รายงานการประเมินโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ


โครงการเข้าค่ายวิชาการอ่านคิด วิเคราะห์

     วันนี้ขอเผยแพร่ รายงานการประเมินโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ
โรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เพื่อเป็นสารสนเทศแก่ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่สนใจ

      การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการเข้าค่ายวิชาการอ่านคิด วิเคราะห์
และเขียนสื่อความ โรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์  เขต 2
โดยใช้รูปแบบการประเมิน  360  องศา   กลุ่มเป้าหมายที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ เป็นคณะกรรมการ
จัดกิจกรรมเข้าค่ายวิชาการ การอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนสื่อความ ครูและนักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร มีรายละเอียด ดังนี้  ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน  ครูและคณะกรรมการโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนสื่อความ จำนวน 26 คน  นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6)  จำนวน 131 คน และนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3) จำนวน 144 คน รวมทั้งสิ้น 275 คน  เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล มี  3  ชนิด ได้แก่  แบบสัมภาษณ์  สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู  คณะกรรมการโครงการ แบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการโครงการ ครู  แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ใช้สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร  แบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการประเมินปรากฏผลดังนี้
  1.  ครูและคณะกรรมการโครงการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการเข้าค่ายวิชาการการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( ค่าเฉลี่ย= 3.98)  และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน  
  2.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โดยรวมอยู่ในระดับมาก   
  3.  ผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร  ปรากฏผลดังนี้

      3.1  รูปแบบการจัดกิจกรรมของโครงการ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก กิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม ครู  นักเรียนมีพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น มีการบูรณาการเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกัน  สอดคล้องกับความต้องการของครูผู้สอนที่ต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมและสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และที่สำคัญควรมีการติดตามการปฏิบัติงานของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อพัฒนางานและมีผลการดำเนินการงานตามโครงการ  ควรสรุป จากประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลของนักเรียนเป็นหลัก  แต่มีข้อเสนอแนะว่า  ควรเพิ่มการติดตามผลการจัดกิจกรรมในระยะเวลาที่เหมาะสมและมีความชัดเจนในตัวชี้วัดของการประเมิน  ก่อนลงมือจัดกิจกรรม ควรมีการประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการ (ร้อยละ 71.40) ควรให้องค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมให้มากกว่านี้ ซึ่งการจัดกิจกรรมพบข้อดีคือ นักเรียนได้พัฒนาตนเอง ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ รวมถึง ความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม  ความซื่อสัตย์  ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ส่วนปัญหา
และอุปสรรค ที่พบคือ เนื้อหาหรือกิจกรรมบางฐานที่เรียนมีกิจกรรมมากเกินไป จนนักเรียนทำไม่ทันและไม่ได้นำเสนอผลงานและระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีน้อยทั้งงบประมาณในการดำเนินงานมีจำนวนจำกัด ส่งผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงคือ กระบวนการในการจัดกิจกรรม ต้องมีมาตรฐานมากขึ้น สร้างกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจให้มากและท้าทายความคิดให้มากและที่สำคัญจัดหางบประมาณภายนอกสนับสนุนให้มากขึ้น 
      3.2  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหลังการจัดกิจกรรมโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ พฤติกรรมการสอนของครู  พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอน ตามมาตรฐานการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล  การทำวิจัยในชั้นเรียน  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูมีเจตคติต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อผู้เรียน พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนและครูผู้สอนอยู่ในระดับดี  ครูเข้าใจและสนใจนักเรียนมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น มีความเข้าใจในทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน นักเรียนสนใจและชอบกิจกรรมที่ครูจัดให้   นักเรียนมีความกระตือรือร้น อยากเรียนรู้ และมีข้อเสนอแนะว่า เน้นกระบวนการการทำงาน  การตรวจสอบ  ต้องให้อิสระในการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ
   3.3  ปัจจัย เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนหลังจัดกิจกรรมโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ เห็นว่า  คณะกรรมการมีความรับผิดชอบ ขยันมากขึ้น รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง  มีความเข้าใจในงานที่ต้องปฏิบัติ  มีการพัฒนางานและพัฒนาตนเอง ส่งผลดีต่อโรงเรียน  ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการสอนแบบโครงงาน  เน้นกระบวนการคิด  มีการวัดผลการประเมินผลที่หลากหลาย  มีความรับผิดชอบและขยันมากขึ้น  รู้วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  งานวิจัยและมีความสนใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานอยู่เสมอ มีส่วนร่วมในลักษณะทีมงานมากกว่าเดิม  มีกระบวนการทำงานเป็นทีม  รู้จักเคารพในสิทธิ  บทบาทและหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ด้านการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก รู้จักติดต่อประสานงาน  ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ตามโครงการเป็นการพัฒนางานอีกรูปแบบหนึ่ง
   3.4  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียน ก่อนและหลังดำเนินจัดกิจกรรมโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ เห็นว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียน หลังดำเนินโครงการดีขึ้น (ร้อยละ 100)  ครูและนักเรียนสนใจเข้าร่วมจัดกิจกรรมโครงการเข้าค่ายการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ มีความเข้าใจในการสอน สนใจเอาใจใส่ผู้เรียน  มีผลงานด้านการสอน  มีการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้แหล่งเรียนรู้ให้เป็นประโยชน์  มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดการเรียนรู้กับผู้เรียน  และมีข้อเสนอแนะว่าควรกำหนดเป้าหมายชัดเจน  มีกระบวนการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการเข้าค่ายการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความอย่างต่อเนื่อง ให้เข้มมากกว่าเดิม  เน้นกระบวนการมากกว่าเป้าหมาย 

ทรงศักดิ์  ปักสังขาเน. รายงานการประเมินโครงการเข้าค่ายวิชาการ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โรงเรียนชุมชนหนองหินวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ,2551

หมายเลขบันทึก: 204316เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ต่อไป

ครูแนน

หนูเรียนอยู่ม.4 ที่ ชัยนาท อยากเข้าค่ายแบบนี้บ้างอ้า.........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท