องค์กรต้องอยู่รอด อย่างมีคุณค่า


ในโลกแห่งการแข่งขัน เพียงเราย่ำเท้าอยู่กับที่ก็เท่ากับเรากำลังก้าวถอยหลัง

ในโลกแห่งการแข่งขัน  เพียงเราย่ำเท้าอยู่กับที่ก็เท่ากับเรากำลังก้าวถอยหลัง    ตามคนอื่นเค้าไม่ทันค่ะ

Ulrich (2005, p. viii) ได้เสนอแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลผลิต  กระบวนการหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันและเพื่อความอยู่รอดขององค์กร  สอดคล้องกับแนวคิดของ  อานันท์ ปันยารชุน (2543) ที่กล่าวว่า  ในปัจจุบันองค์กรภาครัฐไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ  รัฐวิสาหกิจหรือแม้แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศอย่างหน่วยงานทหารจะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  วิถีการทำงานที่มีทิศทางและชัดเจนมากขึ้น  เพื่อพยายามจะแสดงถึงความมีประสิทธิภาพขององค์กรและสร้างความสามารถในการแข่งขันในสังคมโลก  โดยมีการปรับโครงสร้างให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน  เช่น  การปฏิรูประบบการทำงานของภาครัฐ  กฎ  ระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกรรมและการพัฒนาองค์กร

บางท่านคิดว่าทำไมเราไม่พอเพียง  เราจะแข่งขันไปทำไม  เราแข่งขันไปเพื่ออะไร  แข่งขันกับโลกาภิวัตน์เพื่ออะไร  ในความคิดเห็นของดิฉันการแข่งขันเพื่อการอยู่รอด ณ วันนี้ เป็นการแข่งขันกับตัวเอง  โลกที่ไร้พรมแดนวันนี้  เป็นโลกที่ข้อมูลข่าวสารไวมาก  โปร่งใสมากขึ้น (มองในมุมบวกนะคะ) คนต้องมีคุณภาพค่ะองค์กรจึงอยู่รอด 

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงชัดเจนมากว่า..ต้องรู้จักพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน  นั่นหมายความว่าในการพัฒนาตนเอง  พัฒนาองค์กรให้อยู่รอดนั้นเราต้องมอง resource ของเราที่มีอยู่และใช้อย่างคุ้มค่า  โดยนำ resource ที่มีอยู่มาเพิ่มคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นคน  ของหรือเเม้แต่งบประมาณ  และต้องมีเหตุมีผลในการใช้หรือพูดง่าย ๆ ต้องมีสตินั่นเอง (สติมาปัญญาเกิดค่ะ)  ในขณะเดียวกันต้องมีการบริหารความเสี่ยง(ต้องรู้ว่าอะไรคือความเสี่ยง  ต้องรู้จักแก้และป้องกันความเสี่ยงได้)  รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะส่งผลอะไรในภายภาคหน้าบ้างโดยเฉพาะผลลบที่จะตามมาในอนาคต  ไม่ใช่ว่าแก้วันนี้ส่งผลดีแต่ภายภาคหน้าก่อให้เกิดปัญหาให้กับลูกหลาน  นั่นคือการพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable) 

ที่สำคัญอย่าลืมสิ่งที่ในหลวงเน้นคือการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม  นั่นหมายความว่าท่านให้เราพัฒนาตนให้รู้ทันกับการเปลี่ยนแปลงหรือกับโลกาภิวัตน์  รู้ที่จะพอประมาณ  รู้ที่จะมีเหตุมีผลและรู้ที่จะบริหารความเสี่ยงค่ะ  จริงอยู่ชาวไร่ชาวนาอาจจะไม่รู้จักโลกาภิวัตน์แต่เขาต้องรู้ที่จะอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างเท่าทันไม่ถูกคนเอาเปรียบ  เพราะไม่งั้นก็จะเห็นว่า  เราบอกให้เค้าพอเพียง  เเต่เค้าอยากมีมือถือใช้ (โลกาภิวัตน์ที่เขาไม่รู้จักนั่นไงคะ) แล้วก็ถูกเอาเปรียบใน Promotion ที่เขาไม่เคยรับรู้เลย อย่างที่เราได้ยินกันทุกวันนี้ เพราะนั่นเขาไปเจอคนที่มีความรู้แต่ขาดคุณธรรมมาเอาเปรียบ  มาวันนี้ในหลวงสอนเราให้พอเพียง  โดยต้องมีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  นั่นคือเราหยุดนิ่งไม่สนใจโลกภายนอกไม่ได้  แต่เราต้องรู้และก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นเกิดบนพื้นฐานรู้และมีคุณธรรม  เราจึงจะอยู่รอดโดยไม่ถูกเอาเปรียบไงคะ (หรือว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยคนที่ขาดคุณธรรมหรือเปล่านี่) และที่แน่นอนคือไม่เอาเปรียบผู้อื่นค่ะ

พอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  บนฐานความรู้คู่คุณธรรม  จึงเป็นการเพิ่มคุณค่า (add value) ตัวเราค่ะ  และถ้าองค์กรใดนำ แนวคิดนี้ไปใช้ก็นจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร  องคกรจะอยู่รอดอย่างสมศักดิ์ศรีและมีคุณค่าค่ะ 

นี่คือคำตอบที่ว่าในโลกแห่งการแข่งขัน  เพียงเราย่ำเท้าอยู่กับที่ก็เท่ากับก้าวถอยหลังคือก้าวไม่ทันผู้อื่นค่ะ

...........

นึงนิจ อนุโรจน์

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 204534เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และคุ้มค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท