การเรียนรู้...สู่โครงงาน


โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงาน…..กับการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน                   

 

 

                ครั้งแรกที่ได้สัมผัสกับคำว่า โครงงาน…. ข้าพเจ้ายอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถในการที่เราจะใช้ยุทธวิธี  เทคนิคหรือ วิธีการ ต่างๆที่จะต้องพัฒนาผู้เรียน  ซึ่งนั่น

ก็หมายถึง  ว่าเราจะต้องทำอะไรก็ได้  ใช้เทคนิค  วิธีการ   ที่มีอยู่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ดี   

                ข้าพเจ้าเองรับผิดชอบในการสอนประจำสาระวิทยาศาสตร์  ครั้งแรกก็สอนหลายสาระจนกระทั่งเดี๋ยวนี้  รับผิดชอบสาระเดียวแต่ต้องสอน  2 ช่วงชั้น  คือช่วงชั้นที่  2  และ 3  สิ่งที่ข้าพเจ้าเกิดความภาคภูมิใจที่สุดที่อยากจะเล่าขาน สู่เพื่อนๆ ในครั้งนี้ก็คือ  ความสำเร็จจากการ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน  ของข้าพเจ้า  ซึ่งกว่าที่จะประสบความสำเร็จ ข้าพเจ้าต้องยอมเหนื่อย  ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ  ต้องเสียสละและมีความอดทนเป็นอย่างสูงที่ข้าพเจ้าบอกว่ามีความอดทนเป็นอย่างสูงก็เพราะว่า  การที่จะสอนให้เด็กได้เรียนรู้และทำโครงงานได้นั้นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก  เด็กนักเรียนที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบในการสอนและให้ทำโครงงานในครั้งแรกนั้น  ไม่เคยรู้จักและสัมผัสกับคำว่า   โครงงาน   มาก่อนเลย ข้าพเจ้าใช้ความพยายามหลายครั้งในการอธิบายให้เด็กเข้าใจและเพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการมองเห็นภาพว่ามันเป็นอย่างไร   แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับและสะท้อนกลับนั้นก็คือคำพูดซื่อๆของนักเรียนว่า  ทำไม่ได้  นึกไม่ออก   นั่นเป็นครั้งแรกที่เริ่มต้นสอนโครงงาน    ข้าพเจ้ากลับมานอนคิดที่บ้านเพื่อที่จะหาวิธีการให้เด็กเหล่านี้ทำโครงงานให้ได้  จะทำอย่างไร  เปิดหนังสือและตำราอยู่หลายเล่ม ค้นคว้า เพื่อหาวิธีการมาสอนเด็กให้ได้  เวลาผ่านไป  1  สัปดาห์  ช่างประจวบเหมาะในตอนนั้นพอดี ที่เชียงใหม่เขามีการจัดนิทรรศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนพอดี ข้าพเจ้าทำหนังสือขออนุญาตท่านผู้อำนวยการพานักเรียนไปดูนิทรรศการประกวดโครงงานที่เชียงใหม่ทันทีโดยไม่ขอเบิกเงินจากทางโรงเรียนแม้แต่บาทเดียว  ในตอนนั้น  โดยนักเรียนที่พาไปจะเป็น  ตัวแทน หรือผู้นำ ของแต่ละห้อง 

                หลังจากกลับมาจากดูงานในครั้งนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยใช้เทคนิค  การตั้งคำถาม  กับนักเรียนซึ่งเป็นคำถามพื้นฐานที่นักเรียนได้พบในชีวิตประจำวันของเขา

                สิ่งแรกที่จัดกิจกรรมคือต้องฝึกให้เด็กได้วิเคราะห์สภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกโรงเรียนหรือในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่   เพราะการทำโครงงานคือการแก้ปัญหาที่พบ  จากนั้นเราก็จะมาเริ่มใช้  เทคนิคการตั้งคำถาม   เพื่อให้นักเรียนตอบ  ดังนี้

               

 

+ นักเรียนพบหรือเจอปัญหาอะไรบ้าง?

                + นักเรียนจะใช้วิธีไหน?  ในการแก้ปัญหาที่พบ

                + เพราะเหตุใด?  นักเรียนถึงคิดที่จะแก้ปัญหานั้น

+ นักเรียนจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร?

                + มีอะไรบ้าง?    ที่จะใช้ในการแก้ปัญหานั้น

                + เมื่อแก้ปัญหานั้นแล้วจะเกิดอะไร? ขึ้น

                + จากการแก้ปัญหานักเรียนคิดว่าจะได้อะไร?

ครูต้องฝึกเด็กตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้และให้ละเอียด  อย่าคิดแทนเด็กแต่คอยให้คำปรึกษาแก่เขาซึ่งแรกๆอาจจะเหนื่อยแต่เราต้องอดทน อย่าพึ่งท้อแท้  ส่งเสริมและให้กำลังใจแก่เขา

จาก    เทคนิค  การตั้งคำถาม   รวมกับประสบการณ์ตรง ที่นักเรียนได้พบเห็นด้วยตนเอง

นี้แหละที่ทำให้นักเรียนของข้าพเจ้าเกิดองค์ความรู้และสามารถนำมาเชื่อมโยงกันเกิดเป็น ผลงาน/ ชิ้นงานขึ้น และผลงานหรือชิ้นงานนี้สามารถที่จะนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเขาได้และที่สำคัญเขาจะเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  เหมือนกับข้าพเจ้าที่ภูมิใจในความสำเร็จของนักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นต้น………….และวันข้างหน้าครูก็ไม่ต้องกังวลใจในการที่จะสอนนักเรียนให้เรียนรู้เรื่องโครงงานอีกต่อไป++++++++++++++++++

 

 

           มะลิซ้อน

 

หมายเลขบันทึก: 204332เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้รูปแบบการนำเสนอโครงงานที่ครอบคลุมมากค่ะ

ครูแนน

เยี่ยมมากเลยครับพี่ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของเด็ก เปิดโลกแห่งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักเรียน จัดกิจกรรมที่ดีต่อไปน่ะครับ

ขอบคุณอาจารย์ เป็นอย่างมากที่เข้ามาเยี่ยมชม ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่ยังไงก็ขอกำลังใจจากอาจารย์เป็นพี่เลี้ยงด้วย ขอบคุณคะ..ที่แวะมาเยือน

สวัสดีคะมะลิซ้อน

ดีใจท่รู้จักครูมะลิซ้อนท่เป็นครูนักสู้ นักวิจัย และนักค้นหา ไม่ย่อท่อจนพบความจริงว่าการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมันไม่ยากเลย และเหมาะสมกับวิชาวิทยาศาสตร์มากคะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้คะ

ขอบคุณสำหรับ...นกเล็ก.. เพื่อครูวิทยาศาสตร์ด้วยกันและเป็นกำลังใจให้ขอขอบคุณด้วยความจริงใจคะ

คุณคือครูมืออาชึพอย่างแท้จริง อานิสงฆ์แห่งความมุ่งมั่นจะทำให้ครูมะลิซ้อนประสบความก้าวหน้าในวิชาชีพ ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

การเล่าประสบการณ์ในการทำโครงงานให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยเฉพาะการเริ่มต้นด้วยการพบปัญหาและทำการแก้ไขจนประสบความสำเร็จ นับว่าเป็นแบบอย่างและแนวทางที่ดีให้ผู้ที่เริ่มต้นจะทำ มีแบบอย่างหรือทางเดินที่ถูกต้อง ขอบคุณ จริง ๆ ค่ะ

เมื่อมีโครงงานวิทย์ใหม่ ๆ เล่าสู่กันฟังนะครับ จะรอ

ขอบคุณท่าน ศน. เป็นอย่างยิ่งที่ให้กำลังใจสมาชิกใหม่อย่างพวกเรา ถ้ามีพี่เลี้ยงดีๆคอยให้กำลังใจอย่างนี้สู้ตายแน่ และสพท.ลำพูนเขต 1 ของเรารับรองมีอะไรดีๆมาเล่าสู่และแลกเปลี่ยนประสบการอีกมากมาย

ขอขอบคุณในกำลังใจครั้งนี้

มะลิซ้อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท