ทำบาร์บีคิว(BarBQ)อย่างไรให้ปลอดภัยมากขึ้น


อาจารย์ท่านหนึ่งเล่าเรื่องคำกล่าวของคนอเมริกันว่า ถ้าไปที่ถนนสายหนึ่ง และมีร้านขายอาหารตรงข้ามกัน 2 เจ้าจะเลือกอะไรดี ถ้าด้านหนึ่งเป็นไก่ย่างจะเพิ่มเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็ง ถ้าด้านหนึ่งเป็นไก่ทอด (ไขมันสูง) จะเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน)

...

อาจารย์ท่านหนึ่งเล่าเรื่องคำกล่าวของคนอเมริกันว่า ถ้าไปที่ถนนสายหนึ่ง และมีร้านขายอาหารตรงข้ามกัน 2 เจ้าจะเลือกอะไรดี ถ้าด้านหนึ่งเป็นไก่ย่างจะเพิ่มเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็ง ถ้าด้านหนึ่งเป็นไก่ทอด (ไขมันสูง) จะเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน)

สาเหตุที่ท่านกล่าวเช่นนั้นเนื่องจากการกินอาหารไขมันสูง (ไก่ทอด) และอาหารทอดน้ำมันท่วม (การทอดน้ำมันท่วมใช้ความร้อนสูงกว่าการผัดทั่วๆ ไป) หรือย่างเป็นกระบวนการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงมาก ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง

...

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ใหญ่ปิ้งๆ ย่างๆ  มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และมะเร็งในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน

วันนี้มีคำแนะนำดีๆ จากนิตยสารสรรสาระ หรือรีดเดอร์ส ไดเจสท์มาฝากครับ

...

(1). ขูดส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้ง

  • ส่วนที่ไหม้เกรียมมีสารก่อมะเร็งมากเป็นพิเศษ จึงควรขูดหรือตัดส่วนนี้ทิ้งไป

...

(2). ปิ้งย่างที่อุณหภูมิต่ำ

  • ระวังอย่าให้เปลวไฟสูงจนถึงตะแกรงที่ใช้ปิ้งย่าง แยกมันให้ห่างหน่อยจึงจะดี

...

(3). ใช้คีมหรือตะหลิว

  • การพลิกกลับเนื้อด้วยคีมหรือตะหลิว (แทนส้อมหรือที่จิ้มปลายแหลม) มีส่วนป้องกันไม่ให้น้ำและไขมันตกลงไปในเตาไฟ ซึ่งจะทำให้ไฟลุกโชนขึ้น และเกิดสารก่อมะเร็งมากขึ้นได้

...

(4). ใช้ไก่หรือปลา

  • การทำบาร์บีคิวด้วยเนื้อไก่ไม่ติดหนังหรือปลามีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งต่ำกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่

...

(5). ใช้ไมโครเวฟ

  • การอบเนื้อให้สุกด้วยไมโครเวฟก่อนนำไปปิ้งย่างช่วยลดเวลาในการปิ้งย่าง ผลคือ ลดโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งให้น้อยลงไป

...

(6). ใช้ผักผลไม้

  • การทำบาร์บีคิวด้วยผักผลไม้ปลอดภัยกว่าการปิ้งหรือย่างเนื้อมากมาย

...

การกินผักผลไม้ปนไปในอาหารทุกมื้อมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง และถ้าจะให้ดีจริงๆ... บาร์บีคิวนี่น้อยไว้ละดี

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                             

...

  • ขอขอบพระคุณ > Janis Graham > วิธีทำบาร์บีคิวที่ปลอดภัยกว่า > รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (www.readersdigest.co.th). กันยายน 2551. หน้า 156.

...

 

 

 

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร > 30 สิงหาคม 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 204492เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท