การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๑๖)


การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๑๖)


           ขอนำรายงานของมูลนิธิข้าวขวัญ ตอนที่ ๑๖ มาลงต่อนะครับ    ตอนนี้เป็นเรื่องของการสำรวจผลของการเรียนรู้ในช่วงเวลา ๖ เดือน    อย่าลืมว่ารายงานนี้ สคส. ได้รับเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๗ นะครับ     โปรดสังเกตตารางแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาก่อนและหลังกิจกรรม ๖ เดือนนะครับ    เมื่อได้เห็นตารางนี้ในการนำเสนอของนักเรียนโรงเรียนชาวนาในเวทีสรุปการเรียนรู้ช่วง ๖ เดือนแรก ผมก็ดีใจจนเนื้อเต้น    พอดีทีมประเมิน สคส. ไปนั่งฟังอยู่ด้วย ผลกระทบต่อ “สุขภาวะ” ของนักเรียนชาวนาที่ประเมินตนเองเช่นนี้ จึงมีส่วนช่วยให้ สคส. ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ “น่าพอใจ”      และมีส่วนทำให้เราได้รับอนุมัติให้ต่ออายุโครงการไปอีก ๒ ปี      คือจาก ๓ ปี เป็น ๕ ปี โดยงบประมาณเท่าเดิม


บทเรียนของการเรียนรู้
ตอนที่  16  เชื่อมจุดความหวัง
        ตลอดระยะเวลา  6  เดือนที่ผ่านมา  จากช่วงสงกรานต์ถึงช่วงลอยกระทง  จากชาวนาสู่การเป็นนักเรียนชาวนา  เป็นนักเรียนชาวนาแล้วได้อะไรบ้าง?  จากการเรียนรู้ในหลักสูตรการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  ตามโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้  เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน  หลังจากที่มูลนิธิข้าวขวัญจัดกิจกรรมในเวทีต่างๆ  ผ่านโรงเรียนชาวนาไปได้หนึ่งระยะ  และก่อนหน้านี้  เราๆท่านๆได้มานั่งจับเข่าคุยกันรอบใหญ่ไปแล้วว่า  นักเรียนชาวนามีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร?  เป็นทุกข์เป็นปัญหากันอย่างไร? 
        จากการเปิดเวทีตั้งโจทย์และหาเพื่อนร่วมทาง  นานาทุกข์  นานาปัญหาของนักเรียนชาวนาจึงพรั่งพรูออกมา  แล้วนำเสียงเหล่านี้มารวมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางร่วมกัน  จึงทราบถึง    ความคาดหวังของนักเรียนชาวนา  ความคาดหวังจึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนชาวนาขาดสิ่งใด  แล้วมูลนิธิข้าวขวัญจะช่วยเข้าไปเติมให้เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่ง  ความเต็มเปี่ยมจะเป็นพลังให้นักเรียนชาวนาได้วัฒนา
        นักเรียนชาวนาวัฒนาแล้วหรือยัง?
        คำตอบของเรื่องราวทั้งหมด  ควรจะต้องดูความพึงพอใจของนักเรียนชาวนาว่า  ได้เป็นไปตามที่คาดหวังกันบ้างหรือยัง?  จากเวทีเพื่อนเยี่ยมเพื่อนทุก  3  เดือน  เวทีสัญจรที่จัดเป็นการศึกษาดูงานไปตามพื้นที่ชุมชนทั้งต่างๆ  จากเวทีสรุปบทเรียนชาวนาทุก  6  เดือน  ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ได้มีการทบทวนพร้อมตรวจสอบดูถึงความพึงพอใจและความคาดหวัง  เพื่อจะนำผลที่ได้มาปรับปรุง   การทำงานของเจ้าหน้าที่  พร้อมกับแผนงานกิจกรรมที่ได้วางไว้เดิม  ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
        จากเวทีสรุปบทเรียน  ใน  6  เดือนแรก  (ครั้งแรก)  นี้  นักเรียนชาวนาได้ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในจังหวะก่อนการเรียนรู้เปรียบเทียบกับจังหวะหลังการเรียนรู้ในหลังสูตรแรก  ได้  ดังนี้

ลำดับที่
ก่อนการเรียนรู้
หลังการเรียนรู้
1
มีต้นทุนการทำนาสูง  อยู่ในช่วงระหว่าง  3,000 – 3,500  บาท  ต่อไร่
ความสามารถในการลดต้นทุนการทำนาลง  เหลือ  750 – 1,300  บาท  ต่อไร่
2
มีความรู้ในด้านเทคนิคการเกษตรน้อย
ได้รับความรู้ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง  ได้แก่ 
ลำดับที่
ก่อนการเรียนรู้
หลังการเรียนรู้
      -  การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง (ทำเอง)
  -  การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
  -  การใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมี
  -  การเรียนรู้เรื่องแมลง
  -  การทำนาแบบล้มตอซัง
  -  การทำนาแบบดำนาต้นเดียว
3
ขาดความสนใจเรื่องการบัญชี
 -  มีความละเอียดและประณีตในการทำนา
     มากขึ้น 
-  เรื่องการเงิน  มีความละเอียดรอบคอบ
   ในการทำบัญชีมากขึ้น  (ทำบันทึกรายรับ
   และรายจ่าย)
4
การใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนอย่างไม่สนใจใคร  (ตัวใครตัวมัน)
มีความสมัครมากขึ้น  รักกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากขึ้น  มีเครือข่ายหรือเพื่อนที่มีความคิดเดียวกันมากขึ้น
5
ไม่มีเวลาว่าง
มีเวลาว่างมากขึ้น  สามารถอยู่กับครอบครัว  สามารถเข้าไปช่วยเหลืองานชุมชนได้มากขึ้น  ทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง  และชุมชนเข้มแข็ง
6
สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
สิ่งแวดล้อมดีขึ้น  ดินดี  น้ำสะอาด  อากาศไม่เหม็น  เพราะมีอากาศธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
7
สุขภาพร่างกายไม่ดี
-  สุขภาพร่างกายดีขึ้น  เจ็บป่วยน้อยลง 
-  มีความสุขมากขึ้น  สุขภาพจิตดีขึ้นมาก
8
มีภาระหนี้สินมาก  (เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
-  หนี้สินไม่เพิ่ม
-  นักเรียนชาวนาส่วนใหญ่สามารถชำระ
    หนี้สินที่มีอยู่ให้เหลือน้อยลงได้
9
ประเพณีท้องถิ่น  โดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวหายไป
-  มีการฟื้นฟูประเพณีและพิธีกรรมที่
   เกี่ยวกับข้าวขึ้นมาอีกครั้ง
-  ทำให้เกิดความรู้สึกรักและเคารพ
   แผ่นดินและข้าว  (แม่โพสพ)  มากยิ่งขึ้น

        และจากกรณีศึกษาตัวอย่าง  เรื่องบทสรุปการเรียนรู้ของโรงเรียนชาวนาบ้านดอน  ตำบล    บ้านดอน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  พบว่านักเรียนชาวนามีปัญหาและอุปสรรคในการมาเป็นนักเรียนชาวนาหลายประเด็น  ได้แก่
              (1)  ความไม่พร้อมของสามีหรือภรรยาของนักเรียนชาวนา
             (2)  มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา  ไม่สามารถมาเข้าเรียนตามเวลาได้  เพราะติดทำงานประกอบอาชีพ  จึงมาเรียนสาย       
             (3)  สนุกและเพลินกับการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ในปัจจุบัน  จนทำให้เรื่องหลักๆที่จะต้องเรียนรู้ในห้องเรียนไม่เพียงพอ  ส่งผลกระทบให้การทำกิจกรรมในห้องเรียนกระชั้นชิดเวลาเกินไป
              (4)  ชาวบ้านทั่วไปในชุมชนไม่เข้าใจในเรื่องของการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา  จึงทำให้คิดว่าเป็นพวกบ้า  แต่เมื่อมาเข้าร่วมการเรียนรู้จึงได้มากกว่าที่คาดคิดเอาไว้
              (5)  การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่ทันใจเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมี 
             (6)  ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการนำปุ๋ยหมักไปใช้ในนาอย่างไรให้เหมาะสม
              (7)  เกิดความสับสน  กังวลใจ  และยังไม่มั่นใจในการใช้สูตรยาสมุนไพรต่างๆ  สูตรใดจึงจะดี 
              (8)  ยังต้องพึงพาหนี้สินอยู่  เพราะไม่มีทุนเป็นของตนเอง
             (9)  กังวลในเรื่องของการเรียนรู้  กลัวจะเรียนตามเพื่อนๆไม่ทัน
              (10)  เมื่อได้มาเรียนรู้แล้ว  ไม่นำไปปฏิบัติจริง  ทำให้สมาชิกในครอบครัวบ่น 
              (11)  ยังไม่เข้าใจและอยากจะเรียนรู้ถึงโทษภัยของสารเคมีและสิ่งตกค้างที่เป็นพิษในอาหาร
             (12)  ยังไม่เข้าใจและอยากจะเรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ทดแทนสารเคมี
        นอกจากนี้  ยังได้พบว่านักเรียนชาวนาบ้านดอนยังมีทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในโรงเรียนชาวนาอีก  เช่น  ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องหญ้าในนาข้าวได้  (คุมหญ้าไม่ได้)  มีความกังวลใจว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาไม่สำเร็จ  และมีความเป็นกังวลในเรื่องของราคาข้าว  ที่เกรงว่าจะได้ไม่คุ้มทุน
        ในประเด็นต่างๆเหล่านี้  ทางมูลนิธิข้าวขวัญจะต้องนำไปจับเข่าคุยกันอีก  โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ความเข้าใจที่จะสร้างให้นักเรียนชาวนามีความเชื่อมั่นและมั่นใจต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนา 
        แล้วนักเรียนชาวนาบ้านดอนได้อะไรจากการเรียนรู้ในโรงเรียนชาวนาบ้าง?
             (1)  ได้ความรู้และได้ปฏิบัติจริงในเรื่องเทคนิคทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 
             (2)  ได้แลกเปลี่ยนความรู้และได้ทำงานร่วมกันในเรื่องการเพาะพันธุ์สมุนไพร  การทำยาสมุนไพร
             (3)  ได้รู้จักตัวแมลงที่มีประโยชน์และโทษต่อข้าว  โดยเฉพาะในแปลงนาของตนเอง
             (4)  ได้รู้จักเพื่อนนักเรียนชาวนา  และได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้  มีน้ำใจซึ่งกันและกัน  ทำให้เกิดความรัก  ความสามัคคีในหมู่คณะระหว่างกลุ่มนักเรียนชาวนาด้วยกัน
             (5)  ได้รู้ถึงวิธีการทำนาแบบล้มตอซัง 
             (6)  ได้รู้จักการใช้และการผลิตจุลินทรีย์ที่นำไปใช้ในแปลงนา
             (7)  มีความตั้งใจที่จะลด  ละ  เลิก  การใช้สารเคมี
             (8)  มีความเชื่อมั่นในการทำนาปลอดสารเคมีและสามารถนำไปปฏิบัติได้จนเห็นผลจริง
             (9)  มีความสุข  มีความภูมิใจที่ได้มีโอกาสเรียนรู้  และอยากจะนำความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานสืบต่อไป
        นี่เป็นผลสะท้อนจากสิ่งที่นักเรียนชาวนาบ้านดอนได้รับ  ซึ่งได้เคยคิดหวังเอาไว้มาตั้งแต่เมื่อครันที่ได้แสดงความคาดหวังในเวทีตั้งโจทย์  ก่อนการเรียนรู้  ตลอดระยะเวลา  6  เดือนที่ผ่านมา  เสียงของนักเรียนชาวนาจึงสามารถเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า  เป็นไปตามความคาดหวังที่ได้หวังไว้  ในหลายๆสิ่งนักเรียนชาวนาได้คำตอบแล้ว  และยังมีอีกหลายๆสิ่งที่รอการค้นหาคำตอบอยู่  กล่าวคือ  ยังต้องเรียนรู้ต่อไปอีกเรื่อยๆ  เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
        สิ่งที่นักเรียนชาวนาได้คำตอบแล้ว  หรือยังรอการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบเพิ่มเติม  สามารถพิจารณาดูได้จากผลความคาดหวังที่ตั้งใจไว้
<table cellspacing="0" cellpadding="0" border="1">

ลำดับ
ที่
ประเด็น
ความคาดหวังของนักเรียนชาวนา
ได้ตอบสนองแล้ว
ยังไม่ได้
ตอบสนอง
เป็นไปตาม
ความคาดหวัง
(หรือมากกว่า)
ยังไม่เป็นไป
ตามความ
คาดหวัง
1
ความรู้เรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ
          2
การเลิกใช้สารเคมี  สนับสนุนเรื่อง
ปุ๋ยหมักชีวภาพ
          3
การควบคุมหญ้าโดยไม่ใช้สารเคมี
 

      

  4
ความรู้เรื่องศัตรูข้าว
        

</table><table cellspacing="0" cellpadding="0" border="1">

ลำดับ
ที่
ประเด็น
ความคาดหวัง
ได้ตอบสนองแล้ว
ยังไม่ได้
ตอบสนอง
เป็นไปตาม
ความคาดหวัง
(หรือมากกว่า)
ยังไม่เป็นไป
ตามความ
คาดหวัง
5
การเรียนรู้วิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว

 

    6
รายได้เสริมจากรายได้ประจำ

    7
ความรู้เรื่องสมุนไพรทดแทนสารเคมี

    8
ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น  หรือยังเท่าเดิม  แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

    9
การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อเกิดกิจกรรมต่อเนื่อง

    10
ความสามัคคีภายในกลุ่ม

 

    11
ความรู้เรื่องการกระจายฟาง

 

    12
ความรู้เรื่องจุลินทรีย์ และการใช้
ประโยชน์

    13
ความรู้เรื่องคุณภาพของดิน
   

 

14
ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าว
   

 

15
ความรู้เรื่องการทำนาแบบคลุมฟาง 
ไม่ไถ  ล้มตอซัง

   

</table><p>        หมายเหตุ
(1)   สัญลักษณ์  หมายถึง  ความคาดหวังของนักเรียนชาวนาได้รับการตอบสนองแล้วเกิดความพึงพอใจมาก
(2)   สัญลักษณ์  หมายถึง  ความคาดหวังของนักเรียนชาวนาได้รับการตอบสนองแล้วเกิดความพึงพอใจปานกลาง
(3)  สัญลักษณ์   หมายถึง  ความคาดหวังของนักเรียนชาวนาที่โรงเรียนชาวนายังไม่ได้ตอบสนองให้  (ทั้งนี้ต้องรอให้เป็นไปตามกระบวนการและระยะเวลา)
        คำตอบที่นักเรียนชาวนาได้รับ  ความพึงพอใจที่ตอบสนอง  เจ้าหน้าที่สังเกตได้จากรอยยิ้มบนใบหน้าของนักเรียนชาวนา  เมื่อคุณกิจยิ้มได้  คุณอำนวยก็มีความสุขเช่นกัน 
        เมื่อประมวลผลเพื่อให้ได้เห็นถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงจังหวะตามขั้นตอน  ตั้งแต่พบเจอโจทย์ปัญหา  ความทุกข์ยาก  เสียงเงียบที่ไม่มีพลังของนักเรียนชาวนา  มาจนถึงขั้นตอนของ        การเรียนรู้ต่างๆ  ภายในระยะเวลา  6  เดือนที่ผ่านมา  มีพัฒนาการดังนี้
</p>
 
<table cellspacing="0" cellpadding="0" border="1">

(1)
ปัญหาและทุกข์
ตั้งเป็นโจทย์
(2)
ตั้งเป้าหมาย
ร่วมกัน
(3)
เรียนรู้ก่อนทำ
(4)
เรียนรู้ระหว่างทำ
(5)
สรุปบทเรียน
เรียนรู้หลังทำ
1.  หนี้สิน
2.  ได้ผลผลิต
      น้อย
3.  ราคาข้าวตกต่ำ
4.  ต้นทุนสูง
5.  ใช้สารเคมี
     มาก
6.  สิ่งแวดล้อม
     ทรุดโทรม
7.  พันธุ์ข้าวปน
8.  สุขภาพ
     ทรุดโทรม
9.  ครอบครัว
     แตกแยก
- แก้ที่วิธีการผลิต
   ลดต้นทุน 
   ใช้สมุนไพร
-  ลดหนี้สิน
-  พัฒนาเทคนิค
    การเกษตร
    (พันธุ์ข้าว, ดิน)
-  ฟื้นฟูประเพณี
    พื้นบ้าน
-  สุขภาพทั่วหน้า
    ครอบครัว
    อบอุ่น
1.  เชิญวิทยากร
     จากภายนอก  
-  ข้าว 
   สถานการณ์ข้าว
-  เกษตรยั่งยืน
- GMOs / SML
- สารเคมีทาง
   การเกษตร
2.  ภูมิปัญญา
     ท้องถิ่น
-  ผู้เฒ่า  ประเพณี 
-  เกษตรกรที่
    ประสบ
    ความสำเร็จ
3.  ศึกษาดูงาน
-  ศูนย์บริหาร
    ศัตรูพืชฯ
-  ศูนย์วิจัยพืชไร่
-  ศูนย์ชีวินทรีย์
-  อบรมเชื้อรา
   ไตรโครเดอร์มา
-  เก็บจุลินทรีย์
   เก็บสมุนไพร
1.  เรื่องแมลง  
     ระบบนิเวศน์
2.  เทคนิคการ
     ปลูกข้าว
-  ปุ๋ย  จุลินทรีย์
    หมักฟาง
- การคัดพันธุ์ข้าว
-  การเก็บเกี่ยว
3.  การทำงาน
     ร่วมกัน
-  การสังเกต
-  การบันทึก
-  ทำด้วยตนเอง
-  แลกเปลี่ยน
    ประสบการณ์
4.  ประเพณี
-  ลงแขกดำนา
-  รับขวัญ
    แม่โพสพ
-  งานบุญ
    เดือนสิบ
-  เพื่อนเยี่ยม
    เพื่อน
1.  สุขภาพกาย -
     จิตดีมากขึ้น
2.  มีความรู้เรื่อง
     การทำนา
     แบบลดต้นทุน
     ได้จริง
3.  เรียนรู้เรื่อง
     เทคนิคเกษตร
4.  มีความรัก
     ความสามัคคี
5.  รู้จักตนเอง
     ไม่เห็นแก่ตัว

</table>

   

       ผลจากการเรียนรู้ทำให้นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้เรื่องการทำนาแบบลดต้นทุนจนเห็นผล  เรียนรู้เรื่องเทคนิคเกษตรแบบต่างๆ  และนอกจากนี้  พัฒนาการจะแสดงให้เห็นได้ว่า  นักเรียนชาวนามีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น  รู้จักตนเอง  และเป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว  รู้จักการแบ่งปันความรักให้แก่ผู้อื่น  นำไปสู่การสร้างความสามัคคี
        ผลความคาดหวังของนักเรียนชาวนาที่เข้าร่วมการเรียนรู้ได้ช่วยเพิ่มรอยยิ้มให้กับทุกคน  สำหรับการประเมินผลโครงการเป็นตามแผนตามประเด็นที่ทำให้ได้ข้อคิดที่น่าควรคิด  แต่          การประเมินผลชีวิตในอนาคตของนักเรียนชาวนาเป็นสิ่งที่น่าคิดมากกว่า  แผนการทำนาในอนาคตข้างหน้าที่จะนำนักเรียนชาวนาก้าวไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืนจึงเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง  จึงจะพัฒนาให้นักเรียนชาวนาได้วัฒนา
       
          ผมอ่านรายงานการประเมินตนเองของนักเรียนชาวนาแล้วก็เกิดความประทับใจอย่างยิ่ง      และคิดย้อนกลับไปเมื่อสมัยเมื่อผมยังหนุ่มๆ ที่ยังเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย      อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่มีความสามารถในการตนเองดีอย่างนี้     สงสัยว่าคงเป็นเพราะชาวบ้านมีอิสระทางความคิดมากกว่า      และน่าจะเป็นผลของแนวคิดแบบ KM ที่หล่อหลอมให้นักเรียนชาวนาใช้การประเมินตนเองเป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่ม
วิจารณ์ พานิช
๕ มิ.ย. ๔๘
     
<p> </p>

 

         

 

</font>        </font>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2045เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2005 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท