3. รายงานวิจัยนางฟ้าสีขาวภาคแรก


ได้อ่านผลงานวิจัยในภาพรวมของโครงการนางฟ้าสีขาวแล้ว ถ้าสนใจว่าเด็กๆนักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างไรโปรดติดตามได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ค่ะ

รายงานวิจัยชิ้นนี้เป็นภาคแรกของนางฟ้าสีขาวต้านภัยอุบัติเหตุจราจรค่ะ เด็กๆน่ารักค่ะแต่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงถ้าน้องๆจะนำใช้ไปอ้างอิงติดต่อมาขอป้าแต๋งได้ค่ะ จะดีใจมากที่ผลงานได้นำไปใช้ต่อ ยังมีองค์ความรู้ที่เป็น tacit knowledge ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกเยอะค่ะ

ความตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุจราจร การรับรู้ภาวะเสี่ยง และพฤติกรรมความปลอดภัย

ในการใช้รถใช้ถนนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(Awareness of Road Traffic Accident Problems, Perception of Risk ,  and Road Safety

Behaviors of the Nursing Students,Faculty of Nursing, Chiang Mai University)

 

ภารดี นานาศิลป์  Dr.PH. *                 Paradee  Nanasilp  Dr.PH.*

                          ขนิษฐา  รัตนกัลยา  พยม.**     Kanittha Rattanakanlaya MNS.**

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุจราจร การรับรู้ภาวะเสี่ยง และพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของนักศึกษาพยาบาล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2547 จำนวน 122 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูล เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุจราจรและการรับรู้ภาวะเสี่ยง 3) พฤติกรรมความปลอดภัย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.72 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและ สนทนากลุ่ม ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและจัดหมวดหมู่ตามประเด็นที่กำหนด ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า

               1. นักศึกษาพยาบาลตระหนักว่าอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ และตระหนักว่าความประมาทเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาอุบัติเหตุจราจรโดยสามารถควบคุมแก้ไขได้

               2. การรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี

              3.  แม้ว่านักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนโดยรวม ในระดับดี  แต่นักศึกษายังโดยมีพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ คือ ไม่เปิดไฟและไม่ใส่หมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์ และไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย

 

 



 

*  รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

** อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 203831เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาอ่านอีกครับ
  • แบบนี้ต้องเอาไปแนะนำให้คณะพยาบาลแล้วครับ
  • ขอบคุณครับ

มาเป็นกำลังใจให้นางฟ้าสีขาวค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท