.    It  was  found  that  the  groups  transmuted  herbal  Thai  noodles    had  operational  development  while  operating  as  a  whole  at  a  high  level.
  (3) in  evaluation  of  potentials  of  the  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy,  the  researcher  evaluated  the  potentials  at  the  end   of  the  project.
It  was  found  that  the  community  organization  groups  as  a  whole  had  ability  to  develop  the  learning  community  organization  groups  to  sufficiency  economy  at  a  medium  level.  It  was  because  these  groups  still  lacked  knowledge  and  work  experiences  in  terms  of  group  management,  production,  marketing,  and  finance  and  community  organization  groups  to  real  sufficiency  economy,  it  was  necessary  to  have  further  support  and  development  for  a  period  of  time  in  the  future.

Keywords:  community development, action leaning, sufficiency economy
 
บทนำ

 สังคมไทยควรจะสนับสนุนและส่งเสริมผู้สร้างความรู้  และมีผู้ใช้ความรู้   เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความสามารถทางการแข่งขัน  โดยมีเป้าหมายทางสังคม เพื่อทำให้สังคมไทยมีคุณค่า น่าอยู่  สันติ ส่งเสริมเป็นธรรมและสังคมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน  โดยใช้หลักการทางศาสนา  คือ ขันธ์ทั้ง 5  ของสังคมได้แก่  ศีลธรรม  ปัญญา  เศรษฐกิจถูกต้อง  รัฐถูกต้อง  และสังคมเข็มแข็ง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ฉบับที่  9  (2545–2549)  ที่กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศของสังคมไทยที่พึงปรารถนา  คือ สังคมที่เข็มแข็งและมีดุลยภาพใน  3  ด้าน  คือ  เป็นสังคมคุณภาพ  สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้  และเป็นสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน  (ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม.   2546  : 13–14)  ระบบการศึกษา  ซึ่งควรจะเน้นระบบเพื่อความงอกงามทางปัญญา  แต่เมื่อเอาระบบราชการซึ่งเป็นระบบควบคุมเข้าไปใช้  ส่งผลควบคุมความเจริญงอกงามทางปัญญา  ระบบการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย  ล้วนเน้น “การถ่ายทอดความรู้เก่า”  มีการสร้างความรู้ใหม่น้อย  การจัดการความรู้เพื่อให้ใช้ได้ในสถานการณ์จริง  เรียกว่าไม่มีเลย  ระบบการศึกษาอย่างที่เป็นอยู่  จึงเป็นปัจจัยสำคัญของความอ่อนแอทางปัญญา  การเรียนรู้ที่แท้จริงจะเกิดได้จากการรู้เท่าทัน(สติ)  ถอนตัวออกจากกิเลสไปสู่การเรียนรู้  การเรียนรู้จึงเป็นธรรมะอย่างยิ่ง  (ประเวศ  วะสี.   2545 : 14-15)
 ในสังคมปัจจุบัน  สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงทรัพยากร  แรงงานหรือเงิน  แต่เป็นความรู้  สังคมจึงเป็นยุคสังคมแห่งการเรียนรู้  และกระบวนการเรียนรู้จึงสำคัญที่สุด  การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับชุมชน  คือ  ช่วยให้ชุมชนค้นพบ  และพัฒนาศักยภาพของคนจนสามารถ  “พึ่งตนเองได้”  ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้  จึงเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  คือ  พร้อมที่จะเรียนรู้  ตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระ  สามารถจัดการ  “ทุน”  ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ยุทธศาสตร์ใหม่ของการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง  สถานการณ์ของชุมชนจึงต้องวางอยู่บนหลักการพื้นฐานหลัก  4  ประการ  คือ  1)  สร้างความเชื่อมั่น  2)  ฟื้นฟูความสัมพันธ์  3)  พัฒนาระบบการจัดการ  และ  4)  กระบวนการเรียนรู้  (เสรี  พงศ์พิศ,  วิชิต  นันทสุวรรณ  และจำนงค์  แรกพินิจ.    2544  :  12-13)    มีปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จอยู่หลายประการ  คือ  1)  การทำงานแบบมีส่วนร่วม  การดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้บุคคลจากหลากหลายอาชีพ  เข้ามามีส่วนร่วมในกระการ  เช่น  ตัวแทนชาวบ้าน  ผู้นำ  ผู้รู้ภูมิปัญญา นักพัฒนา  นักวิชาการ  ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมองประเด็นปัญหาที่กว้าง  รอบด้านและครอบคลุมเนื้อหาประเด็นการเรียนรู้  2)การสร้างข้อตกลงเงื่อนไขการทำงานร่วมกัน  การทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลที่มาจากหลายหน่วยงาน  ภาคี  มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ต้องมีการกำหนดแผนการทำงานกิจกรรมร่วมกัน  และนัดหมายวันเวลาในการจัดกิจกรรมชัดเจน  ส่งผลให้เกิดเวทีเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง3)  การผลักดันให้แผนงานเข้าสู่เชิงนโยบาย  เช่น  แผนแม่บทพัฒนาชุมชน  จะส่งผลให้คนในชุมชนมองเป็นปัญหาสาธารณะ  ในการที่จะเร่งแก้ไขทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จเร็วขึ้น 4)  มีกิจกรรมหนุนเสริมที่หลากหลาย  ซึ่งทีมวิจัยได้พยายามเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีพัฒนาทั้งภาครัฐ  เอกชน  เพื่อให้เกิดกิจกรรมในลักษณะหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้  เช่น  ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  (ฉลาด  จันทรสมบัติ  และคณะ. 2548  :  บทคัดย่อ)
 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชน  และสังคมแห่งการเรียนรู้โดยยึดชุมชนเป็นฐาน  เอาปัญหาของชุมชนเป็นโจทย์แล้วค้นหาศักยภาพจุดแข็งของชุมชนมาสู่การแก้ไขปัญหา จากบทเรียนและประสบการณ์ในงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ผู้วิจัยได้เรียนรู้  สั่งสม เห็นว่าส่วนใหญ่กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนแบบแยกส่วน  จัดเป็นเรื่องๆ  โปรยหว่านขาดความต่อเนื่อง  ทำในเรื่องเดิมๆ  วิธีการเดิมๆ  ไม่ยึดพื้นที่หรือชุมชนเป็นหลัก  ขาดการออกแบบคิดค้น  พัฒนาที่เป็นรูปธรรม  จนหาสิ่งที่เป็นสัญญาลักษณ์ใหม่ของการศึกษานอกโรงเรียนค่อนข้างยาก  โดยการนำเอาปัญหาความต้องการและวิถีชีวิตเป็นโจทย์  นำเอาศักยภาพผู้นำ  ผู้นำกลุ่มอาชีพ  ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และฐานทรัพยากรในท้องถิ่นเป็น  “ทุน”  ผ่านกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทั้งในเชิงกลุ่ม  และกลุ่มอาชีพต่างๆ    เป็นสื่อกลางตามแนวทางหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ตามสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชน  เกิดกระบวนการเรียนรู้  องค์ความรู้  สร้างงาน  สร้างอาชีพ  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  นำไปสู่การแก้ไขปัญหาในชุมชนได้โดยคนในชุมชนเอง  นำไปสู่การพึ่งตนเองและชุมชนเข้มแข็งในที่สุด 
  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวิจัย  เรื่อง  การพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชาพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ  กลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพรบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  โดยใช้ประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการวิจัย  หากผลการดำเนินงานองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้ส่งผลให้ประชาชนมีศักยภาพในการเรียนรู้  การจัดการความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ  มีการพึ่งตนเอง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีความเหมาะสมและมีคุณภาพ  ก็จะนำไปสู่การวางแผนพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป  ตลอดทั้งขยายผลองค์ความรู้ใหม่แก่หมู่บ้าน ชุมชนและอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดมหาสารคามต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1.  เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง
 2.  เพื่อพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง
 3.  เพื่อประเมินศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย

 1. พื้นที่วิจัย
  บ้าน เหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชุมพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  กลุ่มองค์กรเป้าหมาย ได้แก่  กลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพร  แต่ผู้นำและประชาชนสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  กลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพร    
 2.  กลุ่มเป้าหมาย
 กลุ่มเป้าหมาย  คือ บุคคลหรือกลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของกลุ่มองค์กรชุมชน  ในบ้าน เหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชุมพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
 3.  กลุ่มผู้วิจัยและร่วมวิจัย                  
  ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย  แยกเป็นผู้วิจัยหลัก คือ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษาอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 1  คน  ผู้ร่วมวิจัยจำนวน  2  คน  คือ ครูอาสาศูนย์การบริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวาปีปทุม  และนักวิจัยชาวบ้าน จำนวน  20  คน  ประกอบด้วย  ผู้นำที่เป็นทางการ  จำนวน 5  คน  คณะกรรมการกลุ่มองค์กรชุมชน  จำนวน  5  คน  ตัวแทนสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชน   10   คน  รวมจำนวนทั้งหมด  22  คน
 4.  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
  ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้ ( Key Informant ) ประกอบด้วย ผู้นำและตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน บ้าน เหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชุมพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม รวมจำนวน 35 คน  แยกได้ดังนี้ ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ  จำนวน  5   คน   คณะกรรมการกลุ่มองค์กรชุมชน  จำนวน  5  คน  ตัวแทนสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชน   10   คน  จำนวนทั้งหมด 20 คน
 5.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปของชุมชนบ้าน เหล่าราษฎร์พัฒนา  หมู่ที่  11  ตำบลประชุมพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
แบบสนทนากลุ่มย่อยการบริการคุณภาพงานแบบครบวงจร (TQM)  แบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มองค์กรชุมชน  แบบประเมินโครงการการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  สมุดจดบันทึก และบันทึกการประชุมและกล้องบันทึกภาพ
 6. วิธีดำเนินการวิจัย
 การศึกวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งปรับปรุงมาจาก
ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อ้างจาก ฉลาด  จันทรสมบัติ  (2547  : 9)  กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานศึกษา  โดยแบ่งช่วงระยะการศึกษาออกเป็น 6 ระยะคือ 1) การเตรียมชุมชน / และสร้างทีมแกนนำ 2) จัดทำแผนและปรับปรุง   3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติงานตามแผน  4) ประเมินผลระหว่างดำเนินงาน   5) การยกระดับองค์ความรู้ของกลุ่มอาชีพ  6) สรุปบทเรียนประเมินผลหลังสิ้นสุด  และวางแผนขยายผล  แล้วนำมาปรับปรุงเป็นขั้นตอนในการประเมินโครงการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  แบ่งการดำเนินงานออกเป็น  3  ระยะ  9  ตอน  ดังนี้ 
          ระยะที่ 1  ศึกษาชุมชนและการประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ
    1.1  ศึกษาชุมชนและค้นหาทีมแกนนำ   ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้ช่วยวิจัยเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการจำนวน  2  ครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม  2550  ผลจากการดำเนินงานส่งผลให้ผู้วิจัยได้กลุ่มองค์กรเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน  5  กลุ่มองค์กร  ประกอบด้วย  1)  กลุ่มแปรรูปขนมจีน  2)  กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  3)  ผลิตข้าวอินทรีย์  4)  กลุ่มผู้นำชุมชน    และ  5)  กลุ่มออมทรัพย์  นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้กลุ่มผู้สนใจในแต่ละกลุ่มองค์กรให้ความสนใจในการเข้าร่วมให้ข้อมูลจำนวน  35 คน 
    1.2  จัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย  ผู้วิจัยได้จัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกับตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน  และนำเสนอผลการวิจัยในพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มองค์กร  ของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบและเป็นฐานในการนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานระยะต่อไป  ผลการดำเนินงานในขั้นตอนนี้ส่งผลให้ทั้งผู้วิจัยและกลุ่มองค์กรเป้าหมายมีแนวทางและเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน  ทั้งในส่วนของแผนร่วมของโครงการและแผนการดำเนินกิจกรรมย่อยของแต่ละกลุ่มองค์กร
    1.3  การจัดทำเครื่องมือตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน  โดยผู้วิจัยได้
ศึกษาจากศึกษาการสร้างแบบสอบถาม จากหนังสือการวิจัยเบื้องต้นของบุญชม ศรีสะอาด (2546 : 70-79) งานวิจัยของบุญส่ง หาญพานิช (2546 : 279-292)  การประเมินคุณภาพด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมองค์กรของวิจารณ์  พานิช (2547 :8-13)  นำมาเป็นแนวทางในการทำแบบประเมินในการดำเนินงานของกลุ่มองค์กรชุมชนก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ ประยุกต์ใช้เทคนิคคุณภาพครบวงจร(TQM) ของ ฉลาด  จันทรสมบัติ (2547 : 343-345) 
    1.4  ประเมินผลกลุ่มองค์กรชุมชนก่อนการดำเนินงาน  ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินการดำเนินของกลุ่มองค์กรที่ผ่านมาเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ของแต่ละองค์กรนำไปเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุง  และวางแผนให้ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องนำไปสู่การพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นจริง  โดยใช้การประเมินเป็นรายกลุ่มองค์กรตามเทคนิคการบริหารจัดการที่ครบวงจร การระดมพลังสมองแบบ  TQM  กำหนดกิจกรรมในกลุ่มและผู้รับผิดชอบ  เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลก่อนดำเนินงานโครงการ     ระยะที่ 2  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  และการประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการ
    2.1  สร้างความตระหนักในการดำเนินงาน  การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยมีเป้าหมายในการดำเนินงานให้สมาชิกกลุ่มองค์กรได้เกิดจิตสำนึกและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำงานเพื่อส่วนร่วมในลักษณะกลุ่มองค์กร  เพื่อนำไปสู่การลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และสร้างงานในชุมชน  โดยการพัฒนาองค์รู้และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มองค์กรภายนอก  โดยวิธีการฝึกอบ  และศึกษาดูงานพื้นที่ชุมชนตนแบบในการพึ่งตนเอง  การทำแป้งหมักขนมจีนสมุนไพร วันที่   14  มิถุนายน  2550    ณ  ตำบลกะพง  จังหวัดระยอง  ผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม  ส่งผลให้แต่ละกลุ่มองค์กรมีการนำเอาแนวคิด  หลักการ  และเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์มาพัฒนากิจกรรมของตนเองจนมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    2.2  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มองค์กร  โดยการดำเนินงานในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยมีความต้องการให้กลุ่มองค์กรชุมชนได้นำแผนการเรียนรู้ในการพัฒนาองค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง   ไปลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
    2.3  สรุปบทเรียนและทบทวนแผนการดำเนินงาน  การดำเนินงานในขั้นตอนนี้  ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มองค์กรชุมชนได้ทบทวนตนเองถึงผลสำเร็จบทเรียนสำคัญ  แนวทางขยายผล  ปัญหาอุปสรรค  และแนวทางแก้ไข  เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานไปสู่กลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง 
    2.4  ประเมินผลระหว่างดำเนินงาน  หลังจากผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้แต่ละกลุ่มองค์กรได้ลงมือปฏิบัติตามแผนงานมาระยะหนึ่ง  จึงได้จัดให้มีการประเมินผลระหว่างการดำเนินงานการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งโดยบุคคลในกลุ่มองค์กรเอง  และบุคคลภายนอก  โดยผู้วิจัยได้นำเครื่องมือประเมินผลตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งศึกษาและพัฒนามาจากแบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน  ตามโครงการย่อย  โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองชุมชนหนองข่า        ของฉลาด  จันทรสมบัติ  และคณะ  (2547 : 67 – 72)  มีการนำเครื่องมือมาใช้ประเมินจริง  เมื่อวันที่  15  กรกฎาคม  2550  ณ  ศาลาวัดบ้านหนองเหล่า  ตำบลประชาพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม 
     ระยะที่ 3  ประเมินผลหลังการดำเนินงานโครงการ
     ประเมินผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนาการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  โดยหน่วยงานภายนอกศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  เมื่อวันที่  25  สิงหาคม  2550  ณ  ศูนย์ข้อมูลประจำหมู่บ้าน  บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา  ตำบลประชาพัฒนา  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
 7.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
    7.1  ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    7.2  ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคล  ผู้รู้  ผู้เกี่ยวข้อง  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ตาม
ประเด็นคำถาม  โดยใช้เทคนิคการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน  (Rapid  Rural  Appraisal :  RRA)  และอื่นๆ
    7.3  ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมทั้งผู้วิจัย  และผู้ร่วมวิจัย 
    7.4  สนทนากลุ่ม  (Small  Group  Interview)  ในแต่ละกลุ่มย่อยในหมู่บ้าน 
หรือในสถาบันในระดับตำบล  ตามประเด็นที่ศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูล  ในการดำเนินการ
วิจัยและวางแผนงานโครงการ
7.5  ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมวางแผนกับชุมชนและกลุ่มอาชีพ  คัดเลือกแนว
ทางแก้ปัญหาลงมือปฏิบัติแก้ปัญหา  มีการสังเกตและสะท้อนกลับข้อมูล  นำไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 8. การวิเคราะห์ข้อมูล
  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดระบบการทำงานของกลุ่มองค์กรชุมชนร่วมกับ
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองมหาสารคาม  เพื่อให้เห็นพัฒนาการการดำเนินงานของกลุ่มและสังเคราะห์ออกมาเป็นแผนภาพกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมาย  และประเด็นที่ศึกษา  ข้อมูลที่วัดได้ ใช้สถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาประกอบการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์  (Descriptive  Analysis)
 9.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

อ่านต่อในบล็อกถัดไปครับ



ความเห็น (1)

อยากทราบรายละเอียดของการทำวิจัยด้วยวิธีการทำRRA อย่างละเอียดค่ะ เพราะหาในหนังสือและในnetได้ไม่ละเอียดเลยค่ะ จะขอบคุณอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท