บันทึกจากแดนซากุระ 23 : การเข้าถึงแหล่งตัวอย่าง ฐานของงานวิจัยต่อเนื่อง


ฐานของงานวิจัยของ sensei ที่นี่ คือความสามารถในการเข้าถึงแหล่งตัวอย่าง แล้วสะสมไว้
     ในช่วงที่อาทิตย์ที่ผ่านมา พอดีได้มีโอกาสเปิดรายงานประจำปี (annual report) ย้อนกลับไป 4 ปี ดูไปดูมาผมว่ามีอะไรที่น่าสนใจเหมือนกันนะครับ
     ถ้าดูจากจำนวนบทความตีพิมพ์ของ sensei แล้วน่าจะมีเป็นร้อยเรื่อง (เท่าที่เคยคุยกันมา) แต่เนื้อหาของเรื่องพวกนี้ไม่ค่อยหนีกันไปเท่าไหร่ เหมือนที่เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า คนเราเดินไปทางไหนก็ย่อมทิ้งรอยเท้าไว้
     ฐานของงานวิจัยของ sensei ที่นี่ คือความสามารถในการเข้าถึงแหล่งตัวอย่าง แล้วสะสมไว้ การที่ sensei ทำงานด้านประชากรศาสตร์  sensei จึงมีตัวอย่าง DNA ของชาวอะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด ดูไปแล้วไม่น่าจะน้อยกว่า 20 เชื้อชาติอยู่ในมือ ซึ่งตัวอย่างตรวจเหล่านี้ ทำให้ sensei สามารถทำงานวิจัยต่อเนื่องได้ โดยเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อยๆ แล้วก็เอามาทำกับในตัวอย่างตรวจเหล่านี้ เปรียบเทียบกันไปมา ก็มีงานได้ไม่จบไม่สิ้น โดยงานพวกนี้ก็มอบหมายให้นักศึกษาตั้งแต่ป.ตรีไปจนถึง ป.เอก ทำไป ส่วนตัว sensei ก็มองหางานใหม่ที่น่าสนใจแล้วเก็บตัวอย่างตรวจใหม่ สะสมไว้วนเป็นวัฎจักร
     ดังนั้นการสร้างอาณาจักรด้านงานวิจัยต่อไปในอนาคต ก็คือความสามารถในการเข้าถึงแหล่งตัวอย่างตรวจ ซึ่งเรื่องนี้ภาควิชาพยาธิวิทยาของเราค่อนข้างได้เปรียบ เนื่องจากเป็นแหล่งตัวอย่างอยู่แล้ว ขั้นต่อไปคือการกำหนด criteria ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง หากเราสะสมตัวอย่างตรวจเป็นกลุ่มๆ ที่เหมาะสมแล้ว การทำงานวิจัยต่อเนื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่หาเรื่องที่สนใจแล้วมาทำในกลุ่มตัวอย่างเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างตรวจที่ผ่านมือของเราทุกวัน อยู่ที่ใครจะมองเห็นคุณค่าของมันก่อนกัน แล้วอย่าลืมนะว่างานวิจัยทุกชิ้นต้องผ่าน  Ethic committee ก่อนนะจ๊ะ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20421เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท